___noise___ 1000

ทรู คอร์ป ประกาศมุ่งสู่ “Net Zero” ภายในปี 2593

ทรู

ทรู คอร์ปอเรชั่น ประกาศเดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ในปี 2573 และองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2593 ลุยเปิด “True Supplier Forum 2024 : Transition to Net Zero” ผสานความร่วมมือกับบริษัทคู่ค้าหลักสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมเร่งขับเคลื่อนภารกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน หรือใน Scope 3 ตามหลักการ Science Based Targets initiative (SBTi) ซึ่งกลุ่มบริษัทคู่ค้าหลักนี้เป็นหนึ่งใน 3 ประเภท (category) ที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) มากที่สุด โดยทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าพันธมิตรจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2566 มีบริษัทคู่ค้ามากถึง 1,450 ราย ซึ่งล้วนผ่านการประเมินตนเองด้าน ESG ครบ 100%

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ปัญหาโลกเดือด และการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นสำคัญที่ถูกนำมาหารือในการประชุม World Economic Forum หรือการประชุมดาวอส 2024 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะเทคคอมปานีไทยที่ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ตระหนักถึงความสำคัญของการนำศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

โดยทรู ได้ดำเนินการด้วยตนเองในทุกๆ วัน เพื่อเร่งลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นเทรนด์ของโลก แต่อย่างไรก็ตาม การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutral และ Net Zero ได้นั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นเพียงลำพัง ต้องอาศัยความร่วมมือจากบริษัทคู่ค้าที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งทรู พร้อมให้การสนับสนุนและผลักดันคู่ค้าพันธมิตรอย่างเต็มที่ ให้ก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero และเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน”

ทรู

ความร่วมมือกับบริษัทคู่ค้าหลักนี้ จะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญให้ทุกภาคส่วนได้มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ได้ใกล้ยิ่งขึ้น สร้างผลกระทบเชิงบวกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการลดการปล่อยก๊าซที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานใน Scope 1 และ Scope 2 โดยในปี 2566 ทรู สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้า รวม 42,000 เมกะวัตต์ชั่วโมง คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ถึง 197 ล้านบาท จากการยกระดับเครือข่ายให้ล้ำสมัย (Network Modernization) รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning

ขณะที่ในปี 2567 มีแผนที่จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เสาสัญญาณรวมเป็น 11,200  แห่ง และดาต้า เซ็นเตอร์รวมเป็น 6 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 64,000 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้สำหรับพันๆ ครัวเรือนในหนึ่งปี โดยจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 28,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

ติดอาวุธ “Green House Gas Emissions Data Platform and Consulting Service”

ทรู

และเพื่อให้บริษัทคู่ค้าหลัก ได้เริ่มต้นวางแผน วัดผล และตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการ SBTi ได้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เครือซีพี และทรู คอร์ปอเรชั่น จึงได้พัฒนานวัตกรรมแพลตฟอร์ม “Green House Gas Emissions Data Platform and Consulting Service” พร้อมให้บริการคำปรึกษา เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญให้บริษัทคู่ค้าของทรู พิชิตเป้าหมาย Net Zero โดยมีคุณสมบัติอันโดดเด่น ได้แก่

• ระบบเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมที่เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละประเภททั้งทางตรง (Scope 1) ทางอ้อม (Scope 2) และทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) อาทิ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง การเผาไหม้ การใช้พลังงานหมุนเวียน การรั่วไหลของสารทำความเย็นและการรั่วไหลอื่นๆ รวมถึงการซื้อพลังงานทดแทน

• ระบบคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลตามมาตรฐานการจัดทำรายงาน Global Reporting Initiative (GRI) โดยอัตโนมัติ

แพลตฟอร์มดังกล่าวเปิดให้คู่ค้าพันธมิตรของทรู ใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2567 ทั้งนี้ การขยายความร่วมมือกับบริษัทคู่ค้าหลักเพื่อสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สะท้อนความมุ่งมั่นของทรู ในฐานะองค์กรที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล ติดอันดับ 1 ดัชนีความยั่งยืน DJSI 2023 ของ S&P Global ในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลกต่อเนื่อง 6 ปีซ้อน

#ทรู #truesustainability

banner Sample

Related Posts