ในยุคที่เทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงถึงบ้าน (Fiber-to-the-Home หรือ FTTH) กำลังขยายตัวอย่างมากในประเทศไทย ผู้ใช้งานล้วนคาดหวังให้ประสบการณ์การใช้งานอินเตอร์เน็ตในบ้านดีขึ้นตามไปด้วย แต่ความท้าทายบางประการยังคงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเชื่อมต่อภายในตัวบ้าน
หนึ่งในปัญหาระดับต้นๆ คือประสบการณ์การใช้ Wi-Fi ที่ไม่คงที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ห่างจากตัวเราเตอร์ ซึ่งคุณภาพสัญญาณจะลดลงตามระยะทาง นอกจากนี้ เราเตอร์ Wi-Fi จากบ้านข้างเคียงก็ส่งผลกระทบต่อสัญญาณได้เช่นกัน
ในขณะเดียวกัน จุด Wi-Fi hotspot ที่มีให้บริการภายในบ้านมักใช้วิธีเชื่อมต่อแบบไร้สายหรือใช้สายภายในบ้านที่มีข้อจำกัดในด้านแบนด์วิดท์ ทำให้การย้ายจุดเชื่อมต่อ (roaming) ไปยัง hotspot ตัวอื่นไม่ราบรื่นเท่าที่ควร การคาดเดาประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายได้ยากเช่นนี้ไม่เพียงแต่กระทบรายได้ของผู้บริการอินเทอร์เน็ต เพราะต้นทุนในการช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหา Wi-Fi นั้นสูง ยังส่งผลต่อการเปิดตัวบริการเสริมต่างๆ อีกด้วย
นวัตกรรม Fiber-to-the-room (FTTR) จากหัวเว่ย
หัวเว่ย เทคโนโลยีได้นำเสนอนวัตกรรม Fibre-to-the-room (FTTR) ซึ่งใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างสายไฟเบอร์ออปติกชนิดโปร่งใสติดตั้งด้วยกาว เพื่อสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกห้องของบ้านอย่างง่ายดายและยืดหยุ่น วิธีนี้ช่วยแก้ไขปัญหาสัญญาณ Wi-Fi ไม่สม่ำเสมอและข้อจำกัดของการเดินสายภายในบ้าน เทคโนโลยีล้ำสมัยเหล่านี้ทำให้เทคโนโลยี FTTR ของหัวเว่ยส่งมอบความเร็ว Wi-Fi ระดับ 3 Gbps (กิกะบิตต่อวินาที) พร้อมรองรับการสลับจุดเชื่อมต่อได้อย่างลื่นไวนั่นเอง
FTTR ถือเป็นโซลูชันที่ให้ความเร็วสูงสุดและการครอบคลุมกว้างที่สุดภายในบ้าน โดยสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้พร้อมกันถึง 256 เครื่อง ความเร็วในการอัปโหลดและดาวน์โหลดข้อมูลเท่ากันที่ 2.5G และใช้เวลาสลับจุดเชื่อมต่อน้อยกว่า 20 มิลลิวินาที
นอกจากนี้ FTTR ยังมีคุณสมบัติประหยัดพลังงาน ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ 30% เมื่อเทียบกับระบบ CoC v8 ซึ่งเทียบเท่าการประหยัดไฟ 152 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อครัวเรือนต่อปี และยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ด้วยฟีเจอร์อัจฉริยะเช่น Cloud NAS (ระบบจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ส่วนตัว) การเร่งความเร็วอินเทอร์เน็ต CSI Smart Care (ระบบดูแลปัญหาการใช้งานอย่างอัจฉริยะ) และ Internet Access Parental Control (ควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในระดับผู้ปกครอง)
ผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง
ผู้ให้บริการเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยี FTTR สามารถเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนได้ถึง $11 (หรือประมาณ 390 บาท) จากการนำเสนอโซลูชันนี้ รวมถึงเพิ่มยอดขายบริการเสริมได้ถึง $10 ต่อครัวเรือนที่ใช้ FTTR (ประมาณ 350 บาท)
นอกจากนี้ ปัญหาการใช้งาน Wi-Fi ก็ลดลงมากถึง 65% ในกลุ่มผู้ใช้ FTTR ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการช่วยเหลือลูกค้าลงได้อีกด้วย
เทคโนโลยี FTTR เปิดตัวครั้งแรกในประเทศจีนในปี 2020 และปัจจุบันมีผู้ใช้งานเกิน 10 ล้านราย ผู้ให้บริการเครือข่ายยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศจำนวนมากก็นำแนวคิดของ FTTR จากหัวเว่ยไปพัฒนาระบบของตนเอง โดยมีกว่า 30 รายที่ทำการทดลองใช้งานทั่วเอเชีย ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกาแล้ว
รางวัลระดับนานาชาติ
ความสำเร็จอันโดดเด่นและอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมนี้ทำให้ FTTR ของหัวเว่ยได้รับรางวัล เทคโนโลยีแห่งปี จากเวที Asian Telecom Awards ซึ่งเป็นงานประกาศรางวัลชื่อดังสำหรับธุรกิจและโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ