ปัญหาระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน ปัญหากรรมสิทธิ์ และความขัดแย้งระหว่างราษฎรกั บภาครัฐ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในพืนที่ สูงของภาคเหนือ นอกเหนือไปประเด็นเรื่องการศึ กษา รายได้ การมีงานทำ การเข้าถึงสาธารณสุขที่ดีมีคุ ณภาพ
ซึ่งทั้งหมดกลายเป็ นความความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เท่าเทียมและทั่วถึง จนขาดความสมดุลอย่างหลีกเลี่ ยงไม่ได้
การดำเนินการวิเคราะห์เพื่อแก้ ปัญหาในเรื่องดังกล่าวนี้จำเป็ นต้องทำการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยการขับเคลื่อนตามแนวปรั ชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวนโยบายของรัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความมั่นคงของมนุษย์
และรักษาความยั่งยืนของฐานทรัพยากร ที่จะทำให้คนไทยทุกคนมีความเท่ าเทียม เสมอภาค โดยการที่จะขับเคลื่อนพั ฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกั บความยากจน ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ไม่ยากเกิ นกว่าจะไปถึงเป้าหมายที่รั ฐบาลได้วางแนวนโยบายไว้ ภายในอีก 20 ปี ข้างหน้า
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจิสด้าได้ดำเนินการวิเคราะห์ และร่วมขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ สูงภาคเหนือ โดยได้นำเทคโนโลยีภูมิ สารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ในการลงสำรวจและจัดทำพื้นที่ รายแปลง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ
ประกอบด้วย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือ GIST North, มูลนิธิรักษ์ไทย, กรมอุทยานฯ, กรมป่าไม้, สภาคริสต์จักร, กลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์และโรงเรี ยนบนพื้นที่สูง และอำเภอแม่แจ่ม
โดยมีเป้าหมายสำคัญร่วมกันในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เช่น ป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่า การสำรวจ จัดทำฐานข้อมูลที่ดินทำกิ นของประชาชน จัดทำแผนบริหารจัดการที่ดินป่ าไม้ระดับพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่ นคงในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศั ย รวมไปถึงมีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม กล่าวว่า ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การพัฒนาในยุคดิจิตอลที่มีแหล่ งข้อมูลขนาดยักษ์ (Big Data) หลั่งไหลมาไม่ขาดสาย พลังแห่งอินเตอร์เน็ต (Internet of thing) มีอิทธิพลต่อคนทุกเพศทุกวัย และเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่ อนการพัฒนาในยุค ไทยแลนด์ 4.0
คนในชุมชนเริ่มมีการปรับตัว และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มยอมรับการส่งเสริมสนับสนุ นจากภาคส่วนต่างๆ ที่นอกเหนือจากภาครัฐมากขึ้น นำไปสู่การปฏิรูปคนในชุมชนให้ทั นกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ
“การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนนั้น เกิดจากการดำเนินงานที่มอง “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหา ตามหลักทรงงานของพระบาทสมเด็ จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 รวมไปถึงเป็นการแก้ไขปัญหาด้ านการศึกษา ความยากจน
และการเข้าถึงการรักษาพยาบาล สาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคและเท่าเที ยมทางสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตความอยู่ดีกิ นดีให้แก่ชุมชนท้องถิ่น
บนพื้นฐานของกระบวนการพัฒนาอย่ างยั่งยืนที่เหมาะสมกับ “ภูมิสังคม ภูมินิเวศน์ ภูมิวัฒนธรรม”ของชุมชนคนแม่ศึก รวมไปถึงประชาชนคนแม่แจ่ม และพื้นที่สูงภาคเหนือทุกคน”
สำหรับพื้นที่ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างชุมชน ที่ไม่หยุดการพัฒนา ไม่รั้งรอ ร้องขอ หรือรอคอย พลังชุมชนจากทุกภาคส่วน
และเป็นมิติใหม่ของการบู รณาการอย่างแท้จริงจากผู้บริ หารท้องที่ และท้องถิ่น โดยการนำของนายสันติชาติ ยิ่งสินสุวัฒน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ศึ ก ร่วมผนึกกำลังวางเป้าหมายกับชุ มชน และภาคีร่วมหลายฝ่าย
โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความมั่ นคงในที่ดินทำกินและทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ในระดับพื้นที่ โดยมุ่งหวังการใช้ประโยชน์ที่ดิ นในเขตพื้นที่ป่าของรัฐ ประชาชนมีการใช้ที่ดินอย่างสมดุ ลและยั่งยืน “คนอยู่ร่วมกับป่า อนุรักษ์ ฟื้นฟู ตามกรอบกติกาที่เป็นธรรม” นายอำเภอแม่แจ่ม กล่าว
ในส่วนการทำงานขับเคลื่อนระดับพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นั้น นางมิ่งขวัญ กันธา รักษาการหัวหน้าฝ่ายภูมิสังคม สำนักประยุกต์และบริหารภูมิ สารสนเทศ กล่าวถึงกุญแจแห่งความสำเร็จต่ อการนำเทคโนโลยีภูมิ สารสนเทศมาบูรณาการกลไกการมีส่ วนร่วม
เป็นเครื่องเชื่อมโยงระหว่างชุ มชนกับรัฐ สำหรับการวางแผน บริหารจัดการ ประเมินผลและติดตามเชิงพื้นที่ ในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการที่ดินทำกิ นของประชาชนในเขตพื้นที่ของรัฐ
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ การจัดการภัยพิบัติ การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิ ตเศรษฐกิจฐานของชุมชน
ทั้งนี้ การสร้างจิตสำนึกและฟื้นฟูป่าต้นน้ำจะเกิดผลไม่ได้ ถ้าไม่มีการส่งเสริมแบบมีส่วนร่ วมจากทุกภาคส่วน สำหรับพื้นที่ ต.แม่ศึก และประชาชนคนแม่ศึก ที่จะก้าวไปสู่ความมั่นคงในมิติ ด้านต่าง ๆ ไม่ได้ง่าย
แต่จากระยะเวลาตั้งแต่เดื อนมกราคม จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดเจนถึงความเปลี่ ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นรู ปธรรมตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกั น โดยเฉพาะระบบคิดของพี่น้ องประชาชนคนแม่ศึก จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างสมดุล และยั่งยืน
สร้างเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่ วมมือในรูปแบบการจัดการร่ วมตามแนวทางการจัดการร่วมหลายฝ่ าย หรือที่เรียกว่า “ประชารัฐ”