การเติบโตของธุรกิจ โรงพยาบาลจะมาพร้อมกั บการขยายตัวของข้อมูลที่ต้องมี เพิ่มมากขึ้นทุกวัน และข้อมูลที่เกิดขึ้นนั้นมี ความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ให้ ถูกต้องอย่างมาก เพราะมีความเป็นความตายเป็นสิ่ งเดิมพันอยู่
ทำให้ที่ผ่านมาเราจะได้เห็ นหลายๆ โรงพยาบาลได้นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ ส่วนหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการรักษา และอีกส่วนหนึ่งคือการสร้ างความเชื่อมั่นให้กับตั วโรงพยาบาลเอง
โรงพยาบาลพระรามเก้า เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีสาขา ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 1,200 คน มีจำนวนผู้ป่วยนอกมารับบริ การเฉลี่ย 1,100 คนต่อวัน
ทำให้ทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องขยายอาคารและปรับปรุงระบบเพื่ อรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่ มมากขึ้น ตอบรับการดำเนิ นงานตามมาตรฐานสากลของโรงพยาบาล
แพทย์หญิงปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กำกับดูแลฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาล พระรามเก้า กล่าวว่า การขยายตัวของโรงพยาบาลทำให้ต้ องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่ อช่วยยกระดับประสิทธิ ภาพการทำงานในองค์กร
โดยเฉพาะการวิเคราะห์ความเสี่ ยงและหาวิธีดูแลและวิเคราะห์ข้ อมูลคนไข้ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นจากระบบสำรองข้อมู ลในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือ Disaster Recovery
ด้วยการจัดเก็บข้อมูลการทำงานของโรงพยาบาลรวมไปถึ งข้อมูลคนไข้บนคลาวด์เพื่อสร้ างความเชื่อมั่นว่ าโรงพยาบาลจะสามารถดำเนินงานต่ อได้อย่างแม่นยำแม้จะมีเหตุ การณ์ที่เราควบคุมไม่ได้เกิดขึ้ น
เป้าหมายของโรงพยาบาล คือการตั้งเป้าสู่การเป็ นโรงพยาบาลดิจิทัล ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาขั บเคลื่อนเพื่อสร้างความเชื่อมั่ น
ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ธุรกิจจะต้องดำเนินไปได้อย่างมั่ นคงและสามารถควบคุมความเสี่ ยงได้ ในด้านการดูแลรักษาคนไข้ สร้างความเชื่อมั่นโดยการบริ หารจัดการข้อมูลคนไข้ให้เป็ นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิ ภาพในการดูแลรักษาคนไข้ให้ได้รั บการรักษาที่ดีและปลอดภัยมากยิ่ งขึ้น
และการวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ ตรวจสอบพฤติกรรมเชิงลึก ซึ่งระบบจะเข้ามาช่วยป้องกันความผิดพลาดพร้อมแนะนำการบริ การได้
โรงพยาบาลพระรามเก้าได้เลือกใช้ โซลูชัน Business Intelligence จากไมโครซอฟท์ ที่ประกอบด้วย SQL Server Enterprise Edition และ Mobile BI
ที่สามารถเชื่อมต่อกั บระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) ได้เป็นอย่างดี เข้ามาตอบโจทย์การวิเคราะห์ข้ อมูลจำนวนมากในโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถนำข้อมูลต่างๆ ในระบบมาใช้ประโยชน์ได้อย่ างเหมาะสม
รวมทั้งยังสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงในการดู แลและปกป้องข้อมูลคนไข้ ของโรงพยาบาลได้อีกด้วย
“เรามีการวางแผนระยะยาว 3 ปี ในการบริหารจัดการข้อมู ลของโรงพยาบาลให้มีความน่าเชื่ อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำดาต้ าไมน์นิ่งและวิเคราะห์ข้อมู ลการแพทย์ (Analytics) เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลพื้ นฐานของโรงพยาบาล
โดยสามารถเข้าถึงตามหน้าที่รั บผิดชอบของแต่ละสายงาน รวมทั้งการบริหารจัดการสินทรั พย์ เช่น การตรวจสอบประวัติการใช้ งานของอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้ งานครั้งถัดไปกับคนไข้อื่น”
แพทย์หญิงปิยะรัตน์ กล่าวว่า การเลือกใช้โซลูชันดังกล่าวต้องการให้ทุกคนทำงานอย่างมีประสิ ทธิภาพ
ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ ามาใช้จะช่วยให้ทุกคนทำงานง่ ายขึ้นและอำนวยความสะดวกลูกค้ าได้อย่างสมบูรณ์แบบ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลหาวิธีรั กษาคนไข้ได้อย่างตรงจุด ทั้งยังช่วยต่อยอดพั ฒนาโรงพยาบาลในทิศทางที่ดี โดยไม่ก้าวล่วงจริ ยธรรมทางการแพทย์
โดยในตอนนี้เรากำลังพยายามเร่ งปรับเปลี่ยนแนวคิ ดในการทำงานของบุคลากร เพื่อนำดิจิทัลเข้ามาช่วยปฏิรู ปองค์กรให้มีความมั่ นคงและปลอดภัยอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นไปตามวิสัยทัศน์ ของโรงพยาบาลพระรามเก้า คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่ วยในการบริหารจัดการ
รวมไปถึงวิ เคราะห์ข้อมูลพร้อมจัดสรรวิธี การดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิ ทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึ งบริการทางสุขภาพได้ สะดวกและรวดเร็ว
ในขณะเดียวกัน ยังสามารถช่วยบุ คลากรทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลในการดูแลข้อมูลผู้ ป่วยได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันพนักงานกว่า 600 คนจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลตามแต่ละหน้าที่รับผิดชอบ คลาวด์จึงเป็นทางเลือกที่ดี มากในการเข้ามาช่วยบริหารจั ดการ
เพื่อยกระดับการทำงานให้ โรงพยาบาลสามารถทำงานได้มั่ นใจและยังช่วยลดต้นทุ นในการทำงานอีกด้วย
ด้านทาเทียน่า มารัชเชฟสกาย่า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อุตสาหกรรมการแพทย์ในเอเชีย แปซิฟิก เริ่มมีความตื่นตัวและมองเห็ นความจำเป็นในการปฏิรูปธุรกิ จในยุคดิจิทัล
เพื่อเตรียมตัวรับความท้าทายและโอกาสในการเติบโตทางธุ รกิจที่จะเกิดขึ้นในยุคการปฏิวั ติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ข้อมูลหรือ data เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่ างมากในการช่วยปรับเปลี่ ยนระบบการดำเนินงานทางการแพทย์ จากแบบเดิมสู่แบบใหม่
ด้วยการบริหารจัดการสุขภาพของบุ คคลและสาธารณสุขโดยรวมให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยค่าใช้จ่ ายที่น้อยลง
ดังนั้นผู้ให้บริการด้านการแพทย์จึงควรนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยพัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์กับผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งเทคโนโลยีเกิดใหม่ โดยเฉพาะคลาวด์ การวิเคราะห์ (analytics) และนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT (Internet of Things) จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้อุ
“เราอยู่ในโลกที่โมบายล์และคลาวด์มีบทบาทสำคัญมากในการดำรงชีวิต การสร้างความมั่นใจทั้งในด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว
และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ คือปัจจัยสำคัญในการให้บริการด้ านการแพทย์ที่น่าเชื่อถือและเป็ นสิ่งจำเป็นที่ทำให้วงการแพทย์ ยุคดิจิทัลต้องให้ความสำคั ญในการลงทุน”