ไอเดียทีม dtac coins เกิดจากความตั้งใจที่จะทำให้บัตรพนักงานเป็นมากกว่าแต่การเข้า-ออกตึก โดยทีมงานหาจุดปัญหาจากการเดินสอบถามพนักงาน ซึ่งก็ได้ความว่าอยากให้สามารถใช้งานซื้อของ จ่ายของในพื้นที่ตึกได้ ขณะที่การจ่ายผ่านบัตรก็อยากได้แต้มด้วย ซึ่ง Coin จากการทำกิจกรรมของบริษัทเป็นเสมือนหนึ่งรีวอร์ดที่เพิ่มให้กับพนักงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ทีมพัฒนาบุคคลากรที่มีหัวหน้าโครงการอย่าง กันยารัตน์ วัฒนพงษ์วานิช คิดส่งไอเดียเข้าประกวดแคมเปญ Flip it Challenge ที่เกิดขึ้นจากแนวคิด แค่พลิกชีวิตก็ง่าย ที่ dtac ต้องการสร้างปรากฏการณ์พลิกครั้งสำคัญ ให้กับลูกค้าของดีแทคซึ่งพนักงานทุกคนถือเป็นหัวใจสำคัญที่ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ ‘พลิก’ ให้เกิดขึ้น
ทั้งนี้ในแอปพลิเคชั่น จะเป็นเสมือนหนึ่งกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งแบ่งตามระดับชั้น บลู ซิลเวอร์และโกล์ด ได้ โดยสามารถเลื่อนขั้นขึ้นได้ตามการใช้งานและจำนวนเหรียญ แน่นอนว่าทุกกิจกรรมของภายในจะได้รับเหรียญเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่การแลกรับรางวัล มีการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่น ‘ชมชอบ’ ซึ่งนอกจากจะสามารถแลกของผ่านระบบแรบบิทแล้ว ยังจะสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไฟได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถปรับไปสู่สถานะบลูเมมเบอร์ จากการใช้ 200 Coins ในแต่ะระดับพรีวิลเลจ
โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือที่เกี่ยวข้องจากทุกแผนก เพื่อสร้างให้เกิดระบบที่ดี โดยใช้กลยุทธ์การทำไปปรับแก้ไป ซึ่งตลอดทั้งกระบวนการใช้เวลาในการสร้างนาน 8 เดือน โดยฝังไปในแอปพลิเคชั่นภายในสำหรับพนักงานที่ชื่อว่า ‘เพลิน’ โดยมีพนักงานใช้ Coins หมุนเวียนแล้วกว่า 50,000 Coins จากพนักงานกว่า 2,500 คน หลังจากที่เปิดตัวให้พนักงานใช้เพียงแค่ 2 สัปดาห์
dtac coins จึงนับเป็นเครื่องมือที่ดีอันหนึ่งในการสร้างประสบการณ์ที่ดีจากการทำงาน ขณะที่ยังเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานและยังเป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากทำความดีให้กับบริษัทเพิ่มมากขึ้น แน่นอน ระบบการให้ Coins จะมีสามารถตรวจสอบบได้อย่างโปร่งใส และยังมีโคต้าในการให้คอยต์ เพื่อไม่ให้เกิดการเฟ้อของ coins ในระบบ โดยในระดับพนักงานที่เป็นระดับเมเนเจอร์มากว่า 1,000 คนทั่วประเทศ
เน้นความเป็นทีมเวิร์คและความร่วมมือร่วมใจกันทำงานของพนักงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้เมเนเจอร์ สามารถให้เหรียญกับพนักงานต่างพื้นที่ได้ เพื่อตอบสนองความเป็นไปได้ว่าเมื่อเกิดโกกาสที่จะต้องชมก็ควรชม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจที่มากขึ้น
เพิ่งเริ่มได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่เชื่อว่าอนาคตอาจจะเป็นแพลตฟอร์มของพนักงานให้กับบริษัทอื่นๆ เพื่อเป็นรายได้ให้กับบริษัทต่อไปในอนาคต ขณะที่ข้อมูลที่ได้จากการใช้และรับพนักงาน เพื่อต่อยอดจากพฤติกรรมการใช้งานต่อไปในอนาคต
ความท้าทายลึกๆของการทำแอปพลิเคชั่น คือการค้นหาผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อทำให้เราทำแอปพลิเคชั่นออกมาถูกทางมากที่สุด กระบวนการสร้างสรรค์โครงการนี้ยากที่ระยะเวลาและการค้นหาวิธีการและพาร์ทเนอร์ เพื่อให้บริการกับพนักงานที่ดีที่สุด ซึ่งความแตกต่างและความถูกใจของแต่ละคนก็จะเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่เกิดจากสิ่งใหม่ที่ผู้คนไม่รู้จักและยังไม่เข้าใจ
โดยนอกจากจะช่วยให้พนักงานได้เรียนรู้การใช้เงินสกุลดิจิทัลแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้บริษัทสามารถเข้าสู่ดิจิทัลแบรนด์ได้ในอนาคต ตามนโยบายหลักขององค์กรในการก้าวเข้าสู่ดิจิทัลมากขึ้น