‘KADE’ เอไอจากเคแบงค์ ที่พร้อมจะอนุมัตสินเชื่อให้โดยไม่ต้องถามมนุษย์

‘KADE’ เอไอจากเคแบงค์ ที่พร้อมจะอนุมัตสินเชื่อให้โดยไม่ต้องถามมนุษย์

การลงทุนระบบไอทีหลังบ้านของธนาคารกสิกรไทยไปเมื่อหลายปีก่อน อาจจะไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นสักเท่าไรนัก เพราะนับเป็นการรองรับการเติบโตของธุรกิจสถาบันการเงิน แต่การปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลของแบรนด์นี้ เรียกได้ว่ามีการพัฒนาแบบก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนหลายบริการกลายเป็นผู้นำที่คนอื่นต้องทำตาม และล่าสุดก็สร้างความตื่นเต้นอีกครั้งเมื่อจะนำเอไอ ‘KADE’ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการอนุมัติสินเชื่อ โดยไม่ต้องผ่านพนักงานธนาคาร

KADE หรือ K PLUS AI-Driven Experience เป็นการพัฒนาต่อยอดให้ K PLUS กลายเป็น Intelligence Platform ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI เปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการในปัจจุบันไปสู่ประสบการณ์ใหม่ และจะต่อยอดไปจนถึงสามารถนำเสนอบริการใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าเคพลัสที่มีอยู่ประมาณ 8 ล้านคน ได้ตามความต้องการแบบเฉพาะบุคคล

นายสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า ปัจจุบันมีการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทยมากกว่า 80% ของธุรกรรมทั้งหมด แต่ก็ยังมีลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ยังไม่เข้าถึงบริการของธนาคาร ดังนั้นธนาคารกสิกรไทยจึงต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการเข้าถึงให้กับลูกค้าเหล่านั้น

โดยใช้ KADE ซึ่งเป็นนวัตกรรมปัญหาประดิษฐ์มาสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้ลูกค้ารู้สึกเสมือนมีคู่หูอัจฉริยะคอยช่วยคิดและนำเสนอสิ่งดีๆ ถือเป็นอีกหนึ่งในการเพิ่มจำนวนลูกค้า

โดยจะสามารถเรียนรู้ไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ตลอดจนความต้องการทางการเงินทั้งในด้านธุรกิจและชีวิตส่วนตัว ช่วยเติมเต็มชีวิตทางการเงินของลูกค้า เช่น เตือนให้ลูกค้าไม่ลืมที่จะทำธุรกรรมที่จำเป็น ช่วยนำเสนอสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย

นอกจากนี้ยังสามารถแนะนำการใช้จ่ายและการลงทุนที่จะเพิ่มศักยภาพทางการเงินและโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้าในอนาคตได้อีกด้วย เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์

“KADE จะทำการประมวลผลเพื่อหาลูกค้าที่มีศักยภาพทางธุรกิจ ประเมินว่าสิ่งไหนจะนำเสนอให้กับลูกค้า สิ่งที่เป็นประโยชน์ แล้วนำเสนอสินเชื่อให้กับลูกค้าโดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่านพนักงานของธนาคารเลย อนุมัติให้ได้ตั้งแต่ 50,000 – 300,000 บาท เป็นอัตโนมัติทุกกระบวนการ

ตั้งแต่นำเสนอสินเชื่อจนกระทั่งโอนเงิน ซึ่งต่อไปเราจะพัฒนาลงไปถึงสินเชื่อในระดับ 5,000 บาท ให้กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้ด่วน และมีศักยภาพในการคืนเงิน โดยพร้อมจะใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบในปลายปีนี้ ”

นายสมคิด กล่าวว่า ที่ผ่านมาเคแบงค์ได้ทดลองนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการเฟ้นหาลูกค้าที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสินเชื่อส่วนบุคคลขนาดเล็ก และนำเสนอบริการดังกล่าวโดยตรงสู่ลูกค้าผ่านทาง K PLUS ที่หากลูกค้าสนใจรับบริการจะได้รับการอนุมัติและรับเงินเข้าบัญชีทันทีในเวลาไม่เกิน 1 นาที

โดยได้เริ่มทดลองให้บริการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 และพบว่าการเสนอสินเชื่อในรูปแบบใหม่ด้วย Machine Intelligence นี้ทำให้มีลูกค้าตอบรับบริการในอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง 300% เมื่อเทียบกับวิธีการแบบเดิม

นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยเหลือและจำทำให้การประเมินเสินเชื่อทำได้แม่นยำมากขึ้น เพราะเป็นการประมวลผลจากข้อมูลเขาจริงๆ จากทรานแซกชัน อย่างเช่น ร้านไหนขายดี ร้านไหนมียอดซื้อขายเป็นที่น่าพอใจ จะเก็บข้อมูลไว้แล้วนำมาประมวลผล ซึ่งในปัจจุบันเราใช้คนเข้ามาตัดสินอาจจะทำให้มีการคัดเลือกไม่ละเอียดและกว้างพอ อาจจะทำให้คัดคนที่มีความเสี่ยงน้อยออกไป

เป็นการให้โอกาสคนตัวเล็กๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินอีกด้วย โดยเคแบงค์ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 5 ปีนี้จะเพิ่มยอดลูกค้าเคพลัสได้ประมาณ 20 ล้านรายที่เข้ามาใช้บริการ

ทั้งนี้ที่ผ่านมาเคแบงค์ได้นำนวัตกรรมทางการเงินที่ผ่านมาของ KBTG ได้มีการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้บ้างแล้ว อาทิเช่น K PLUS Beacon ที่นำแนวคิด Design Intelligence มาออกแบบการใช้งานธนาคารบนโทรศัพท์มือถือในรูปแบบใหม่ที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมอง เพื่อให้ผู้บกพร่องทางการเห็นสามารถใช้บริการของธนาคารได้อย่างสะดวกและทัดเทียม

โครงการพรวนฝัน ที่ใช้ Service Intelligence มาทดลองนำเสนอสินค้าเกษตรแบบตรงใจให้กับผู้ซื้อ อันเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าและรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกร โดยสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ใน K PLUS วิธีการดังกล่าวนี้จะสามารถเพิ่มรายได้ ให้กับผู้ค้ารายเล็กๆ ให้มีโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ โดยมีต้นทุนการตลาดที่ต่ำมาก

Related Posts