ททท. เผยไอเดีย ดึงนักออกแบบเป็นสตาร์ทอัพ ใช้วัตถุดิบจากชุมชนท่องเที่ยวมาสร้างสรรค์

ททท. เผยไอเดีย ดึงนักออกแบบเป็นสตาร์ทอัพ ใช้วัตถุดิบจากชุมชนท่องเที่ยวมาสร้างสรรค์

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เผยโครงการปั้นนักออกแบบให้เกิดเป็นธุรกิจขึ้นจริง ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องใช้วัตถุดิบจากชุมชนท่องเที่ยว เพื่อสร้างประโยชน์ทางด้านรายได้ให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป พร้อมกันนี้ยังเตรียมการส่งเสริมให้นักออกแบบที่เข้าร่วมโครงการ ได้เรียนรู้การทำงาน ตลอดจนการคิดวิเคราะห์เพื่อให้สามารถจัดการธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ด้วยเงินรางวัลตั้งต้นสำหรับ 20 ทีมที่ผ่านเข้ารอบมูลค่า 100,000 บาท

นางฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการประกวด Thailand Local Tourism Design Awards 2017 ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Village Festival เป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเข้ากับรายได้ของชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยที่ผ่านมาเรามักได้ยินการพูดถึงว่า นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว แล้วชุมชนได้อะไร สิ่งนี้จะเป็นการตอบโจทย์ของประโยชน์ชุมชนได้อย่างยั่งยืนที่สุด

โดยนักออกแบบที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับไกด์การนำวัตถุดิบจากทั้ง 8 แอ่ง เพื่อมาสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ทั้งในมุมของแฟชั่น การออกแบบแพคเกจจิ้ง และการต่อยอดของกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ เพื่อดึงความร่วมมือของทั้งชุมชนเข้ากับนักออกแบบที่ต้องการสร้างสรรค์ผลงานจากวิถีไทยๆอย่างแท้จริง

และนอกจากนั้น นักออกแบบยังจะได้รับการบ่มเพาะจากกูรูในหลกหลายด้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสร้างธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่นเดียวกับโครงการสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นจากหลายหน่วยงาน

อีกทั้งยังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อนำผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของนักออกแบบที่ร่วมโครงการ เข้าไปจำหน่ายในระบบธุรกิจด้วย และที่สำคัญ การจัดงานครั้งนี้จะสอดรับกับงาน Village Festival ที่จะจัดขึ้นที่อุทยาน 100 ปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2560 นี้

ทั้งนี้รายละเอียดโครงการ Village Festival ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาสินค้าท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่า ยกระดับการท่องเที่ยว โดยสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน นักคิดนักออกแบบ และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ร่วมกันพัฒนาต่อยอดวัตถุดิบที่มีในชุมชนให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย โดยได้จัดแคมเปญ Thailand Local Tourism Design Awards 2017

เพื่อ “ค้นหา..สุดยอดนักออกแบบสินค้าท่องเที่ยวชุมชน” ในรูปแบบการประกวดออกแบบสินค้าของที่ระลึกและของฝาก และกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแนวคิดนี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจท่องเที่ยว, สร้างรายได้ให้กับชุมชนและยังเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการในชุมชนให้มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสินค้าของตนให้ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและส่งเสริมให้เกิดรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

โดยสินค้าที่ได้รับรางวัลจะได้การรับรองมาตรฐานจากโครงการและได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆให้เป็นที่รู้จักเพื่อต่อยอดทางการตลาดและการขายต่อไป

หัวข้อการประกวด

ค้นหา.. สุดยอดนักออกแบบสินค้าท่องเที่ยวชุมชน  ( Thailand Local Tourism Design Awards 2017 )

รูปแบบการประกวด

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกชุมชนใน 8 แอ่งท่องเที่ยวมาพัฒนาต่อยอด โดยนำเสนอ ที่มาแนวคิดและกลยุทธ์ การออกแบบที่ตอบโจทย์ตลาด พร้อมทั้งระบุวัสดุของชุมชนที่เลือกใช้ และโครงสร้างราคาต้นทุนสินค้า 1 หน่วย โดยต้องระบุรายได้ (Profit) ที่ชุมชนจะได้รับ พร้อมพัฒนาสื่อการขาย (Brochure และ VDO ads)

ประเภทของผลงานที่ส่งเข้าประกวด

การประกวดออกแบบสินค้าท่องเที่ยว ของที่ระลึก และของฝากจากชุมชน อาทิ

  • Lifestyle (เช่น ของขวัญ ของใช้ในบ้าน ของใช้ในชีวิตประจำวัน)
  • Fashion (เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า หรือเครื่องประดับ)
  • Packaging (เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร หรือ สปา สุขภาพและความงาม)
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด

บุคคลทั่วไป บริษัท และกลุ่มชุมชน ไม่จำกัดเพศ อายุ และการศึกษา

เงื่อนไขการสมัครและการส่งผลงาน
  1. ผู้สมัครเข้าประกวดสามารถดาวน์โหลดใบสมัคร รายละเอียด และแบบฟอร์มการส่งผลงานได้ที่ www.facebook.com/villagemissionthailand หรือประสานงานเพื่อติดต่อขอรับใบสมัครผ่านทางอีเมลได้ที่ [email protected]
  1. ผู้สมัครเข้าประกวดสามารถส่งใบสมัครและหลักฐานการสมัครมาที่อีเมลโครงการ [email protected] ได้ล่วงหน้า และส่งแบบผลงานที่จะส่งเข้าประกวดมาทางไปรษณีย์โดยจ่าหน้าซองว่า “โครงการ Thailand Local Tourism Design Awards 2017” มาที่ เลขที่ 31 ซอยสุขสวัสดิ์ 52 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 ภายในวันที่ 29 กันยายน 2560 โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะประกอบด้วย

2.1) ใบสมัครระบุชื่อสมาชิกในทีม (ไม่จำกัดจำนวน) เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2.2) แบบร่างผลงานของทีม พร้อมรายละเอียดวัสดุที่ใช้โดยละเอียด โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีส่วนประกอบจากวัสดุที่ได้จากชุมชนใน 8 แอ่งท่องเที่ยวอย่างน้อย 1 ชนิด จากชุมชนที่โครงการกำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://sukjaistation.tourismthailand.org/villagefestival/

2.3) เรียงความถึงแรงบันดาลใจในการเลือกชุมชน, Story เกี่ยวกับชุมชน, Design Story

2.4) เขียนแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อขาย

2.5) ต้นทุนสินค้าและแผนการตั้งราคาขาย พร้อมระบุโมเดลรายได้ที่กลับไปสู่ชุมชนจากการขายสินค้า 1 หน่วย

2.6) แนวคิดการร่างออกแบบ Brochure ขนาด A4 พับครึ่ง และ VDO Ads เพื่อโปรโมตสินค้า

  1. ผู้สมัครเข้าประกวด 1 ทีมสามารถส่งผลงานได้เพียง 1 รายการเท่านั้น
  2. ผู้สมัครเข้าประกวดที่เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้ายจะได้สิทธิ์เข้าร่วมสัมมนาและอบรมพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เรื่องการดีไซน์และการสร้างแบรนด์ (Brand and Experience Design Workshop) เป็นเวลา 1 วัน ที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) (สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยทีมงานจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า)
  3. ผู้สมัครเข้าประกวดต้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งตามที่โครงการกำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์
  4. ผลงานจะต้องเป็นผลงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดที่ไหนมาก่อน
  5. ผู้สมัครเข้าประกวดต้องรับผิดชอบหากผลงานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์อื่นใดของบุคคลอื่น
  6. ผลงานที่เข้ารอบ 20 ชิ้น จะได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ของโครงการ โดยทาง โครงการขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการประกวด โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  7. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
เงื่อนไขข้อกำหนดในการส่งผลงานเข้าประกวด
  1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ในหัวข้อ “ค้นหา.. สุดยอดนักออกแบบสินค้าท่องเที่ยวชุมชน”
  2. สินค้าที่ส่งเข้าประกวด จะต้องมีวัสดุที่ได้มาจากชุมชนใน 8 แอ่งท่องเที่ยว ที่โครงการกำหนด อย่างน้อย 1 ชนิดเป็นส่วนประกอบ

รายการผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ใช้ จากชุมชนที่ร่วมโครงการจาก 8 แอ่งท่องเที่ยว  ดังนี้

แอ่งอารยธรรมล้านนา

  • บ้านเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย              ผลิตภัณฑ์ : เครื่องปั้นดินเผา

วัสดุที่ใช้ : ดินจากบ้านทุ่งม่าน  ขี้เถ้าไม้ทำน้ำเคลือบ  สีเขียนทำจากดินแดง

  • บ้านสันกอง จังหวัดเชียงราย              ผลิตภัณฑ์ : ผ้าปักลายด้วยมือ

วัสดุที่ใช้ : ด้ายสำหรับปักผ้า  ผ้าฝ้าย ผ้าทอ

  • บ้านฮวก จังหวัดพะเยา                 ผลิตภัณฑ์ : ผ้าทอ 7 สี

วัสดุที่ใช้ : เส้นใยจากฝ้าย ด้ายสีจากโรงงาน  ผ้าถักโครเชต์ไหมพรม

  • ชุมชนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่             ผลิตภัณฑ์ : เครื่องเงิน

วัสดุที่ใช้ : แผ่นนิเกิล แผ่นเงิน แผ่นทองเหลือง แผ่นทองแดง

แอ่งวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง

  • บ้านจอมแจ้ง จังหวัดหนองคาย            ผลิตภัณฑ์ : ไข่พอกเค็ม ถั่วตัด
  • ชุมชนโนนสะอาด จังหวัดนครพนม             ผลิตภัณฑ์ : หมวกผีตาโขนถักมือ

วัสดุที่ใช้ : เส้นด้ายใยประดิษฐ์  ใยสังเคราะห์หรือ โพลียูรีเทน

             แอ่งมรดกด้านวัฒนธรรม

  • แม่ทองพิน จังหวัดกำแพงเพชร         ผลิตภัณฑ์ : กระยาสารท
  • กลุ่มงานศิลป์ดินไทย จังหวัดพิษณุโลก                        ผลิตภัณฑ์ : ดินปั้น (ดินไทย)

วัสดุที่ใช้ : ดินไทย  ดินน้ำมัน

  • บ้านซุ้มขี้เหล็ก จังหวัดพิษณุโลก                        ผลิตภัณฑ์ : เสื่อกก

วัสดุที่ใช้ : สายผ้าร่ม เชือกฟาง เส้นกก  สีเคมี

แอ่งอารยธรรมอีสานใต้

  • บ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์                 ผลิตภัณฑ์ : ผ้ามัดหมี่ลายผักกูด

วัสดุที่ใช้ : เส้นไหม ด่าง ด่างพอก สีเคมีย้อมผ้า ปอฝางมัดลาย

  • บ้านนาทุ่ง จังหวัดศรีษะเกษ            ผลิตภัณฑ์ : ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ

วัสดุที่ใช้ : เส้นใยจากฝ้าย สีธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ กิ่ง ก้าน ใบ ผลไม้ รากไม้

  • บ้านโนนกุ่ม จังหวัดนครราชสีมา         ผลิตภัณฑ์ : ผ้ายวน (ผ้าซิ่น)

วัสดุที่ใช้ : เส้นใยด้ายประดิษฐ์  สีสังเคราะห์สำหรับย้อม

  • วิสาหกิจกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์                ผลิตภัณฑ์ : ข้าวหอมมะลิ (ข้าวสาร)
  • บ้านโนนสุขสันต์ จังหวัดอุบลราชธานี        ผลิตภัณฑ์ : เสื่อกกผือลายขิด

วัสดุที่ใช้ : กก ไหล หญ้า   ด้ายทอ  สีสังเคราะห์

แอ่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง

  • บ้านต้นลำแพน จังหวัดสมุทรสงคราม      ผลิตภัณฑ์ : ผลิตภัณฑ์จากก้านมะพร้าว

วัสดุที่ใช้ : หวาย ไม้ไผ่ ก้านมะพร้าว

  • บ้านบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ       ผลิตภัณฑ์ : ลูกประคบธัญพืช

วัสดุที่ใช้ : ผ้าดิบลายสอง  ผ้าไมโครพิมลาย  ธัญพืช  สมุนไพรต่างๆ

  • บ้านศาลาดิน จังหวัดนครปฐม              ผลิตภัณฑ์ : ข้าวตังหอมมะลิ
  • หมู่บ้านหัตถกรรม จังหวัดอ่างทอง

ผลิตภัณฑ์ : กลองนานาชาติ (ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และของที่ระลึก)

วัสดุที่ใช้ : ไม้ที่หาได้ในชุมชนและท้องถิ่นใกล้เคียง  หนังวัว  หนังควาย  เชือก ผ้าต่วนหลากสี

  • บ้านโพธิ์รังนก จังหวัดอ่างทอง               ผลิตภัณฑ์ : ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา

วัสดุที่ใช้ : ผักตบชวา  เครื่องปั้นดินเผา  ฐานไม้  ฝาไม้  เหล็ก  ทองเหลือง  ตัวล็อคเหล็ก  น้ำมันเคลือบแข็งไม้ โพลียูรีเทน

แอ่งฝั่งทะเลตะวันออก

  • บ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด                  ผลิตภัณฑ์ : งอบ ข้าวเกรียบยาหน้า

วัสดุที่ใช้ : งอบ ประกอบด้วย ใบจาก  ไม้ไผ่

  • บ้านมาบเหลาชะโอน จังหวัดระยอง             ผลิตภัณฑ์ : ผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูด

วัสดุที่ใช้ : เส้นกระจูด ดินนวล

  • บ้านปลายคลอง        จังหวัดจันทบุรี                ผลิตภัณฑ์ : น้ำพริกเผามังคุด

แอ่งฝั่งทะเลตะวันตก

  • บ้านเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร                  ผลิตภัณฑ์ : อาหารทะเลแปรรูป
  • วิสาหกิจชุมชนทอปกรีนเวอร์จิ้นออยล์             จังหวัดชุมพร

ผลิตภัณฑ์ : น้ำมะพร้าวสกัดเย็น และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว

วัสดุที่ใช้ : มะพร้าว

  • บ้านเจ็ดดาว จังหวัดเพชรบุรี

ผลิตภัณฑ์ : ผงขัดตัว โทนเนอร์มะเฟือง แชมพูมะกรูด

วัสดุที่ใช้ : ผงขัดตัว ประกอบด้วย สมุนไพรตามฤดูกาล (ขมิ้นชัน / ดินสอพอง / ทานาคา / มังคุด)

โทนเนอร์มะเฟือง ประกอบด้วย หัวเชื้อมะเฟือง

แชมพูมะกรูด ประกอบด้วย มะกรูด

 

แอ่งอันดามัน

  • บ้านถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่                  ผลิตภัณฑ์ : ผ้าปาเต๊ะ

วัสดุที่ใช้ : ผ้าไนลอน ผ้าทั่วไป เสื้อ  สีเคมี  ขี้ผึ้ง

  • บ้านทุ่งหยีเพ็ง จังหวัดกระบี่                  ผลิตภัณฑ์ : กะปิ
  • บ้านเขากอบ จังหวัดตรัง                     ผลิตภัณฑ์ : งานแกะสลักไม้

วัสดุที่ใช้ : ตอ และรากไม้เทพธาโร

  • บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา                  ผลิตภัณฑ์ : สมุนไพรชาขลู่

วัสดุที่ใช้ : ใบขลู่

  • บ้านปิยวรรณ จังหวัดภูเก็ต                   ผลิตภัณฑ์ : น้ำพริกกุ้งเสียบ
  1. ผู้สมัครเข้าประกวดต้องส่งผลงาน โดยแสดงแบบร่างพร้อมรายละเอียดวัสดุ ขนาดชิ้นงาน สีสัน

พร้อมรูปแบบการใช้งานลงบนกระดาษขนาด A2 ติดผลงานลงบนวัสดุที่มีความแข็ง สามารถตั้งอยู่

ในแนวตั้ง บนผลงาน โดยให้ติดใบสมัครที่ได้กรอกรายละเอียดของเจ้าของผลงาน ลงบนด้านหลัง

ผลงานเท่านั้น

  1. ผู้สมัครเข้าประกวดต้องส่งผลแรงบันดาลใจในการเลือกชุมชน , Story เกี่ยวกับชุมชน, กลุ่มเป้าหมาย

และกลยุทธ์ในการออกแบบเพื่อขายสู่ตลาด ต้นทุนสินค้าและแผนการตั้งราคาขาย พร้อมระบุโมเดล

รายได้ที่กลับไปสู่ชุมชนจากการขายสินค้า 1 หน่วย โดยใช้ฟอนต์ Angsana New 16 ลงบนกระดาษ A4

  1. แสดงแนวคิดการออกแบบพร้อมแบบร่างของ Brochure ขนาด A4 พับครึ่ง และ VDO Ads โปรโมทสินค้า โดยต้องมีข้อมูลครบทั้งเรื่องราวที่น่าสนใจของชุมชน, รายละเอียดวัสดุ, จำนวนในการผลิตต่อล็อต (Minimum – Maximum order), ระยะเวลาจัดส่ง, ราคาสินค้าต่อ 1 ชิ้น รายได้ที่จะกลับไปให้ชุมชน, รูปถ่ายสินค้า และรูปถ่ายชุมชน / รูปถ่ายนักออกแบบ ลงบนกระดาษ A4
  1. ผู้สมัครเข้าประกวดต้องกรอกแบบฟอร์มการสมัครตามที่กำหนดไว้ในใบสมัครและระบุข้อมูลให้ชัดเจนพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  1. ผู้สมัครเข้าประกวดต้องรับผิดชอบ หากผลงานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์อื่นใดของบุคคลอื่น
  2. ผลงานที่เข้าประกวดทั้งหมด จะถือครองลิขสิทธิ์โดยผู้เข้าประกวด
  3. ผลงานที่เข้าประกวดทั้งหมด ทางโครงการสามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ของโครงการได้ โดยทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการประกวด โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

การคัดเลือกและตัดสิน
1.    การประกวดรอบคัดเลือก  20 ทีม

คัดเลือกจากแบบร่างสเก็ตช์พร้อมใส่รายละเอียดวัสดุพร้อมผลิต โดยพิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีเอกลักษณ์การออกแบบตามเกณฑ์ที่กำหนดดูจากคะแนนสูงสุด 20 ทีมแรก

หมายเหตุ : ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในรอบ 20 ทีมจะมีสิทธิ์เข้าร่วมรับการอบรมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Service Design กับทางโครงการที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) (สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง)

  1. การประกวดรอบชิงชนะเลิศ

ทีมที่ผ่านเข้ารอบ 20  ทีม จะได้รับเงินทุน 100,000 บาท โดยแยกเป็น 80,000 บาท ใช้ในการผลิตสินค้าที่จะนำมาจำหน่ายในปริมาณที่มากที่สุดตามราคาต้นทุน  และ 20,000 บาทใช้ในการลงพื้นที่ และผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ (Brochure และ VDO Ads)

หลักเกณฑ์การให้คะแนนรอบคัดเลือก 20 ทีม
  1. Design Story 25 คะแนน
  • ที่มาและแนวคิดในการออกแบบ (Design Concept/ Design Thinking)
  • กลยุทธ์ในการออกแบบเพื่อนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาด (Design to Market Strategy)
  • แนวคิดที่นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่า (Cultural Heritage Values)
  1. Creativity / Innovation 25 คะแนน
  • คิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • เป็นต้นแบบที่แตกต่างจากที่เคยมีมา (Novelty)
  • มีผลกระทบต่ออนาคต (Innovation)
  • ใช้เทคโนโลยีหรือวัสดุใหม่ๆ (New technology or New Materials)
  1. User impact / Customer experience 25 คะแนน
  • ประโยชน์ใช้สอยที่ดี (Utilization)
  • สะดวกสบายในการใช้งาน (Convenience/Comfortable and Ease of Use)
  • ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค (Satisfying Consumer’s Needs)
  • ปลอดภัย (Safety)
  • ออกแบบเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้ใช้ได้หลากหลาย (Universal Design)
  • ส่งเสริมให้ผู้ใช้มีความคิดสร้างสรรค์ (Stimulus to the User’s Creative thinking)
  1. Local impact 25 คะแนน
  • โมเดลการแบ่งรายได้ที่เหมาะสม และส่งผลให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มและยั่งยืน (Revenue Sharing)
หลักเกณฑ์การให้คะแนนรอบชิงชนะเลิศ
  1. Creativity / Innovative 20 คะแนน
  • ที่มาและแนวคิดในการออกแบบ (Design Concept/ Design Thinking)
  • กลยุทธ์ในการออกแบบเพื่อนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาด (Design to Market Strategy)
  • แนวคิดที่นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่า (Cultural Heritage Values)
  1. Product quality and function 20 คะแนน
  • คุณภาพสินค้า (Quality)
  • สภาพคงทนต่อสภาวะแวดล้อม (Durability)
  • ใช้งานจริงได้ตามฟังชั่น (Practicality)
  1. User impact / Customer experience 20 คะแนน
  • ประโยชน์ใช้สอยที่ดี (Utilization)
  • สะดวกสบายในการใช้งาน (Convenience/Comfortable and Ease of Use)
  • ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค (Satisfying Consumer’s Needs)
  • ปลอดภัย (Safety)
  • ออกแบบเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้ใช้ได้หลากหลาย (Universal Design)
  • ส่งเสริมให้ผู้ใช้มีความคิดสร้างสรรค์ (Stimulus to the User’s Creative thinking)
  1. Social & Environmental Impact 20 คะแนน
  • ใช้งานได้ยาวนาน (Long Lifetime/Durability)
  • คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม (Socially Responsible)
  • คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally-Friendly)
  1. Customer choice 20 คะแนน
  • คะแนนโหวดจากช่องทางต่างๆของโครงการ (Popular Vote)
หลักเกณฑ์การให้คะแนนสื่อประชาสัมพันธ์
  1. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
  2. เนื้อหา (Content)
  3. เทคนิคการเล่าเรื่อง (Narrative)
  4. การใช้ภาษาและดนตรี (Language and Music)
  5. คุณภาพในการผลิต (Production and Total Quality)

**การตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการ                                              15 สิงหาคม 2560

เปิดรับสมัครและส่งผลงาน                                              15 สิงหาคม – 29 กันยายน 2560

คัดเลือกผลงานจากแบบ                                                  5 ตุลาคม 2560

ประกาศผลผู้เข้ารอบ 20 คน                                             11 ตุลาคม 2560

สัมมนาและอบรมพัฒนาต่อยอด (workshop)                    16 ตุลาคม 2560

ลงพื้นที่ ผลิตสินค้าและสื่อประชาสัมพันธ์                          17 ตุลาคม – 17 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมโหวดสินค้าและสื่อประชาสัมพันธ์                          10-24 พฤจิกายน 2560

งานแสดงสินค้าและการท่องเที่ยวชุมชน Village Festival     24-26 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมประกาศรางวัล                                                    24 พฤจิกายน 2560

รางวัล

1 .รางวัลชนะเลิศ  เงินสด 200,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและใบประกาศนียบัตร

  1. รางวัลรองชนะอันดับ 1 เงินสด 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและใบประกาศนียบัตร
  2. รางวัลรองชนะอันดับ 2 เงินสด 70,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและใบประกาศนียบัตร
  3. รางวัล Popular Vote เงินสด 50,000 บาท  พร้อมโล่เกียรติยศและใบประกาศนียบัตร
  4. รางวัลสื่อโฆษณายอดเยี่ยม เงินสด 50,000 บาท  พร้อมโล่เกียรติยศและใบประกาศนียบัตร

*** หมายเหตุ  กำหนดการ วัน เวลา และรายละเอียดอาจมีเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ติดต่อฝ่ายประสานงานการแข่งขัน : คุณภาณี โทร. 084-011-3223
อีเมล์ : [email protected] www.facebook.com/villagemissionthailand

Related Posts