จับตา 6 เทคโนโลยี เพิ่มความฉลาดที่อาจจะมีในรถยนต์ปี 2018

จับตา 6 เทคโนโลยี เพิ่มความฉลาดที่อาจจะมีในรถยนต์ปี 2018

ความสามารถของการขับขี่รถยนต์จะไม่ใช่เรื่องของบุคคลอีกต่อไป เพราะ เทคโนโลยี จะเข้ามสอดแทรกเพื่อช่วยให้การขับขี่ของบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นการผสานเทคโนโลยีของค่ายรถยนต์มาอยู่เนื่องๆ แต่แน่นอนว่าการพัฒนาอย่างครบวงจรที่ไม่เพียงแค่เสริมความฉลาดในส่วนใดส่วนหนึ่งของรถยนต์เท่านั้น

การพัฒนารถยนต์ให้ฉลาดและตอบโต้ผู้ขับขี่ได้อย่างน่าทึ่ง จำเป็นต้องใช้เวลาและการทดสอบที่ชัดเจนก่อนที่จะใช้งานได้จริง และพลายอะตอมก็เชื่อว่า ในปี 2018 ที่จะถึงนี้เราจะได้เห็นการใช้งานเทคโนโลยีที่จะกล่าวถึงนี้ บรรจุเป็นหนึ่งในจุดขายของค่ายรถยนต์อย่างแน่นอน ไม่เชื่อก็ลองไปเดินดูที่งานมอเตอร์เอ็กซ์โปร์ที่กำลังจัดอยู่ที่เมืองทองธานีตอนนี้ได้เลย

เทคโนโลยี Connected Car

เริ่มกันด้วยเทคโนโลยีแรกที่เชื่อว่า บางคนเริ่มคุ้นเคยกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับรถยนต์ ด้วยระบบการเชื่อมต่อทั้งรูปแบบสัญญาณบลูทูธ ไวไฟ NFC หรือแม้กระทั่งการใช้สาย แต่จริงๆแล้ว ความหมายของ Connected Car ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับรถยนต์ได้เท่านั้น

แต่ยังหมายถึงการเชื่อมต่อความสามารถของรถที่มีทั้งหมดเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตอีกด้วย เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถสั่งการและขับขี่ได้สะดวก ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่เราเห็นมาแล้วก็อย่างเช่นการเชื่อมต่อของ Apple Carplay, Ford Sync 3, Android Auto และการเชื่อมต่อของค่ายรถแทบทุกค่าย ผ่านหน้าจอของระบบเครื่องเสียงภายในรถยนต์ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังจากกล่องควบคุมหรือว่า ECU นั่นเอง

Plug-in Car

เทรนด์ของการรักษ์โลกที่กำลังมาแรง ด้วยเครื่องยนต์ที่ผสมผสานสมรรถนะของกำลังส่งจากมอเตอร์ไฟฟ้่าเข้าไปด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมระบบการชาร์จไฟฟ้า รถยนต์ปลั๊กอิน เป็นตัวเลิอกของการผสมผสานเครื่องยนต์น้ำมันเข้ากับเครื่องยนต์แบบมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด

ด้วยความร่วมมือของการสร้างนวัตกรรมระบบการชาร์จที่รวดเร็ว เพื่อให้เกิดเป็นปั๊มชาร์จไฟตามสถานที่ต่างๆ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาการชาร์จเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อครั้งอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

และการพัฒนาดังกล่าวก็จะเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านรถไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงการเกิดปั๊มชาร์จไฟฟ้าตามปริมารของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมากขึ้น จนในที่สุดจะทำให้เกิดเป็นระบบนิเวศน์ของรถไฟฟ้าที่จะถูกพัฒนาขึ้นในโลกของการขับขี่ต่อไปในอนาคต

เทคโนโลยี
Intelligence Engine

ความสามารถของเครื่องยนต์ ที่เริ่มพัฒนาให้แปลผันตามการใช้งาน ด้วยสมองกลที่ฝังอยู่ภายในเพื่อจับพฤติกรรมการขับขี่ตามรอบเครื่องยนต์ ลักษณะการเบรก การบังคับเลี้ยว ตลอดจนการติดตามเพื่อแจ้งเตือนการซ่อมบำรุง ความสามารถเช่นนี้จะได้รับการพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการใช้งานเครื่องยนต์ที่ดีขึ้น

ขณะที่ความท้าทายอย่างหนึ่งคือการสร้างเครื่องยนต์ที่เล็กลง กินพลังงานน้อยลง แต่สามารถให้แรงขับที่ดีกว่าเดิม การใส่ความสามารถให้เครื่องยนต์ฉลาดมากขึ้น จึงเป็นทางออกและเทคโนโลยีที่สำคัญของการขับขี่ในอนาคต

Voice Command

เทรนด์ของการใช้เสียงเพื่อสั่งการเป็นอีกหนึ่งความพยายามที่มีมาแต่ดั้งเดิม และก็ทำให้ระบบ Voice Command ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การสั่งการด้วยเสียงที่บางค่ายรถยนต์สามารถบรรจุระบบนี้เป็นฟีเจอร์ชูโรง อย่างค่าย MG ซึ่งเปิดตัวรถยนต์บางรุ่นที่มาพร้อมเทคโนโลยี iSmart

ช่วยให้สามารถสั่งการเปิด-ปิดอุปกรณ์บางอย่างภายในรถยนต์ และรวมไปถึงการสั่งให้เครื่องสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่ออยู่ สามารถใช้งานบางฟีเจอร์ได้ เช่นการโทรออกและรับสาย การค้นหาเส้นทางเพื่อไปยังจุดหมายเป็นต้น

ในอนาคตการเชื่อมต่อแอปพลิเคชั่น คาดว่าจะสามารถสั่งการระบบเครื่องยนต์บางอย่างให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกมากขึ้น แน่นอนว่าการสั่งดับเครื่องและติดตามเครื่องยนต์ในกรณีที่รถถูกโจรกรรม ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของการผสานแอปพลิเคชั่นให้มีความฉลาดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Application Command

เทรนด์ของการใช้สมาร์ทโฟนก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ค่ายรถยนต์ให้ความสนใจ โดยเพิ่มความสามารถให้แอปพลิเคชั่นที่แต่เดิมทำได้เพียงการบริการหลังการขายเท่านั้ เป็นการเชื่อมต่อระบบของรถยนต์ให้สามารถสั่งการบางอย่างได้ อาทิ การสั่งการสตาร์ทเครื่องยน การสั่งเปิดปิดแอร์ การปลดล็อกและปิดล็อกประตูจากระยะไกล

ซึ่งแม้ว่าความสามารถเช่นนี้จะเป็นเพียงลลูกเล่นเล็กๆที่ผู้ขับขี่อาจจะไม่เลือกใช้ แต่ก็นับเป็นเทรนด์ของเทคโลโลยีที่หากค่ายไหนไม่มีก็น่าจะถูกมองว่าตกรุ่นกันไปเลยทีเดียว

Intelligence Car

ความสามารถของระบบรถอัจฉริยะที่แม้ว่าทุกค่ายพยายามที่จะเคลมว่าเป็นเช่นนั้น แต่กระนั้นระบบอัจฉริยะที่เราเห็นก็ยังเป็นเพียงแค่ระบบเซ็นเซอร์ที่ควบรวมความสามารถของการขับอัตโนมัติเข้าไปด้วยเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นการถอยเข้าจอดเองของค่ายรถบางรุ่น ระบบป้องกันการชน หรือแม้แต่ระบบรถอัตโนมัติแบบไร้คนขับ

แต่ความสามารถที่แท้จริงของรถอัจฉริยะที่ผมหมายถึงเป็นเรื่องของการตอบโต้ของรถยนต์ต่อผู้ขับขี่ แน่นอนว่าเมื่อผู้ขับเข้าไปสู่รถยนต์เพื่อขับไปสู่เป้าหมาย ผู้ขับขี่จะสามารถสนทนากับรถยนต์ สั่งการได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งแนะนำเส้นที่ทางที่ดีที่สุด รวมถึงสั่งการระบบที่บ้านเพื่อรอการต้อนรับการกลับไปของผู้ขับขี่นั่นเอง เสมือนหนึ่งผู้ช่วยในการเดินทางก็เป็นได้

จะเห็นได้ว่าเทรนด์ของการขับขี่รถยนต์ในปี 2018 จะเริ่มมีการเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบเข้ามาสู่รถยนต์มากยิ่งขึ้น ความสามรถเหล่านี้จะถูกเชื่อมต่อในหลากหลายรูปแบบเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการขับขี่ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายต่อผู้ขับขี่มากที่สุด

ซึ่งพลายอะตอมก็เชื่อว่า เมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ใช้งานได้อย่างสเถียรดีแล้ว ยอดของอุบัติเหตุ อัตราการใช้เชื้อเพลิง ตลอดจนระบบการจราจรที่จะถูกเชื่อมโยงเพื่อสื่อสารกับรถยนต์ตลอดการเดินทาง ก็จะทำให้ผู้คนปลอดภัยในการขับขี่และไม่เสียเวลาโดยใช่เหตุบนท้องถนนอีกต่อไป

Related Posts