รมต.ดีอี โชว์วิชั่นในงาน ITPC พร้อมชวนสื่อมวลชนร่วมส่งต่อเทคโนโลยีสู่ภาคประชาชน

รมต.ดีอี โชว์วิชั่นในงาน ITPC พร้อมชวนสื่อมวลชนร่วมส่งต่อเทคโนโลยีสู่ภาคประชาชน

รมต.ดีอี โชว์แนวคิดการนำพาประเทศสู่ดิจิทัลในงาน ITPC เร่งเดินหน้าดิจิทัลชุมชน เสียบปลั๊กเข้าหมู่บ้านทั่วประเทศ พร้อมสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และแหล่งผลิตนวัตกรรมเทคโนโลยีภาคตะวันออกหลายร้อยไร่ ฝันไกลดึงบริษัทเทคโนโลยีของโลกสร้างพื้นที่ในไทยเพื่อส่งต่อเทคโนโลยีเข้าสู่ประเทศกลุ่ม CLMV และเป็นฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีที่มั่นคงต่อไปในอนาคต

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวในงานประชุมใหญ่ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า การเปลี่ยนชื่อกระทรวงจากเดิมเป็นกระทรวงดีอี ช่วยให้ชัดเจนในความหมายและความคาดหวังในสังคมก็จะชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย อีกทั้งขอบเขตของความหมาย ซึ่งไอที ยังคงเป็นความหมายเดิมที่อาจจะไม่สอดรับกับอนาคต เพราะอุปกรณ์ใหม่ที่อาจจะไม่ใช่ไอทีทั้งหมด เริ่มมีการเชื่อมต่อกับทุกสรรพสิ่ง (IoT = Internet of Things) นอกจากนั้น ดิจิทัล ยังรวมความหมายของหลายๆอย่างเข้าไว้ด้วยกัน

ขณะที่ปลายทางของวัตถุประสงค์จะต้องเข้าใจว่าประชาชนจะได้ใช้ดิจิทัลอย่างไร อีกเรื่องเป็นส่วนของอีซิติเซ่น ก่อนหน้านี้ยังเป็นเรื่องหลวมๆที่เราเข้าใจกัน แต่ทุกวันนี้มันกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเรากันแล้ว มันกลายเป็นวิถีชีวิตของทุกคนไปเสียแล้ว วันนี้อีซิติเซ่น กลายเป็นเรื่องของชีวิตที่เปลี่ยนไป ดิจิทัลฝังรวมเข้าไว้กับตัวเราอย่างเหนียวแน่น เป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ แน่นอนว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ทำให้เกิดความคาดหวังที่สูงจากภาคประชาชนเมื่อเข้ารับบริการจากภาครัฐ

ซึ่งต่อไปหมายถึงผู้บริโภคมีบทบาทในการกำหนดรูปแบบการให้บริการ การบริการของรัฐเช่นเดิมจึงไม่สามารถตอบสนองการบริการสมัยใหม่ได้อีกต่อไป รัฐจึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบมากขึ้น เช่นเดียวกันกับการรายงานข่าว เมื่อเข้าสู่ยุคของดิจิทัลก็เช่นเดียวกัน เมื่อยุคดิจิทัล มีผลกระทบต่อการทำงานจะเป็นอย่างไร นักข่าวจะต้องปรับตัวอย่างไร เรื่องนี้ก็มีผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอาชีพอื่นๆเช่นเดียวกัน

ในอนาคต 20 ปีข้างหน้า ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ทุกอย่างจะถูกปรับปรุงให้เกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ทุกอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่เทคโนโลยีเพื่อลดต้น ทุกวันนี้ชีวิตจึงต้องเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ทฏษฎีร์ดั้งเดิมของไอทีตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจะยังคงอยู่ 1.ข้อมูลสารสนเทศ 2.การปฏิสัมพันธ์ 3. มีการทำธุรกรรมเกิดขึ้น ทั้ง 3 อย่างนี้จะไม่หายไปไหน ไม่ว่าจะยุคไหนก็ตาม เพียงแต่จะมีความซับซ้อนและรูปแบบการจัดเก็บที่เปลี่ยนไป

ITPC

ขณะที่การมีปฏิสัมพันธ์กันเราสามารถเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น นับตั้งแต่มีโลกของโซเชี่ยลมีเดียเข้ามา ขณะที่การมีปฏิสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะทุกวันนี้การส่งข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องที่อยู่เพียงแค่การกดปุ่มส่ง จึงต้องพึงระวังและรอบครอบก่อนที่จะกดส่งออกไป สุดท้ายเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงจะกระทบกับทุกสิ่ง ยิ่งในฐานะสื่อยิ่งกระทบเป็นอย่างมาก เพราะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมันซับซ้อนและรวดเร็ว จากเดิมที่จะต้องมีการเขียนลงกระดาษ ด้วยหมึก ด้วยแรงงาน แต่ทุกวันนี้ดิจิทัล ทำให้มันเปลี่ยนไป

เราจะต้องช่วยกัน เอาดิจิทัลเสียบเข้าหมู่บ้านให้ได้ แล้วเราก็เอาปัญหาเดิมขึ้นมาแก้ไขใหม่หมด แนวคิดของผมจึงพุ่งเป้าไปที่ ดิจิทัลชุมชน ซึ่งจะต้องเสีบปลั๊กดิจิทัลเข้าไปในหมู่บ้านกว่า 74,965 หมู่บ้านทั่วประเทศ เป้าหมายคือในปีนี้ ถ้าเรารอไวไฟถือว่าช้าไป เพราะต้องการเชื่อมโยกับชุมชนเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ผ่าน 3 ด้าน สร้างนวัตกรรม ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาอย่างยั่งยืน ท้ายที่สึุด เค้าจะสามารถทำเองและยืนได้อย่างยั่งยืนด้วยตัวของเขาเอง

ขั้นต่อไปเราจะทำอีคอมเมิร์ซชุมชน แน่นอนว่ามันยาก เพราะเค้าจะติดอยู่กับความคิดเก่าๆ เมื่อผลิตสินค้าดีได้ ท้ายที่สุดก็ไม่รู้ว่าจะไปขายใคร ไม่รู้จะเก็บเงินยังไง และไม่รู้ว่าจะขนส่งยังไง ซึ่งดิจิทัล ตอบโจทย์ได้ทั้งหมด สำหรับเราแล้วมันง่ายมาก เพราเราซื้อของออนไลน์ยังไงเราก็ทำยังงั้นให้กับเขา การชำระค่าสินค้าออนไลน์ หรือจะเอาส่งเงินมาก่อนให้เค้าเห็นเงินก่อนก็ได้ แล้วต่อไปเค้าก็จะรู้เองว่ามันเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำมากกว่าการตัดบัตรเครดิตที่แสนง่ายดาย

บริการจัดส่งแบบดิจิทัล ซึ่งช่วยให้การจัดส่งเป็นเรื่องง่าย สามารถตรวจสอบการขนส่งได้ตลอดเส้นทาง แต่จุดเริ่มต้นต้องกลับมาที่คน เพราะต้องทำได้ง่ายๆ และทุกคนได้ประโยชน์ ยกตัวอย่างว่าผมอยากได้ ศูนย์อีคอมเมิร์ชชุมชน คือเป็นที่ชาวบ้านขายของออนไลน์ได้ ทั้งการส่งของ การรับของ การเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ หรือแม้กระทั่งการเทรนนิ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ แต่ปัญหาก็อยู่ที่ว่าจะเอาใครมาเป็นผู้จัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชน ช่วยผมคิดหน่อยว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเราจะต้องหาคนทำงานเป็นหัวหน้าชุมชนดิจิทัล 2 หมื่นกว่าตำแหน่ง 1 เอาคนในหมู่บ้านมาบ่ม 2 เอาเด็กจบ ปวส เข้ามาช่วย 3 หรือจะเป็นกลุ่มบันฑิตคืนถิ่น หรืออีกทางหนึ่งทำไปรษณีย์ไทยที่มีสาขากว่า 5,000 แห่งทั่วประเทศ เป็นฮับหรือคลังสินค้าขนาดใหญ่ระหว่างดิจิทัลชุมชนกับไปรษณีย์นั่นเอง ซึ่งยังคงจะต้องศึกษาและออกแบบร่วมกับไปรษณีย์ไทยอยู่ อันนี้เป็นตัวอย่างของการดูปัญหาแล้วนำมาแก้ไขด้วยดิจิทัล ซึ่งทำยากแต่ก็ต้องทำ

มิติใหม่ของกระทรวงดีอี เล่าผ่าน  ITPC

เราจะต้องขยายไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ต่างจากที่เราทำเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เรายังคงต้องทำงานอย่างหนักหน่วงเช่นเดิม เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น ผมมีเครื่องมือใช้งานอยู่ 4 ขนาน 1 เป็นเรื่องของข้อกฏหมาย เพื่อให้เกิดการทำงานที่ราบรื่น ซึ่งก็ต้องถือว่าผมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงจากการทำงานตรงนี้ เพื่อให้สามารถที่จะนำไปใช้ได้จริง

แต่ก็มีข้อจำกัดของ รมต. ที่เพิ่งเข้ามาทำงานเมื่อไม่นาน นั่นก็คือ 1.แผนแม่บทถูกทำไปแล้วก่อนหน้าที่ผมจะเข้ามา และ 2 ผมเข้ามาปลายเดือนธันวาคม ซึ่งเค้าทำงบประมาณของปี 2561 เสร็จแล้วเรียบร้อย ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ผมจะต้องปลดล็อกให้ได้ โดยในส่วนแรกจะต้องแปลงแผนแม่บทมาเป็นแผนปฏิบัติการ ที่จะต้องเข้าล็อกกับสานะการณ์ที่เปลี่ยนไป เราต้องเริ่มจับจุดภาย 1 เดือนเพื่อสร้างคู่มือการทำงานให้เกิดขึ้นให้ได้ ภายในปีนี้

ขณะที่การลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยี เราพยายามที่จะทำพื้นที่ภาคตะวันออก ฝั่งชลบุรี เพื่อสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีของโลกมาไว้ในที่แห่งนี้ เพื่อให้เราเป็นฮับในส่วนของภูมิภาคแห่งนี้ แต่ผมไม่ได้หมายความว่าง่ายนะ จะต้องหาเหตุผลให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเข้ามาตั้งถิ่นฐานให้ได้ แล้วขั้นต่อไปเราจะต้องดึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นนำของโลกมารวมไว้ที่นี่ให้ได้

ขอให้เชื่อมั่นว่าเราเอาจริง เราไม่ได้เข้ามาเล่นๆ และขอให้ช่วยกันสร้างระบบที่เราอยากได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่เราอยากได้ให้เกิดขึ้นจริง วันนี้เรายังสื่อสารไปที่ภาคสังคมได้ไม่มากนัก ถ้าเราร่วมมือกันกับสื่อมวลชน เราจะนำพานวัตกรรมที่เราต้องการเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

Related Posts