ธปท. ตื่นเอาผิด เพย์ออล เข้าข่ายประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต

ธปท. ตื่นเอาผิด เพย์ออล เข้าข่ายประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่งตื่นรู้ เร่งเอาผิด เพย์ออล Payall โทษฐานประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต หลังเปิดมานานหลายปี ร่อนหนังสือถึง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บังคับใช้กฏหมาย ด้านฟิล์มยอมรับผิดจากความผิดพลาด เดินหน้าแก้ปัญหาทางกฏหมาย เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไป

20 กุมภาพันธ์ 2560 มีประกาศจากทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังได้ตรวจพบว่า บริษัท เพย์ออล กรุ๊ป จำกัด (บริษัท) ให้บริการแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อ PayAll โดยให้ผู้ใช้บริการสมัครเป็นสมาชิกในแอปพลิเคชัน และเติมเงินล่วงหน้าเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำ e-Money ดังกล่าวไปใช้ในการชำระค่าสินค้าหรือบริการจากร้านค้าต่าง ๆ ที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะเป็นการให้บริการ e-Money

อันเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544 ประกอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2551 (พ.ร.ฎ. e-Payment) และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ประกอบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเป็นความผิดและมีโทษตามกฎหมาย ดังกล่าว

ธปท. ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.ฎ. e-Payment และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทรวงการคลังข้างต้น ให้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีกับบริษัท เพย์ออล กรุ๊ป จ ากัด และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ธปท. ได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในความผิดตามกฎหมายดังกล่าว

ธปท. ขอเรียนว่าการประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money เป็นธุรกิจที่มีการรับเงินล่วงหน้าจากประชาชนทั่วไปในวงกว้าง จึงต้องได้รับอนุญาตจากทางการก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดและที่สำคัญมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ เช่น

  • ต้องมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วตามที่กำหนด และดำรงฐานะทางการเงินและสภาพคล่องเพื่อให้บริการ e-Money ได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ
  • ต้องมีการเก็บรักษาเงินของผู้ใช้บริการที่เติมเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างรัดกุม โดยต้องฝากไว้ที่สถาบันการเงิน และแยกบัญชีไว้ต่างหากจากเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ
  • ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การรักษาความลับของข้อมูลผู้ใช้บริการการคืนเงินให้ผู้ใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด และการแก้ไขข้อร้องเรียน เป็นต้น

ธปท. ขอแนะนำให้ประชาชน ร้านค้า และสถานประกอบการ เลือกใช้บริการ e-Money จากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money ที่ได้รับอนุญาตจากทางการเท่านั้น รวมทั้งควรศึกษาเงื่อนไขของการใช้บริการและดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ ให้บริการ e-Money ที่ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทางการได้จากรายชื่อที่แนบมาพร้อมนี้และเว็บไซต์ของ ธปท.

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หมายเลขโทรศัพท์ 1213 หรือ E-mail: [email protected] ทั้งนี้ หากประชาชนพบว่ามีผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money โดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้แจ้ง ธปท. ทราบได้ตามช่องทางข้างต้น

ด้านฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัยพ์ ประธานบริษัท Payall ออกมายอมรับผิดจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เร่งประสานทนายความจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมขอโทษสมาชิกบริษัทที่เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้น และยังยืนยันจะเดินหน้าการทำธุรกิจเพย์ออลต่อไป รายละเอียดตามคลิปวิดีโอ

ทั้งนี้ ธปท. ยังได้แนบท้ายรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจให้บริกำรเงินอิเล็กทรอนิกส์(e-Money) ที่ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทางการ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560

I. รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money บัญชี ก (ใช้ซื้อสินค้า บริการ จากผู้ขายเพียงรายเดียว) มี 1 ราย ดังนี้
  1. บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด
II. รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money บัญชี ข (ใช้ซื้อสินค้า บริการ จากผู้ขายหลายรายภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายเดียวกัน) มี 7 ราย ดังนี้
  1. บริษัท จีพีซีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด
  2. บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด
  3. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
  5.  บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  6. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
  7. บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)
III. รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money บัญชี ค (ใช้ซื้อสินค้า บริการ จากผู้ขายหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่) มี 22 ราย ดังนี้
  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  9. บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด
  10. บริษัท ทีทูพี จำกัด
  11. บริษัท ทูซีทูพีพลัส (ประเทศไทย) จำกัด
  12. บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด
  13. บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด
  14. บริษัท เพย์สบาย จำกัด
  15. บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
  16. บริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด
  17. บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด
  18. บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด
  19. บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด
  20. บริษัท แอร์เพย์(ประเทศไทย) จำกัด
  21. บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด
  22. บริษัท เฮลโลเพย์ จำกัด

ทั้งนี้ “เงินอิเล็กทรอนิกส์”e-Money หมายถึงมูลค่าเงินที่บันทึกในชิพคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบัตรพลาสติก หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือเงินที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นต้น โดยผู้ใช้บริการได้ชำระเงินล่วงหน้าแก่ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์และผู้ใช้บริการสามารถนำไปใช้ชำระค่าสินค้า ค่าบริการแทนการชำระด้วยเงินสดตามร้านค้าที่รับชำระ

บัญชี ก (ธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ธปท. ทราบก่อนให้บริการ) – เป็นการให้บริการe-Money ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือรับ บริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว นอกจากนี้ มีผู้ให้บริการที่ได้รับยกเว้น เช่น บัตร e-Money ที่ใช้ซื้ออาหารในศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้า

บัญชี ข (ธุรกิจบริการที่ต้องขอขึ้นทะเบียนกับ ธปท. ก่อนให้บริการ) – เป็นการให้บริการe-Money ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือ บริการจากผู้ให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน ได้แก่
 ธุรกิจ Franchise หรือตัวแทนการจัดจำหน่าย ซึ่งมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าเดียวกัน เช่น ปั๊มน้ำมัน
 ธุรกิจที่มีรูปแบบการให้บริการเดียวกัน เช่น ระบบขนส่งมวลชน
 ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดำเนินนโยบาย บริหารจัดการในลักษณะกลุ่มเดียวกัน เช่น กิจการในเครือ
 ธุรกิจที่ประกอบกิจการอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่การจัดจำหน่ายเดียวกัน เช่น ศูนย์การค้า

บัญชี ค (ธุรกิจบริการที่ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก่อนให้บริการ) – เป็นการให้บริการ e-Money ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน เช่น การนำไปใช้ชำระค่าสินค้า/ค่าบริการที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต หรือตามร้านค้าที่รับชำระด้วย e-Moneyเป็นต้น
*กรณีการให้บริการ e-Money บัญชี ค ยังต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังอีกด้วย

Related Posts