ซิสโก้โชว์เคสโรงงานอัจฉริยะ ชู Pervasive Network ช่วยปูนอินทรีย์เพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดได้กว่า 49%

ซิสโก้โชว์เคสโรงงานอัจฉริยะ ชู Pervasive Network ช่วยปูนอินทรีย์เพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดได้กว่า 49%

ซิสโก้จับมือปูนอินทรีย์และฟูจิตซึ โชว์เคส Pervasive Network พัฒนาโรงงานอัจฉริยะ เพิ่มการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรและผู้เชี่ยวชาญ ช่วยลดข้อผิดพลาด ขยายการดำเนินงานโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดข้อผิดพลาดลงได้กว่า 49% ลดการสูญเสียเวลาโดยไม่จำเป็นลงได้กว่า 48% ดันประเทศไทยสู่อุตสหกรรม 4.0 รับการเข้าสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ปูนอินทรีย์ยัน Smart Plant ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ไม่น้อยกว่า 10%

นางสาวอิฑยา ศิริวสุกาญจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทรี ดิจิตอล เปิดเผยว่า ในภาพรวมการลงทุนไอทีด้านโอเปอเรชั่นมีการลงทุนในสัดส่วน 1% ของรายได้อยู่แล้ว แต่การลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนโรงงานครั้งนี้จะไม่รวมอยู่ใน 1% นี้ เนื่องจากการลงทุนด้านไอทีเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนในอนาคต และเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขัน ซึ่งปูนอินทรีย์นับว่าการลงทุนครั้งนี้ในหลักร้อยล้านบาทเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงได้กว่า 10% เป็นอย่างน้อย เนื่องจากเครื่องจักรจะสามารถส่งสัญญาณเมื่อจะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนได้เอง ทำให้ต้นทุนในการเปลี่ยนแบบเดิมที่ต้องเปลี่ยนตามรอบเวลาชิ้นส่วนลดลง

การสร้าง Smart Plant หรือโรงงานอัจฉริยะ เริ่มการปรับเปลี่ยนมาตั้งแต่ปี 2015 โดยในคราวนั้นได้วางเป้าหมายแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก นั่นคือ 1.Simple ต้องทำให้เกิดการใช้งานที่ง่ายขึ้น 2.Faster ช่วยส่งเสริมให้ประสิทธิภาพของการทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และ 3.Better ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

และในปี 2016 ได้เริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิด หลังการเชื่อมต่อเข้าสู่ดิจิทัลเป็นผลสำเร็จในเบื้องต้นแล้ว จึงได้ตั้งเป้าว่า จะต้องเกิดทิศทาง 3 อย่าง ทั้ง 1.Be difference 2. Be Gain และ 3. Smart ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะต้องใช้งานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้ในทุกส่วน อีกทั้งการเชื่อมโยงบุคลากรเข้าใช้งาน เพื่อให้เกิดการควบคุมและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Pervasive Network

แพลตฟอร์มของการเชื่อมต่อเพื่อเชื่อมโยงโรงงานผ่านระบบ Pervasive Network ของซิสโก้ โดยการเชื่อมโยงดังกล่าวจะสามารถส่งต่อไปถึงผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น เพื่อให้เกิดการแก้ไขได้อย่างทันที อีกทั้งยังสามารถแจ้งความต้องการของชิ้นส่วนที่หมดอายุจากตัวเครื่องจักรเอง เพื่อลดต้นทุนในการบำรุงรักษาได้อย่างดีเยี่ยม และที่สำคัญสามารถเพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มปรสิทธิภาพของการจัดการโรงงาน เพื่อให้เกิดผลิตผลมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ปัจจัยของการสร้างระบบโรงงานอัจฉริยะนั้น เราเน้นย้ำที่สำคัญที่สุดคือความสามารถของคน เนื่องจากเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลกย่อมต้องมีคนใช้งานที่มีทักษะของการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นการพัฒนาและปรับปรุงครั้งนี้จึงเน้นที่การพัฒนาเคียงข้างกันระหว่างผู้ใช้งานและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้การเริ่มปรับเปลี่ยนโรงงาน Plant 3 ของปูนอินทรีย์ที่สระบุรี จะใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง 6 เดือนเพื่อให้เกิดเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นจะประเมินผลเพื่อพัฒนาระบบกับโรงงานอื่นของเครือปูนอินทรีย์ต่อไป

ด้าน นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน เปิดเผยว่า การเข้าสู่ยุคอุตสหกรรม 4.0 นั้นเป็นเรื่องของการสื่อสารระหว่างของคนและเครื่องจักรที่มากขึ้น ภายใต้แพลตฟอร์ม Pervasive Network ของซิสโก้ จะช่วยให้เครื่องจักรจะสามารถแสดงความต้องเมื่อชิ้นส่วนเกิดเสื่อมลงได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยให้เกิดการจัดการที่ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์เพื่อช่วยเสริมให้เกิดการสร้างรายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบ IoT หรือในระบบอุตสหกรรม IIoT (Industry Internet of Things) ซึ่งทั้งหมดจะช่วยให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโรงงาน ให้เกิดการทำงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล ซึ่งหลังจากการเชื่อมโยงทุกส่วนเข้าด้วยกัน แล้วจึงเริ่มเข้าสู่การเชื่อมโยงส่วนงานการบริหารและการจัดการอย่างอื่นทั้งหมด และนำข้อมูลเข้ามาวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้น โดยเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำนั่นเอง

Pervasive Network สู่ Digital Connected Plant

แพลตฟอร์ม Pervasive Network ของซิสโก้ เป็นการเชื่อมโยงในส่วนขั้นต้น และเมื่อเชื่อมโยงได้แล้วจึงเริ่มเข้าสู่การวิเคราะห์ การพัฒนาไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น และสู่การรักษาความปลอดภัย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการดำเนินงานในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งมองในภาพรวมแล้ว โรงงานหรือฝ่ายผลิตในประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่ที่ระบบอุตสาหกรรม 2.0 ซึ่งยังเป็นเพียงภาคการผลิตที่ใช้บุคคลที่เชี่ยวชาญในการทำงานเป็นหลักเท่านั้น

Pervasive Network

ทั้งนี้การผลักดันให้เกิด IIoT (Industry Internet of Thaings) ซึ่งนับเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งข้ามมาจากอุตสาหกรรม 3.0 ที่เป็นเพียงการใช้โรบอทเข้าทำงานแทนคนในบางส่วนเท่านั้น มาสู่ยุคของการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรและวิเคราะห์การทำงานเพื่อเพิ่มประสิทภาพได้แบบทันท่วงที ซึ่งส่งผลให้ลดการสูญเสียเวลาได้กว่า 48% ลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตลงกว่า 49% ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้กว่า 23% และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าคงคลัง ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นกว่า 35% และที่สำคัญช่วยลดการใช้พลังงานลงได้กว่า 18% จึงนับเป็นทางเลือกของการเปลี่ยนแปลงที่ดีของอุตสหกรรมการผลิตในประเทศไทยต่อไป

ทั้งนี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ Thailand 4.0 ที่ทุกภาคอุตสาหกรรมมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าและการบริการ สำหรับภาคอุตสาหกรรม นับเป็นการพลิกโฉมวงการมาสู่ยุค Industry 4.0 (หรือ อุตสาหกรรม 4.0) ได้อย่างล้ำหน้าก่อนใคร ด้วยเทคโนโลยี IIOT (Industry Internet of Things) อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตใหญเป็นอันดับ 17 ของโลก และมีส่วนช่วยสร้างจีดีพีของประเทศถึง 32.5 – 35.6 % มาตั้งแต่ปี 2554 – ปี 2557 โดยในปี 2559 อุตสาหกรรมด้านการผลิตทั่วโลก มีการใช้จ่ายงบประมาณไปกับโซลูชันไอโอที (IoT) มากที่สุดถึง 6.4 ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นภาคธุรกิจที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) มากที่สุด สำหรับประเทศไทย ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายด้าน IoT ของธุรกิจในประเทศทั้งหมดจะสูงถึง 30,000 ล้านบาทในปี 2563 และอุตสาหกรรมด้านการผลิตในประเทศไทยจะมีค่าใช้จ่ายไปกับโซลูชันไอโอที (IoT) ถึง 16,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตที่ 13.2 % ตั้งแต่ปี 2558 – 2563

Related Posts