___noise___ 1000

เยาวชนไทย ชูความเท่าเทียมทางเพศในอาเซียน คว้าอันดับ 3 เวที ASEAN DSE 2017

ASEAN DSE

มูลนิธิอาเซียนและเอสเอพี ได้สรุปผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ภายใต้โครงการ ASEAN Data Science Explorers ‘ASEAN DSE’ ที่จัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา โดยตัวแทนนักศึกษาจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ได้รับรางวัลสามอันดับแรก จากการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน

นับเป็นปีแรกที่ ASEAN DSE จัดขึ้นทั่วทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างมูลนิธิอาเซียนกับเอสเอพี จุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการเตรียมความพร้อมสำหรับเยาวชนในปัจจุบันสำหรับโลกของวันพรุ่งนี้ โครงการดังกล่าวส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมได้ร่วมกันหาข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติใน 6 ด้าน

ได้แก่ (1) สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี (2) การศึกษาที่มีคุณภาพ (3) ความเท่าเทียมทางเพศ (4) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล (5) การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจและ (6) เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาทางสังคมได้อย่างสร้างสรรค์

ทีม ASEANalysts ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทีม ได้แก่ Thean Su Mei และ Wong Feng Ming ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศมาเลเซีย ได้กลายเป็นแชมป์อาเซียนในการแข่งขันระดับภูมิภาค จากการนำเสนอโครงการ ซึ่งให้ความสำคัญด้านการพัฒนาการศึกษาระดับประถม

ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) ในด้านการศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสำหรับประชาชนทุกคน โดยทั้งสองคนเป็นนักศึกษาปัจจุบันจากมหาวิทยาลัย Monash University

รองชนะเลิศอันดับ 1 คือทีม Omotesando ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทีม ได้แก่ Febe Epafras และ Vida Cornelius จากมหาวิทยาลัย University of Indonesia โดยโครงการของพวกเขามุ่งเน้นประเด็น ‘การผนวกขั้นตอนด้านการเงินผ่านการทำธุรกรรมทางธนาคารแบบไร้สาขา’ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) ในด้านการจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในขณะเดียวกัน ทีมผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทยชื่อ Bangkok Brothers ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทีม ได้แก่ นายพชร อังศุสุกนฤมล และนายกฤตณัฐ จิรฐาวงศ์ จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้นำเสนอโครงการโดยมุ่งเน้นประเด็น ‘การแบ่งแยกเพศในกลุ่มประเทศอาเซียน’ ทั้งนี้ โครงการของพวกเขาสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) ในด้านความเท่าเทียมทางเพศ

นางสาวเอเลน ทัน ผู้อำนวยการมูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า “ทีมที่ชนะเลิศได้นำเสนอโซลูชั่นใหม่ๆ โดยพวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเยาวชนอาเซียนในการคิดค้นวิธีในการแก้ปัญหาสังคมตามประเด็นที่พวกเขาเลือกไว้ จากการแข่งขันครั้งนี้ เราได้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่เยาวชนอาเซียนในการขับเคลื่อนอนาคตอันยั่งยืนให้กับชุมชนของเรา

ปีนี้ถือ เป็นปีที่ 50 ของการก่อตั้งอาเซียน และครบรอบ 20 ปีของมูลนิธิอาเซียน ความสำเร็จในการจัดการแข่งขัน ASEAN DSE เป็นข้อพิสูจน์ที่ดีว่าความร่วมมือในครั้งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อเยาวชนอย่างแท้จริง และเราพร้อมที่จะสานต่อการเป็นพันธมิตรกับ SAP ต่อไปในปี 2561 ”

นักศึกษาที่ลงทะเบียนสำหรับโปรแกรมในช่วงต้นปี ได้เข้าถึงชุดข้อมูลเกี่ยวกับภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งได้ใช้งานแพลตฟอร์ม SAP Analytics Cloud ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและทำความเข้าใจข้อมูลได้เป็นอย่างดี SAP Analytics Cloud เป็นซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ในรูปแบบบริการ (SaaS) ที่สร้างนิยามใหม่ของการวิเคราะห์ข้อมูลบนคลาวด์

โดยให้บริการด้านการทำ Business Intelligence (BI) รวมถึงการคาดการณ์ และการวางแผนทั้งหมดภายในเครื่องมือเดียว การใช้แพลตฟอร์มคลาวด์นี้ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและดูการแสดงผลบนภาพ เพื่อช่วยหาคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ได้สำหรับพวกเขาได้

ทีมนักศึกษาทั้ง 10 ทีม ในรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค เป็นทีมชั้นนำจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมการแข่งขันซึ่งแต่ละทีมเป็นทีมที่ชนะการแข่งขันในระดับชาติที่จัดขึ้นเมื่อช่วงหนึ่งเดือนที่แล้ว

banner Sample

Related Posts