ฟูจิตสึ ยกระดับบริการสู่สากล ตั้งเป้าขยายตัวรับความอัจฉริยะมากขึ้น

ฟูจิตสึ ยกระดับบริการสู่สากล ตั้งเป้าขยายตัวรับความอัจฉริยะมากขึ้น

ฟูจิตสึ เดินหน้ายกระดับมาตรฐารการบริการโซลูชั่นสู่ Grobal Premium ชูความพร้อมของโซลูชั่นที่ครบครัน ตอบสนองกลุ่มองค์กรทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขยายเข้าสู่สมาร์ทรีเทลและสมาร์ทบิวดิ้ง หลังประสบความสำเร็จกับการสร้างโรงงานอัจฉริยะและสมาร์ทเวิร์คเพรสให้กับลูกค้าในช่วงปีผ่านมา

นายพรชัย พงษ์เอนกกุล ผู้อำนวยการด้าน Digital Solution บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) เผยว่าปีหน้า ฟูจิตสึจะขยับไปสู่ Grobal premium Systems Integrator โดยจะพัฒนาขั้นตอนการดำเนินการ การออกแบบแพคเกจ รวมถึงรูปแบบและมาตรฐานการบริการให้เป็นระดับสากลมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากบางบริษัทมีนโยบายระดับโลกที่ต้องการมาตรฐานด้านเอกสารเหมือนกันทั่วโลก ซึ่งหลังจากที่เราติดตั้งระบบแล้ว เราจะมีโซลูชั่นดีไซน์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถสร้างรูปแบบเอกสารได้เอง ขณะที่ทุกการติดตั้งจะมีขั้นตอนให้ลูกค้าชัดเจน เสมือนหนึ่งที่เราเทรนนิ่งให้ลูกค้าไปในตัว

ทั้งนี้ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีมาตรฐานทางด้านเอกสารที่สูง ซึ่งบางบริษัทในประเทศไทยก็ยังมีความต้องการที่น้อยกว่านี้ ทำให้บางอย่างต้องตัดบริการบางส่วนลง ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ความต้องการในระดับโลคอลในอดีต

ทำให้ในอนาคตเราจะยกระดับขึ้นสู่มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเทียบชั้นกับบริษัทระดับโลกเท่านั้น แน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญที่ส่งเข้าไปทำงานจะมีเซอร์ติไฟร์ทุกคน เพื่อสร้างมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด

ปีที่ผ่านมา กลุ่มลูกค้าแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก 1.กลุ่มที่จ่ายด้านไอทีมากกว่า 200 ล้านบาท 2.กลุ่มที่จ่ายมากกว่า 100 ล้านบาท และกลุ่มสุดท้าย 3.กลุ่มที่มีการจ่ายระดับต่ำกว่า 100 ล้านบาทลงมา ซึ่งที่ผ่านมาฟูจิตสึมีการโฟกัสกลุ่มระดับล่างถึงกลางเป็นจำนวนมาก

ในปีนี้เราจะสร้างกลุ่มที่มีขนาดเล็กที่มีอยู่กว่า 1,000 ราย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 50% และอีก 2 กลุ่มรวมกันอีกราว 50% แน่นอนว่าเมื่อปรับเปลี่ยนเข้าสู่พรีเมี่ยมจะทำให้สัดส่วนลูกค้ากลุ่มเล็กมีจำนวนน้อยลง จึงจำเป็นต้องโฟกัสเพื่อลดผลกระทบให้น้อยที่สุด

เชื่อว่าในราวปี 2020 กลุ่มกลางถึงบนจะเติบโตขึ้นถึง 70% หลังจากอุตสาหกรรมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญกับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันสัดส่วนบูกค้าญี่ปุ่นและไม่ใข่ญี่ปุ่นมีสัดส่วน 50-50% แบ่งเป็นบริการโซลูชั่นแอปพลิเคชั่น ERP เป็นหลัก ขณะที่อีกบริการจะอยู่ในกลุ่มของอินฟาร์สตัคเจอร์เป็นหลัก โดยกลุ่มเมเนจอินฟาร์มีสัดส่วนอยู่ที่ราว 70-30% เมื่อเทียบกับบริการแอปพลิเคชั่น

ไฮไลต์โซลูชั่นของปีนี้ ฟูจิตสึ แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามความต้องการของธุรกิจแต่ละขนาด โดย 1.กลุ่มซีเคียริตี้เป็นบริการที่โฟกัสมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งบางโครงการมีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านเหรียญ โดยเป็นระบบมอนิเตอร์ซีเคียวริตี้แบบ 24×7 ที่จะทำงานร่วมกับองค์กรอย่างใกล้ชิดภายใต้โซลูชั่นการนำเสนอที่ครบวงจร

ซึ่งหากมองในส่วนของคลาวด์ เพื่อสร้างความมั่นใจ ทั้งในส่วนของพลับบริคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ เป็นการลดต้นทุนในแบบมัลติคลาวด์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้กับลูกค้า

2. Business Continuity ความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ จะมีการนำเสนอเพื่อเป็นหนึ่งในการสร้างกลยุทธ์ร่วมกับลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด แน่นอนว่าการสร้างความเชื่อมั่นยังต้องมีการพัฒนาเพื่อต่อยอดไปสู่ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการทางการตลาดต่อไปในอนาคต

3.Network Solution เป็นการขยับเข้าสู่การสร้างเครือข่าย เพื่อรองรับการทำงานระบบอัจฉริยะในอนาคต ซึ่งเราสามารถรองรับการดำเนินการบนพื้นฐานของการสร้างเครือข่ายเพื่อซับพอร์ททั้งโรงงานอัจฉริยะในรูปแบบต่างๆ หรือสมาร์ทเวิร์คเพรสต่างๆเป็นต้น

4.Infra Modernization เป็นการตอบสนองเพื่อใช้งานเครือข่ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งประโยชน์จะอยู่ที่การควบคุมการดำเนินงานของไอทีแอดมิน ให้สามารถควบคุมอุปกรณ์ไอทีในระบบผ่าน SDN ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าการสร้างเครือข่ายแบบไฮบริดไอที ก็มีการรองรับด้วยเช่นกัน

5 Data Management ซึ่งจะช่วยในการจัดการและสังเกตการได้อย่างสมบูรรณ์แบบจนถึงขั้นนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งความสามารถของการใช้งานที่ดีขึ้นนั้นจะต่อยอดไปสู่การจัดการข้อมูลที่มีระบบมากยิ่งขึ้น ขณะที่การทำงานและควบคุมจะมีการแจ้งเตือนที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น

6.คลาวด์ วิชวลไลเซชั่น ช่วยให้การดำเนินการแบบไฮบริดมีการทำงานที่ง่านขึ้น ขณะที่การทำงานบนเน็ตเวิร์คหลักจะจัดเข้าอยู่ในกลุ่มโซลูชั่นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ไอทีแอดมินทำงานง่ายยิ่งขึ้น ตอบสนองได้ทั้งในส่วนของการผสมผสานรูปแบบคลาวด์ ทั้งแบบไพรเวทและพับบริคเข้าไว้ด้วยกัน และรองรับการขยายตัวอย่างไม่มีข้อจำกัดในอนาคต

ทั้งนี้ในระดับองค์การขนาดเล็กก็จะมีโซลูชั่นที่มีความคล้ายคลึงกัย เพียงแต่จะย่อบางส่วนลงตามความเหมาะสมของการใช้งานในแต่ละองค์กรเท่านั้น

ที่ผ่านมา มีการนำเสนอที่นอกเหนือจากโซลูชั่นนั่นก็คือ บริการ ซึ่งเป็นบริการหลังการขาย ให้กับกลุ่มรีเทล โดยมีการพัฒนาจากเมื่อสิบกว่าที่ผ่านที่ทำในส่วนของบริการเซอร์วิสต์เด็กส์เพียงอย่างเดียว เพื่อรับปัญหาจากลูกค้าแทน แต่ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาในส่วนตรงนี้โดยมีการเข้าไปนั่งในบริษัทลูกค้าแล้วให้ลูกค้าเมเนจเอง จนท้ายที่สุดพนักงานเหล่านั้นก็กลืนเข้ากับลูกค้าแล้วลาออกจากเรา

การปรับรูปแบบใหม่ จะมีการนำเสนอเป็นโซลูชั่น ในรูปแบบดีลเดลิเจนส์ เพื่อศึกษาความต้องการของลูกค้าแบบแท้จริง ด้วยโซลูชั่นของฟูจิตสึเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มมีการทำทรานส์ซิชั่น เพื่อเฟ้นหาประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของค่าใช้จ่ายที่ถูกลง แล้วยังมีบริการสำรองแรงงานให้ลูกค้าในกรณีที่เกิดปัญหาคนไม่เพียงพอ

ขณะที่การเป็นพาร์ทเนอร์กับเวนเดอร์ต่างๆ เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันในส่วนของรีโลเคชั่นให้กับลูกค้า รวมไปถึงการมีดาต้าเซ็นเตอร์ในรูปแบบโคโลเคชั่น เพื่อดูแลให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนลูกค้าสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อว่าเรามีบริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า ยกเว้นอินเทอร์เน็ตลิงค์ที่เราไม่มีเท่านั้น

ในส่วนของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น มีการทำงานที่สำเร็จไปแล้วทั้งในส่วน สมาร์ทเวิร์คเพลส และสมาร์ทแพลนต์ ซึ่งเป็นการผสมผสานโซลูชั่นรวมกันจากระบบของฟูจิตสึที่มีอยู่ ทำให้การทำงานร่วมกันมีความสเถียรมากยิ่งขึ้น สามารถควบคุมการทำงานของคอนแทรคเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้สมาร์ทรีเทล เราเริ่มมีการทำงานที่มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะเริ่มเห็นระบบการขำระเงินที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ขณะที่สมาร์ทบิวดิ้ง จะเริ่มมีการทำงานที่อัจฉริยะมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมอาคารได้จากที่ไหนก็ได้ผ่านระบบเครือข่าย และเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ฟูจิตสึตั้งเป้าจะขยายเข้าสู่ตลาดให้มากขึ้น

Related Posts