Nokia โชว์ศักยภาพและความพร้อมของอุปกรณ์เครือข่าย และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในการเชื่อมโยงสมาร์ทโฮม สมาร์ทซิตี้ เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างปลอดภัย พร้อมเร่งเดินหน้าทำตลาดในประเทศไทย ควงคู่พาร์ทเนอร์พัฒนาโซลูชั่นทั้งในส่วนโอเปอร์เรเตอร์และการขาย โชว์เคสราวไตรมาส 3 ปีนี้ เพื่อสร้างการเชื่อมต่อมนุษย์เข้ากับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพตามปฏิธานที่ตั้งไว้
เซบาสเตียน โลฮอง ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย Nokia กล่าวถึงภาพรวมโนเกียไทยแลนด์ว่า โนเกียมีรายได้กว่า 23.6 พันล้านยูโร 12.5 พันล้านยูโร ในปี 2016 และเป็นที่ 1 ด้าน LTE มีส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกกว่า 6.6% และเติบโตขึ้นกว่า 39.5% โดยมียอดขายกว่า 4.9 พันล้านยูโร ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2017 และเป็นเครือข่ายแรกที่สร้างความเร็วอินเทอร์เน็ตให้กับประเทศไทยความเร็วกว่า 3Gbps บนเครือข่ายมือถือ 4.9G รายแรกของไทย (ตามรายงานของ Dell Oro Mobility Report Q1/2017)
นอกจากนี้โนเกียเป็นรายแรกที่นำเสนอ 5G ในงานโมบายเวิร์ลคองเกรส และยังเป็นรายแรกที่นำเสนอ 5G โดยร่วมมือกับ Three UK เพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารมือถือที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีความร่วมมือกับเฟซบุ๊ก เพื่อทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีปที่รวดเร็วผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดีย และนอกจากนี้ยังมีความร่วมมืออีกหลายแบรนด์เพื่อสร้างสรรค์การเชื่อมต่อ ดังที่โนเกียตั้งปฏิธานเอาไว้
ทั้งนี้เทรนด์ของโลกเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบ แน่นอนการจะทำเช่นนั้นได้จะต้องใช้เครือข่าย ที่สามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่ผ่านระบบคลาวด์ อีกทั้งในส่วนของ IoT หรือ Internet of Things จะเริ่มเข้าสู่การเชื่อมต่อแบบทิลเลี่ยนชิ้น สิ่งจำเป็นอีกอย่างคือการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ด้วยระบบ Augmented Intelligence เพื่อช่วยให้เกิดการติดสินใจอย่างได้เปรียบมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญ มนุษย์หรือเครื่องจักรที่จะมาตอบสนองแบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการละสายตาจากเครื่องแล้วเครื่องพักการทำงานเพื่อประหยัดพลังงานอัตโนมัติ การทำงานเช่นนี้ทั้งรูปแบบเวอร์ช่วลและเสมือนจริงล้วนมีส่วนผลักดันให้เกิดขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีส่วนของสังคมออนไลน์และความน่าเชื่อถือของระบบที่ผูกพันพันธ์กันในการสร้างให้เกิดความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้งานมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการสั่งการหุ่นยนต์เพื่อให้เกิดการทำงานในสถานที่ต่างกัน โดยผ่านเครือข่ายเสมือนหนึ่งรีโมทเครื่องจักรผ่านแอปพลิเคชั่นนั่นเอง และสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการสร้างระบบนิเวศน์ที่จทำให้เกิดการใช้งานอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าทั้งหมดจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้
ในมุมของเทรนด์ร้อนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ เรามองที่ IoT ซึ่งแนนอนว่าเราเริ่มเห็นจักรยานมีการสื่อสารกับผู้คนผ่านสมาร์ทโฟนมากยิ่งขึ้น เราเริ่มเห็นการแสดงผลของเครื่องจักรตลอดจนการทำงานผ่านหน้าสมาร์ทโฟนมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของการดูแลสุขภาพ การสร้างงานโรงงานอุตสาหกรรม หรืออาจจะรวมไปถึงกาารควบคุมการขนส่ง เพื่อนำเสนอรูปแบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญระบบกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย โดยระบบจะตรวจสอบความผิดปรกติเพื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทนการตวบคุมและตรวจเช็กโดยมนุษย์อย่างเดิม ซึ่งทั้งหมดนี้บางส่วนโนเกียจะเริ่มนำเข้ามาสู่เมืองไทย

ทั้งนี้ Nokia เพิ่งได้รับรองแพลตฟอร์มด้านความยอดเยี่ยมในประสิทธิภาพการสื่อสารที่รวดเร็วจากเวทีโมบาย เวิร์ลคองเกรสที่ผ่านมา และตอนนี้ก็กำลังจะนำเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเรามีความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เพื่อนำเสนอโครงข่าย โซลูชั่น ตลอดจนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสร้างงระบบนิเวศน์ดังที่กล่าวมา โดยตัวอย่างของการนำเข้ามาในประเทศไทยคือด้านการสร้างสมาร์ทซิตี้ การสร้างระบบสมาร์ทโฮมสำหรับผู้สูงอายุ ด้านความปลอดภัยอย่าง Fammily Tracker และด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันระบบเน็ตเวิร์กให้เกิดความปลอดภัยจากมัลแวร์มากยิ่งขึ้น
นายยาริ ทูรูเนน ผู้จัดการฝ่ายขายส่วนแอปพลิเคชั่นและการวิเคราะห์ โนเกีย เล่าให้ฟังถึงการใช้งาน IoT ในต่างประเทศว่า ในเมืองโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์มีการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (Lamp Post)ให้กลายเป็นอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมาก โดยสามารถปล่อยสัญญาณไวไฟผ่านระบบไฟฟ้าแสงสว่างนั้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการตรวจสอบสภาพอากศ การบริการดิจิทัลของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการผ่านเสาไฟฟ้าและแสดงผลผ่านหน้าจอ LED ได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีการติดตั้งระบบกล้องรักษาความปลอดภัยที่จะแจ้งเตือยเมื่อเกิดความผิดปกติอัตโนมัติ
ในเทนเนสซี่ สหรัฐ มีการสร้างระบบสมาร์ทโฮมเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งเชื่อว่าตลาดนี้จะเติบโตขึ้นถึง 20 ล้านเหรียญในปี 2018 จากเดิมที่มีตลาดรวมที่ 77 ล้านเหรียญ ซึ่งระบบจะทำการเชื่อมต่อบ้านทั้งหมดผ่านระบบกลาง (Home Hub) เสมือนหนึ่งเป็นระบบสมองของการทำงาน มีการเก็บข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์รูปแบบต่างๆทั้งเซ็นเซอร์ประตู เซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหว ตลอดจนเซ็นเซอร์วัดการเต้นของหัวใจ เพื่อส่งต่อข้อมูลที่จำเป็นให้กับแพทย์ที่เกี่ยวข้องต่อไป และอาจจะมีแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของสิ่ที่ไม่คาดฝันเพื่อทำการแจ้งเตือนหรือส่งข้อมูลที่จำเป็นให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในกรณีที่จำเป็น
โนเกียมีความพร้อมทั้งในส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้งานย่านความถี่ซีเวฟ เพื่อให้เกิดการใช้งานและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีระบบแอปพลิเคชั่นและอุปกรณ์ทั้งในส่วนของเทอร์โมมิตเตอร์ผ่านเน็ตเวิร์ก สมาร์ทวอร์ชในการวีดอัตราการเต้นของหัวใจ แอปพลิเคชั่นออนโมบาย ตลอดจนอุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเน็ตเวิร์ก ครบวงจรทั้งระบบ Full End to End Solution เพื่อควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แบรนด์โนเกียเดียวกัน ซึ่งก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เนื่องจากไม่ต้องใช้ระบบอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
โซลูชั่นนี้จะทำงานออนไลน์แบบเรียลไทม์อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพของคนในบ้านที่ห่วงใยยังอยู่ดีอยู่ ซึ่งสามารถรู้ตำแหน่งของการเดินไป โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกรวบรวมมเข้าสู่ระบบฮับกลาง และแจ้งเตือนความผิดปกติอย่างที่ไม่คาดคิดผ่านสมาร์ทโฟน ช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นของหัวใจระบบจะส่งข้อมูลไปที่แพทย์ แล้วแพทย์จึงติดต่อกลับมาที่ผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที และการตรวจวัดควันซึ่งทำงานจากการลืมเปิดเครื่องอบทิ้งไว้ผสานข้อมูลกับการรู้ว่าไม่มีใครอยู่ในบ้าน ระบบก็จะทำการตัดระบบเครื่องอบอัตโนมัติ และแจ้งเตือนไปที่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบความผิดปกตินั้นต่อไป
ระบบ Impact Family Tracker จะช่วยตรวจสอบความเคลื่อนไหวของสมาชิกในบ้าน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็จะสามารถรู้ได้ทันที ดยรูปแบบของการติดแทรกเกอร์มีหลายรูปแบบทั้งการติดตั้งในรถ ในกระเป๋๋า หรือในจักรยาน แล้วทำการส่งข้อมูลนั้นๆกลับมาที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างรูปแบบที่มีประโยชน์ เช่นเมื่อรู้ว่ากำลังจะกลับถึงบ้านในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า ก็จะทำการเตรียมความพร้อมของบ้านเพื่อรอตอ้รับต่อไป นอกจากนั้นยังเป็นมอนิเตอร์ความปลอดภัยของสมาชิกในบ้านผ่านหน้าจอได้อย่างสะดวกอีกด้วย
ด้านความปลอดภัย โนเกียมีระบบ Net Guard ซึ่งมีความสำคัญเช่นความร้ายกาจของแรนซั่มแวร์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ระบบเครือข่ายที่ปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยในช่วงปี 2016 สมาร์ทโฟนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่า 83% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2016 และมีมัลแวร์ในสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นกว่า 400% ในช่วงที่ผ่านมา โดยระบบความปลอดภัยของโนเกีย NetGuard Endpoint Security ซึ่งไม่ได้ติดตั้งอยู่ที่สมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว แต่จะไปรวมอยู่ในระบบของโอเปอเรเตอร์ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติจากทั้งดาต้าเบสที่มี และยังมีการตรวจสอบพฤติกรรมที่อาจจะประสงค์ร้ายต่อระบบเพื่อกักและตรวจสอบให้แน่ใจ โดยทั้งหมดก็เพื่อให้แน่ใจว่าระบบเครือข่ายของโนเกียจะปลอดภัยเมื่อต้องเข้าสู่ยุค IoT อย่างจริงจังต่อไป