ดีแทคเผย 5 เทคนิคผสานโมเดล Hook เสริมแกร่งจิตวิทยาสัมพันธ์เรียกลูกค้า

Hook

ดีแทคดึง เนียร์ อียาล สอนภูมิสตาร์ทอัพ dtac accelerate อวดโมเดล Hook Loop สร้างสภาพแวดล้อมจิตวิทยาสัมพันธ์เรียกลูกค้าให้เกิดพฤติกรรมขึ้นอย่างมีนัยที่ต้องการ พร้อมเผย 5 ทิปในการสร้างธุรกิจแบบสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จระดับโลกได้

เนียร์ อียาล ผู้เขียนหนังสือ “Hooked : How to Build Habit-Forming Products” จาก Silicon Valley กล่าวถึงเทคนิคของการทำให้เกิดความนิยมของโมเดลนี้ ในการทำให้แอปพลิเคชั่นได้รับความนิยมอย่างมากมาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือโชคดีแต่อย่างใด แต่เป็นการวาง Consumer Psychology เพื่อสร้างพฤติกรรมการใช้งานให้เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้จัดทำแอปพลิเคชั่น

โดย Hook Loop มี 4 ฟังก์ชั่น ที่จะสร้างคำตอบในการทำความเข้าใจจิตวิทยาของลูกค้าได้อย่างถ่องแท้ ซึ่งเริ่มต้นด้วย Trigger ที่เกิดจากภายนอก และภายในจากตัวของเราเอง ทำให้เกิด Action เพื่อที่จะเลื่อนนิ้วไปกดเข้าเฟสบุ๊ก แล้วก็ส่งต่อไปสู่ Reward เพื่อตอบสนองความต้องการอยากรู้ของเราเอง แล้วจึงส่งต่อไปสู่ Investment ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดการตอบกลับเช่นการกดไลค์หรือแชร์ต่อนั่นเอง

ในส่วนของ 5 ทิป ที่สำคัญของการประสบความสำเร็จนั้นคือ 1.การมองตลาดที่ใหญ่พอในการแก้ปัญหาเพื่อให้นักลงทุนสนใจ 2.ต้องเป็นสิ่งที่คุณถนัดและรู้จักปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี นั่นจะทำให้เกิดความต้องการแก้ไขปัญหาอย่างถ่องแท้และตรงความต้องการมากที่สุด 3.ความเข้าใจและสร้างธรรมชาติทางจิตวิทยาของลูกค้าอย่างแท้จริง เพื่อทำให้เกิดวงจรขึ้นตอบสนองแอปพลิเคชั่นหรือช่องทางนั้นๆได้อย่างที่สตาร์ทอัพต้องการ

4.การผูกขาดทางการค้าทางจิตวิทยา เพื่อป้องกันให้เกิดคู่แข่งและสร้างความได้เทียบของการแข่งขันเพียงรายเดียว ซึ่งเป็นการสร้างจิตสำนึกและจิตวิทยาให้เกิดความต้องการเพียงรายเดียว 5.ต้องพร้อมที่จะมีผู้ร่วมก่อตั้งในการล้มลุกคลุกคลานไปด้วยกัน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการสร้างธุรกิจมากกว่าการใช้ชีวิตกับครอบครัวเสียอีก

ด้าน ชยนนท์ vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD vTFCgkT6VUuBkosD รักกาญจนันท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสตาร์ทอัพที่นำโมเดลนี้มาใช้งานอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างการรับรู้ให้เกิดว่าถ้าเป็นเรื่องวางแผนทางการเงินอยากให้คนนึกถึงฟีโนมีน่า เพื่อที่จะเข้ามาหาข้อมูล หลังจากนั้นก็เริ่มแอคชั่นเพื่อให้เกิดการค้นหาภายในแอปพลิเคชั่น

ขณะที่การ Reward คือการเริ่มทำให้เกิดการลงทุน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และสุดท้ายก็เป็นการเพิ่มระบบการส่ง SMS เพื่อแจ้งเตือนลูกค้าให้เกิดการลงทุน ซึ่งโมเดลนี้ช่วยให้ลูกค้ามีการลงทุนเพิ่มกว่า 20-30% และทำให้ยอดการลงทุนเติบโตขึ้นกว่า 1.2 พันล้านบาท

เนียร์ กล่าวเสริมว่า วัฒนธรรม ตลอดจนแนวคิดของการเริ่มต้นธุรกิจในประเทศไทย ที่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกในประเทศไทยหากจะเกิดการล้มเหลว ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมของการล้มเหลวเป็นปกติในต่างประเทศ ซึ่งอาจจะต้องพัฒนาแนวความคิดตรงนี้ เพื่อที่จะลองผิดลองถูก และให้เกิดความสำเร็จของการทำธุรกิจในอนาคตให้ได้

ชยนนท์ กล่าวเสริมว่า การทำสตาร์ทอัพ เราต้องมีความมุ่งมั่นในการเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความมั่นคงของการพัฒนา ซึ่งหากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในทีมงานแล้วก็อาจจะเกิดความล่าช้าและเป็นการเพิ่มอุปสรรคให้เกิดขึ้นได้ ก็อยากจะบอกให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่จะต้องมีความมุ่งมั่นในการเดินหน้าไปด้วยกันนั่นเอง

ทั้งนี้การทำงานร่วมกันเป็นเรื่องสำคัญ โดยกว่า 72% ของทีมสตาร์ทอัพที่ล้มเหลวล้วนเกิดจากการทำงานที่ไม่ลงรอยกัน ซึ่งถึงขั้นกิจการเจ๊งกันได้เลยทีเดียว ดังนั้นจึงอยากจะบอกสตาร์ทอัพที่กำลังจะเริ่มต้นว่า ควรดูความเข้ากันได้ของทีม เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเมื่อต้องลงแรงร่วมกันทำงานแล้วเกิดเข้ากันไม่ได้ก็จะทำให้ล้มเหลวและเสียเวลาโดยใช่เหตุ

เนียร์ กล่าวปิดท้ายว่าถ้าชนิดของปัญหาที่เราเข้าไปแก้ไขมีขนาดสเกลที่่เล็ก ก็จะยิ่งเพิ่มความยากในการที่จะเติบโตและก้าวเข้าสู่ระดับประเทศหรือระดับโลกได้ยาก ซึ่งก็หมายถึงความน่าสนใจของนักลงทุนก็จะน้อยลงไปด้วย

Related Posts