กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสานความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการจัดหาโซลูชั่นด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารชั้นนำของโลก ในการพัฒนาโรดแม็ป Roadmap ด้านดิจิทัลเพื่อช่วยขับเคลื่อน ประทศไทยในการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และเพื่อเร่งผลักดันวิสัยทัศน์ “ไทยแลนด์ 4.0” สู่ความจริง
Roadmap ที่สำคัญของหัวเว่ยต่อการพัฒนาประเทศไทย
รายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย Thailand Digitalization Whitepaper เกิดจาก การพัฒนาเนื้อหาร่วมกันกับบริษัท โรแลนด์ เบอร์เกอร์ (Roland Berger) ในหัวข้อเรื่อง “เจาะลึกเรื่องดิจิทัล ในอุตสาหกรรมไทย : ดิจิทัลโรดแม๊ปเพื่อสังคมสูงอายุ (Aging Society) ภาคการเกษตร (Agriculture) และภาค การท่องเที่ยว (Tourism)”
ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากจากการที่คณะผู้บริหารอาวุโส บริษัท หัวเว่ย ได้เข้าเยี่ยมและ หารือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2559 ซึ่งได้ระบุว่า ภาคสังคมผู้สูงวัย ภาคการเกษตร และภาคการท่องเที่ยว คือ 3 ภาคส่วนสำคัญที่ถูกยกให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งมีความสำคัญระดับต้นๆ ของประเทศ
รายงานฉบับนี้พัฒนาขึ้นจากการตระหนักว่า เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ทั้งนี้ประเทศไทย ควรตื่นตัวในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา และนำโซลูชั่นด้านดิจิทัลมาช่วยให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและ สังคมอย่างมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน สามารถหลุดพ้นจากกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลางและพัฒนา ประเทศไทยไปสู่ประเทศ ที่มีรายได้สูง
นอกจากนี้รายงานดังกล่าวยังเป็นการให้ข้อเสนอแนะถึงแนวทางที่ประเทศไทยจะสามารถยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัล ให้เกิดผลดีที่สุดในการรับมือกับประเด็นที่สำคัญต่อประเทศอย่างมาก 3 ประการ คือ 1) การบริหารจัดการสังคม สูงอายุ 2)การเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และ 3) การเพิ่มขีดตวามสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ทั้งนี้ได้มีการนำเสนอแนวทางการพัฒนากว่า 39 แนวทางครอบคลุมใน 3 ส่วนนี้ รวมถึงอีก 4 ปัจจัย ขับเคลื่อน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบรนด์ โครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ นวัตกรรม และทุนมนุษย์
ซึ่งโรดแม็ปหรือรายงานเชิงลึกฯ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เกิดการจัดลำดับความสำคัญของแผนการดำเนินงาน ตั้งแต่ การวางแผนแม่บท และโครงการแนวคิดริเริ่มในระดับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจัดทำรายงานเชิงลึกฯนี้ผ่าน การประชุมหารือมามากกว่า 120 ครั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องโดยตรงทั้งจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน
และข้อมูลที่ได้จากการกระบวนการกลั่นกรองความคิดจากที่ประชุม นอกจากนั้นยังได้รวบรวม ข้อเสนอแนะต่างๆ ไว้ในรายงานฉบับนี้อีกด้วย
นายวิคเตอร์ จาง ประธานบริหาร ฝ่ายสื่อสารรัฐกิจ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จํากัด กล่าวว่า “โดยสรุปแล้ว การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลผ่านทั้ง 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคสังคมสูงอายุ, ภาคเกษตร และภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นรากฐานของประเทศไทยนั้นจะนำไปสู่ความท้าทายครั้งสำคัญและการปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ในระยะยาว”
“ความก้าวหน้าและการพร้อมยอมรับในเทคโนโลยีจะช่วยสนับสนุนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลเพื่อ นวัตกรรมในระดับภูมิภาค โดยการรวมตัวของผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลระดับโลก เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และ บริการด้านดิจิทัลใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง” นายจาง กล่าว

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญ ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีต่อการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและประชาชน
โดยกล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีได้ริเริ่มแผนงานและโครงการมากมายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้มีการยกระดับขีดความสามารถ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชน อาทิ การให้การสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษา และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
และการให้การสนับสนุน ด้านการเงินกับกลุ่มสตาร์ทอัพและบริษัทด้านเทคโนโลยีในการโครงการ พัฒนานวัตกรรมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีดิจิทัลแทบทั้งสิ้น

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวถึงการจัดทำ แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเชิงบูรณาการ และแผนความร่วมมือระดับชาติ เรื่อง “ดิจิทัลไทยแลนด์” ว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงก้าวสำคัญของการพัฒนาในระยะที่สอง นั่นคือ การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงทุกคน ทั้งภาครัฐและเอกชน
ในการก้าวสู่สังคมดิจิทัล เพื่อนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีความสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ การเตรียมความพร้อม ด้านกำลังคนดิจิทัลทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณให้พร้อมต่อเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ก็เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ หลัก โดยกระทรวงดิจิทัลฯ มีแผนที่จะพัฒนากำลังคนดิจิทัลทุกระดับจำนวน 5 แสนคน ใน 5 ปี เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงนี้
การนำเสนอรายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย (Thailand Digitalization Whitepaper) ในครั้งนี้ จัดขึ้นพร้อมงานสัมมนาหัวข้อ “การพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล พ.ศ. 2564 ในภาค สังคมสูงวัย ภาคการเกษตร และภาคการท่องเที่ยว” โดยมีผู้เข้าร่วมงานสัมมนาประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ กลุ่มสตาร์ทอัพ สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ มูลนิธิ และสมาคมธุรกิจต่างๆ รวมถึง การเข้าร่วมของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น
นายวิคเตอร์ จาง ประธานบริหาร ฝ่ายสื่อสารรัฐกิจ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จํากัด กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “หัวเว่ยในฐานะผู้นำด้านโซลูชั่นไอซีทีของโลกขอให้คำมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยด้วยการใช้ความสามารถด้านเทคโนโลยีของบริษัทมาเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัล
พร้อมได้ร่วมลงนามข้อตกลง (MoU) กับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (เอ็นไอเอ) เและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งรายงานเชิงลึกฉบับนี้ถือเป็นหนึ่งในข้อตกลงของความร่วมมือครั้งนี้ด้วย ซึ่งหัวเว่ยจะต้องพัฒนา และส่งมอบให้กับรัฐบาล เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่เศรษฐกิจ ดิจิทัล ภายใต้วิสัยทัศน์ “ไทยแลนด์ 4.0”
คลิปข่าวที่เกี่ยวข้อง