NU Maker Club คว้ารางวัลชนะเลิศ Maker Startup 2018

NU Maker Club ควงคู่วุฒิ​ศักดิ์​ คว้ารางวัล Maker Startup 2018 โครงการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างนักพัฒนา (Developer/Maker) กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมไทย ทรานส์ฟอร์มสู่อุตสาหกรรม 4.0

ด้านผู้จัดลุยตั้งเป้าพัฒนาความขีดความสามารถของนักพัฒนาไทยอย่างจริงจัง พร้อมต่อยอดแพลตฟอร์มเน็ตพายสู่การเป็นแพลตฟอร์มหลักในการพัฒนาความรู้เรื่อง IoT ต่อไปในอนาคต

ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ ​รองผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า วันนี้เน็ตพายได้พิสูจน์​ตัวเองอีกครั้ง โดยแสดงให้เห็นว่าเน็ตพาย สามารถนำมาพัฒนาสู่การใช้งานได้จริง ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์​ได้เป็นอย่างดี

ขณะที่โรงงานที่เข้าร่วมการพัฒนาในครั้งนี้ ก็จะได้ต้นแบบที่สามารถนำไปพัฒนาและต่อยอด ไปสู่การนำไปใช้งานจริงให้เกิดประสิทธิภาพต่อการผลิต และก้าวเข้าสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะ ตามแนวทางอุตสาหกรรม 4.0 ต่อไป

นายปัญญาสาร ปริศวงศ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย กล่าวว่า กิจกรรมวันนี้เป็นสิ่งที่ดียิ่ง

เนื่องจากเป็นการสนับสนุนนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม​ ซึ่งเน็ตพายเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อเครือข่ายอุปกรณ์เข้าด้วยกัน ซึ่งเน็ตพายก็ได้รับการยอมรับมากขึ้น

ปัจจุบันกลุ่มโรงงานของเรา มีเทคโนโลยีการผลิตในระดับเพียงแค่ 1-3 เป็นส่วนใหญ่ แต่ระดับ4 ยังมีส่วนน้อยมาก การพัฒนาครั้งนี้นับเป็นโอกาสของการพัฒนาโรงงานเข้าสู่ระดับ 4.0 ในกลุ่มของโรงงานเครื่องปรับอากาศเป็นอย่างมาก

เนื่องจากที่ผ่านมา เรามีแนวคิดในการพัฒนา แต่ท้ายที่สุดเมื่อเราลองคุยกับบริษัทผู้ผลิตโซลูชั่นก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายหลายล้านบาท ทำให้เราต้องล้มเลิกไป

การพัฒนาครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีในการที่โรงงานเหล่านี้ จะได้นำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ต่อไป

ด้านดร.ชานนท์ ตุลาบดี President & Chief Engineer บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า แม้ว่าวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของการตัดสิน แต่ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา ผมอยากให้เราคิดว่ามันเป็นวันเริ่มต้นเท่านั้น

สิ่งที่คิดค้นขึ้นมาแล้ว ควรนำไปพัฒนาต่อยอดจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น หลังจากนั้ก็เริ่มจัดตั้งบริษัท เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์​ออกสู่ตลาดอย่า​งจริงจัง ซึ่งกราวิเทคเองก็เติบโตมาเช่นนั้น และเราก็พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้เมคเกอร์ทุกท่านต่อไป

ด้สนนายจรุง เกียรติสุภาพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัม กสิกรซอฟต์ จำกัด (KBTG Assignment)  ครั้งนี้เป็นสิ่งที่ผมดีใจ ที่เรามีกลุ่มเมคเกอร์ในการพัฒนาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ซึ่งหากมีกลุ่มโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน สามารถมาแจ้งความจำนงค์กับเราไว้ได้ และเมื่อเรามีลูกค้าที่ต้องการโซลูชั่นที่ตรงกัน เราจะเชื่อมโยงให้ได้ทันที

ทั้งนี้ทีม NU Maker Club พร้อมบริษัท วุฒิศักดิ์ เอสเธติค แคร์ จำกัด ได้คว้ารางวัลชนะเลิศ ด้วยผลงานระบบในการอ่านค่าตัวแสดงผลและส่งค่าที่ได้ผ่าน NETPIE IoT Cloud ไปเขียนในฐานข้อมูล

และแสดงผลบนแดชบอร์ดแบบอัตโนมัติ ลดกำลังคน ลดความผิดพลาด และได้ข้อมูลที่อัพเดท ทันสถานการณ์ โดยใช้เทคโนโลยี Machine Vision ในการถ่ายภาพหน้าจอ และแปลงภาพเป็นข้อมูล

โดยทีมจะได้เงินสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และ บริษัทกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) มูลค่ารวม 100,000 บาท

และตัวแทนโรงงานหรือบริษัท ได้รับเงินสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มูลค่า 50,000 บาท

โดยนักพัฒนาภายในทีมได้แก่ ดร. ธนะธร พ่อค้า, นายธิติพันธ์ เพชรศรีกาญจน์, นายภานุสรณ์ บรรลือ และ ดร. วันสุรีย์ มาศกรัม

รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ทีม The Technology Heat พร้อม บริษัท ก้องเกียรติ เท็กซ์ไทล์ จำกัด ได้รับเงินสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และ บริษัทกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) มูลค่ารวม 50,000 บาท

ตัวแทนโรงงานหรือบริษัท ได้รับเงินสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มูลค่า 30,000 บาท

รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ทีม A.S. ARM พร้อม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยจะได้รับเงินสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และ บริษัทกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป มูลค่ารวม 30,000 บาท

และตัวแทนโรงงานหรือบริษัท ได้รับเงินสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มูลค่า 20,000 บาท

ทั้งนี้การแข่งขัน Maker Startup ครั้งที่ 1 นี้ เกิดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ร่วมกับ บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)

banner Sample

Related Posts