Flip for Site ก้าวข้ามความท้ายทายของการเพิ่มเสาสัญญาณ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ขั้นตอนการทำงานทางเทคนิคที่ยุ่งยากและซับซ้อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งการหาพื้นที่ตั้งเสาที่เหมาะสมว่ายากแล้ว การหาตัวเจ้าของพื้นที่เป้าหมายเพื่อติดต่อขอตั้งเสากลับยากกว่า
โดยบางแห่งใช้เวลาหลายปีก็ยังไม่สามารถหาตัวเจ้าของพื้นที่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นจุดที่พนักงานดีแทคนำมาแปลเปลี่ยนเป็นหนทางแก้ไข เพื่อส่งไอเดียเข้าแข่งขัน Flip it Challenge เวทีประลองไอเดียภายในองค์กร เพื่อสร้างสรรค์วิธีคิดใหม่ๆจากการพลิกความคิดเดิมๆ
วรรณี พีรมั่นชัย หัวหน้าทีม Flip for site และบุญชัย ตันติวุฒิพงศ์ ผู้จุดประกายปัญหาที่สำคัญของการหาพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณ เปิดเผยว่า จุดเริ่มของไอเดีย ซึ่งตั้งเป้าที่จะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มสถานีฐาน เพื่อแก้ปัญหาของความท้าทายในการหาสถานที่ตั้งเสาสัญญาณที่ยุ่งยาก การหาเจ้าของสถานที่เป็นเรื่องยากที่คนนอกพื้นที่จะทำได้
การพลิกครั้งนี้จึงเป็นการเชื่อมโยง IoT ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการผ่านอุปกรณ์ที่ต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งก็ทำให้เจ้าของพื้นที่สามารถแจ้งความประสงค์และปักหมุดพื้นที่ของตนเองเมื่ออยากให้ดีแทคเข้าไปตั้งเสาในพื้นที่
แน่นอนว่าเมื่อเจ้าของพื้นที่สามารถเซ็นต์สัญญาและตั้งเสาได้ ผู้แจ้งจะได้รับเงินรางวัลกว่า 1 หมื่นบาท และนอกจากนั้นชุมชนยังจะสามารถรับบริการที่ครอบคลุมการใช้งานสัญญาณมือถือของดีแทคที่ดีได้มากขึ้น
นอกจากนี้ไอเดียนี้ ยังช่วยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงานภายใน โดยสามารถย่นระยะเวลาการรับเรื่องเพื่อตั้งเสาได้ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งหลังจากทำการสำรวจการติดตั้งเสาภายใต้โครงการนี้ สามารถช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ใช้งานสัญยาณดีแทคได้ดีขึ้น
ทั้งนี้ประโยชน์ที่ชัดเจนของไอเดียนี้ วัดได้จากการเปิดบริการเพียงแค่สัปดาห์เดียว แต่มีผู้ยื่นความประสงค์แล้วกว่า 1 หมื่นราย นอกจากนี้สิ่งที่ได้รับกลับมายังเป็นเสียงสะท้อนที่ดีจากกลุ่มบุคคลทั้งภายในและภายนอก ซึ่งก็ทำให้มีพื้นที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาเพื่อตั้งเสาเพิ่มขึ้นจากโครงการนี้กว่า 100 ราย ภายในระยะเวลาที่เปิดโครงการเพียงแค่ 3เดือนเท่านั้น
เดิมกระบวนการตั้งเสา แค่หาพื้นที่เพียงอย่างเดียวก็ใช้เวลากว่า 3 เดือน อีกทั้งบางแห่งต้องใช้เวลานานหลานปี ก็ยังไม่สามารถตั้งสถานที่ได้ ยกตัวอย่างเช่น อินทามระ 33 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พยายามหาพื้นที่ตั้งมานานหลายปีแล้ว ก็ไม่สามารถหาได้ แต่ไอเดียนี้ สามารถติดต่อเจ้าของที่ได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 วันเท่านั้น
ขณะที่พื้นที่ที่ได้รับแจ้งผ่านโครงการนี้ โดยมากยังเป็นในโซนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งพื้นที่ตั้งเสายังมีความต้องการเพิ่มในส่วนของกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยสามารถยื่นความประสงค์มาที่โครงการผ่านหน้าเว็บไซต์ดีแทค โดยเมื่อส่งเรื่องเข้ามาจะมีเจ้าหน้าติดต่อกลับไม่เกิน 15 วัน ซึ่งทีมงานยืนยันว่าพยายามจะติดต่อกลับทุกรายให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง
หลังจากนั้นจะเริ่มติดต่อเพื่อนัดสำรวจสถานที่ และดำเนินการรายละเอียดเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และพิจารณาเรื่องความเหมาะสมและรายละเอียดต่างๆ โดยกระบวนการทั้งหมดก่อนการเซ็นต์สัญญา จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1เดือน ซึ่งนับว่ามีความเร็วของการหาพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณเพิ่มมากขึ้น 3 เท่าจากการหาวิธีเดิม
ทั้งนี้การติดต่อพื้นที่จะเป็นทีมงานของดีแทคเองในการให้ความรู้ในเรื่องของความปลอดภัยในการตั้งเสาสัญญาณ ซึ่งพื้นที่ที่จะใช้มีขนาดเพียงแค่ 10 x 10 เมตรเท่านั้นสำหรับพื้นที่ราบ ขณะที่การตั้งเสาสัญญาณบนอาคารจะใช้พื้นที่เพียง 4×8 เมตร
โดยนอกจากไอเดียนี้จะมีประโยชน์ในด้านการหาพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณที่รวดเร็วขึ้นแล้ว ยังนับเป็นการรวบรวมฐานข้อมูลของพื้นที่การตั้งเสาขนาดใหญ่อีกด้วย ส่งผลให้ดีแทคสามารถเลือกปรับเทคนิคการรับ-ส่งสัญญาณจากพื้นที่ที่ดีที่สุด เพื่อให้บริการกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ