รีวิว : ไซแพด (Sipad) เครื่องป้องกันไฟฟ้ากระชากขนาดพกพา

รีวิว : ไซแพด (Sipad) เครื่องป้องกันไฟฟ้ากระชากขนาดพกพา

ฤดูฝนฟ้าคะนองแบบนี้ การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าก็มีความเสี่ยง โอกาสเกิดไฟกระชากทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สุดรักของเราเสียหายได้ วันนี้ TheReporter Asia ได้มีโอกาส ทดสอบ Sipad เครื่องป้องกันไฟกระชาก(กระโชก) ที่ย่อส่วนจากเครื่องใหญ่ๆ เทคโนโลยีขั้นสูง ให้กลายเป็นวงจรขนาดเล็ก ที่สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้อย่างสะดวก สอดรับกับการใช้งาน Mobility ในยุคปัจจุบัน

โดยไซแพด Sipad รุ่นที่เรานำมาทดสอบนั้นเป็นรุ่น PTHA2K ซึ่งมีวางจำหน่ายภายใต้บริษัท สตาบิล ตัวเครื่องผลิตในประเทศไทย ซึ่งก่อนที่เราจะมารู้จักอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ากระชากอย่างไซแพดนั้น ถ้าผมพูดว่าเครื่องป้องกันไฟฟ้ากระชากอย่างรุนแรง

หลายท่านคงจะคุ้นๆว่าเป็นเครื่องขนาดใหญ่ที่อยู่ในตู้ไฟของบ้านเป็นแน่แท้ ซึ่งความเข้าใจคือเราต้องจ้างช่างมาติดตั้ง เนื่องจากไฟฟ้า 220 โวลต์ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆแน่ หากมีการผิดพลาดเกิดขึ้น

แต่แล้วทำไมผมถึงเรียกว่าอุปกรณ์พกพา เพราะ ไซแพด ได้ย่อส่วนเทคโนโลยีการป้องการไฟฟ้ากระชาก กระโชก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนขนาดกระแสไฟฟ้ากระทันหัน

และส่วนของการป้องกันไฟฟ้าเสิร์จ ซึ่งก็คือการเกิดไฟฟ้ากระชากจากการฟ้าผ่า โดยรองรับทั้งแบบการกระชากทั้งช่วงสั้นและช่วงยาว ในเครื่องขนาดเล็กสุดๆ ชนิดที่ว่าเมื่อเสียบใช้งานแล้วยังเหลือที่ว่างเต้าเสียบเมื่อใช้เต้าเดียวกันอีกด้วย

เทคโนโลยีของไซแพด นั้นต้องบอกว่าเหนือชั้นมากๆในเรื่องของการย่อส่วนให้เล็กจนสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ซึ่งในรุ่น PTHA2K ที่นำมาทดสอบนั้น สามารถป้องกัน ค่า Let through Voltage น้อยกว่า 275 Volt

และสามารถรับ TOVs surge current 8A ± 25% เป็นเวลานานไม่น้อยกว่า 100 mSec ซึ่งหากนานกว่านี้ ระบบจะตัดการทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไอทีเสียหายได้

Sipad

ซึ่งหลักการทำงานไซแพดนั้นก็คือ การกรองสัญญาณไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ และจะทำการเปลี่ยนเส้นทางไฟฟ้าเมื่อเกิดเหตุการไฟฟ้ากระชากไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ และเมื่อมากเกินไป เครื่องไซแพดจะกระจายไฟฟ้าส่วนที่เกินเข้าสู่ระบบกราวด์ของตู้เมนไฟฟ้า และจะเป็นอุปกรณ์ที่เสียหายแทนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่คุณรักนั่นเอง

ลักษณะตัวเครื่องไซแพด

ตัวเครื่องไซแพดมีขนาดเล็ก สามารถพกพาไปได้ทุกที่ ไม่ต่างจากปลั๊กหัวต่อสักเท่าไหร่ สามารถเชื่อมต่อด้วยปลั๊กไฟฟ้าแบบ 3 ขา ทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายสถานที่ และยังมีสัญลักษณ์แสดงสถานะการทำงานอย่างชัดเจน ซึ่งหากระบบเสียหายจะขึ้นสีแดง และหากยังใช้ได้ปกติจะเป็นสีเหลืองในตัวเครื่องให้เห็นเด่นชัด

วัสดุที่เลือกใช้ทำ ไซแพด PTHA2K นั้นเป็นชนิดไม่ลุกลามไฟ ช่วยทำให้เรามั่นใจว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ระบบจะไม่เป็นเชื้อประทุไฟฟ้าเสียเอง หากว่าตัวมันติดไฟฟ้านั่นเอง

การใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่แกะกล่องแล้วเสียบเข้ากับเต้ารับ ในวงสายไฟฟาเดียวกับอุปกรณ์ที่เราต้องการป้องกันเป็นพิเศษ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รับการปกป้องคุมครองจากอาการไฟฟ้ากระชาก ในช่วงฤดูฝนเช่นนี้ได้อย่างมั่นใจ

แน่นอนว่าหากต้องการความมั่นใจ 100% ว่าอุปกรณ์นี้จะสามารถช่วยให้อุปกรณ์ของท่านไม่เสียอีกต่อจากอาการไฟฟ้ากระชาก ก็ต้องบอกว่าคิดผิดนะครับเพราะคงไม่มีใครสามารถการันตรีถึงความแน่นอนในการใช้งานได้ เนื่องจากยังมีอีกหลายปัจจัยในการคำนวนความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นนั่นเอง

Sipad

ในแง่ของรัศมีการใช้งาน สามารถใช้ควบคุมการเสิร์จของอุปกรณ์ในรัศมี 5 เมตร และจะลดทอนประสิทธิภาพลงเรื่อยๆหากระยะการใช้งานห่างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ผลิตแนะนำว่าให้เสียบใกล้อุปกรณ์ที่ต้องการป้องกันให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ตัวผู้ใช้งานเองก็ไม่ต้องมีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้าแต่อย่างใด สามารถใช้งานได้ง่ายๆเพียงเสียบอุปกรณ์เข้าที่เต้าเสียบไฟฟ้าปกติเท่านั้น นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่จะช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์โดนทำร้ายจากไฟฟ้ากระชาก หรือจากเหตุการฟ้าฝ่าในช่วงหน้าฝนนั่นเองครับ

และต้องยอมรับว่า อุปกรณ์ ไซแพด PTHA2K รุ่นนี้ที่วางจำหน่ายในราคา 2900 บาทนั้น นอกจากมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในวงการไฟฟ้าแล้ว ในรุ่นก่อนหน้า ยังได้รับการบรรจุในรายการสินค้านวัตกรรมไทย ของกระทรวงการคลังอีกด้วย

Sipad

คุณสมบัติ

  • มี STOV Technology ที่ป้องกันได้ทั้งไฟกระโชกช่วงสั้น (Transient) และไฟกระโชกช่วงยาว (TOVs) ในเครื่องเดียว
  • อุปกรณ์รับไฟกระโชก เป็นชนิด MOV และ GDT ยี่ห้อ TDK-EPCOS (ชื่อเดิม คือ SIEMENS) มีคุณภาพสูงได้มาตรฐาน UL1449
  • ใช้กับไฟฟ้า 230 Volt 50 Hz และกินไฟน้อยกว่า 0.1 Watt
  • ตัวอุปกรณ์เป็นพลาสติกชนิดไม่ลามไฟ มาตรฐาน UL94V-0
  • เสียบกับเต้ารับไฟฟ้าแบบ 3 ขา
  • ทดสอบตามรูปคลื่นมาตรฐาน IEC / IEEE / มอก. / วสท.

Sipad

ข้อสังเกต

ขาเสียบอุปกรณ์นั้น ต้องยอมรับว่ามีมา 3 ด้านที่คล้ายกันมาก การจะเสียบแต่ละครั้ง ผู้ใช้อาจจะต้องเลือกการเสียบให้ตรงกราวด์ โดยสามารถสังเกตสัญลักษณ์เครื่องหมายกราวด์ที่ตัวเครื่องตรงบริเวณขา เพียงเท่านั้น อาการเสียบผิดฝั่งก็จะหายไป

Related Posts