SEAC ปลุกผู้นำคิดสื่อสารให้ตรงจุด พร้อมรับ Disruption

SEAC ปลุกผู้นำคิดสื่อสารให้ตรงจุด พร้อมรับ Disruption

ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง หรือ SEAC เปิดมุมมองผู้นำด้วย “ภาษาใหม่” เพื่อการสื่อสารที่จะฉุดองค์กรให้อยู่รอดและรักษาภาวะผู้นำต่อไปในยุค Digital Disruption ที่กำลังถาโถมอย่างหนัก ภายใต้งานสัมมนาระดับโลก “The New Language of Leadership”

พร้อมดึงกูรูนักสร้างแบรนด์ระดับโลก เผยตัวอย่างการใช้เครื่องมือสำคัญเพื่อต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงจนประสบความสำเร็จขององค์กรชั้นนำ

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง กล่าวว่า “SEAC เน้นย้ำและเดินหน้าสร้างแรงกระเพื่อมให้กับประเทศไทยให้ตระหนักถึง ความรุนแรงและผลกระทบของโลกในยุค Disruption เราต้องการ “ปลุก” ให้ “ผู้นำ” ลุกขึ้นมา “เปลี่ยน” เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้อยู่รอดและสามารถต่อกรกับความเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน

และแสวงหาแนวทาง ให้สามารถรั้งตำแหน่งผู้นำเอาไว้ได้อย่างมั่นคง พร้อมกระตุ้นให้เกิดการสร้าง “ภาวะผู้นำ” ให้สามารถนำองค์กร สู่การ Transformation ที่สมบูรณ์ เพราะทุกวันนี้ ลำพังแต่จะพึ่งพิง หลักการ วิธีการ กลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์การขาย อาจจะไม่ได้นำมาซึ่งความสำเร็จอย่างยั่งยืน

หากแต่การจะเป็น “ผู้นำ” ที่ดีต้องตระหนักรู้อยู่เสมอว่า โลกเปลี่ยนทุกวินาที องค์กรจะต้องไม่ย่ำอยู่กับที่ ต้องหาวิธี หรือแนวทางใหม่ๆ”

ด้านนายไมเคิล เวนทูร่า ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท ซับ โรซ่า กล่าวว่า ภาษาใหม่ (New Language of Leadership) คือ การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกคนอื่น หรือ Empathy มุ่งเน้นที่การมองโลกผ่านเลนส์ของคนอื่น เพื่อให้เข้าใจในหลายมุมมองมากขึ้น

ขณะที่ความแตกต่างของบุคคล สภาพแวดล้อม ตลอดจนรูปแบบธุรกิจ และโอกาสของการเข้าถึง ทำให้ผู้นำต้องเลือกใช้รูปแบบเฉพาะตัวในการสร้างสรรคืและส่งเสริมบุคคลกรมากยิ่งขึ้น ซึ่งภาษาใหม่นี้จะช่วยให้ผู้นำเข้าใจการประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ถูกช่วง ถูกเวลา และถูกคนมากที่สุด

โดย 7 คุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล นั่นก็คือ 1.SAGE (นักปราชญ์) คือ ผู้นำที่อยู่ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ณ วินาทีนั้น เพื่อทำความเข้าใจทุกอย่างอย่างลึกซึ้ง 2.INQUIRER (นักสืบ / นักสืบสวน) คือ ผู้นำที่มีลักษณะตั้งคำถามได้เก่ง เพื่อให้ได้ซึ่งคำตอบที่ตรงจุดที่สุด

3.CONVENER (ผู้ดูแลทุกข์สุข) คือ ผู้นำที่ที่คอยดูแลถามไถ่เข้าใจและดูแลทุกข์สุขของพนักงาน 4.CONFIDANT (เพื่อนคู่คิด) คือ ผู้นำที่มีลักษณะเป็นผู้ฟังที่พร้อมรับฟังอย่างแท้จริง

5.SEEKER (ผู้กล้า) คือ ผู้นำที่พร้อมเผชิญหน้ากับความเสี่ยงและความท้าทาย 6.CULTIVATOR (ผู้เชื่อมโยง) คือ ผู้นำที่มีความสามารถในการมององค์กรในภาพใหญ่ เพื่อผลักดันให้เติบโต สามารถนำคนให้ไปสู่ปลายทางที่ถูกต้อง

7.ALCHEMIST (นักเล่นแร่แปรธาตุ) คือ ผู้นำที่เป็นนักทดลอง เพื่อหาสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้จากการสร้างสรรค์และความผิดพลาด

SEAC
นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง

นอกจากนี้ ไมเคิล ยังกล่าวถึงทฤษฎีร์ “การเอาใจเขา มาใส่ใจเรา” Empathy Approach โดยเชื่อมโยงความต้องการ และมุมมองของทั้ง 3 ส่วนที่สำคัญ เพื่อหาจุดกึ่งกลางที่เหมาะสม และสร้างเป็นโอกาสในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างยั่งยืน

โดยแบ่งเป็น 1.Company ซึ่งเป็นการตั้งคำถามเพื่อให้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยม ปรัชญาการทำงาน วัฒนธรรมขององค์กร รวมถึงพนักงานทุกระดับ

2.Consumer โดยองค์กรต้องเข้าใจว่า ผู้บริโภคไม่ได้มีแค่คนเดียว หากแต่มีหลายคนและมีหลายบุคลิก และ 3.Context ซึ่งต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ของโลก เทรนด์ รวมถึงคู่แข่งทางตรงและทางอ้อม

และเมื่อสามารถวิเคราะห์ทั้ง 3 ส่วนได้อย่างลึกซึ้ง จะทำให้เกิดมุมมองและวิธีการใหม่ๆต่อสถานการณ์นั้น ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาและขยายขีดความสามารถขององค์กร บุคคลากร ตลอดจนตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

นางอริญญากล่าวเสริมว่า “ไมเคิล เวนทูร่า ถือเป็น The Master of the New Language of Leadership หรือ“ตัวจริง” ของ “ภาษาใหม่” เป็น CEO เจ้าของบริษัทที่ได้รับรางวัลด้านกลยุทธ์และงานออกแบบ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จและฉีกกรอบธุรกิจให้กับองค์ชั้นนำระดับโลก

โดยเน้นใช้ “ประสบการณ์” เพื่อปลดล็อคความคิดของผู้นำหรือองค์กรที่ยึดติดกับ “วิชาการ” หรือ “หลักทฤษฎี” โดย “ภาษาใหม่” ประกอบด้วยทักษะ 2 ส่วนที่สำคัญ คือ

“Ability to understand” ผู้นำต้องมีทักษะที่จะทำ “ความเข้าใจ” แบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น อย่างถ่องแท้ หรือ Empathy เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งกว่า ซึ่งไมเคิลจะเน้นย้ำในเรื่องของการเข้าใจ ที่เข้าถึงความหมายในทุกบริบทที่อยู่รอบด้านขององค์กร

SEAC
New Language of Leadership

ทั้งลูกค้า (Consumer) คู่แข่งทางธุรกิจ (Colleague) การบริหารงานภายในองค์กร (Yourself) และบุคลากรหรือทีมงานทุกระดับ (People) ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารอย่างแท้จริง รู้จักและลงมือปฏิบัติในการมองโลกผ่านเลนส์ของคนอื่น

เพื่อทำให้เราเข้าใจคนอื่น เข้าใจสถานการณ์และเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีขึ้น แก้ปัญหาได้ดีขึ้น และทำให้ปัญหาที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทีมงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเกิดความคล่องตัว และอิสระในการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้เร็วขึ้น สู่เป้าหมายที่องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง

“Ability to speak” หรือความสามารถที่พูดออกไปได้อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่าคือความสามารถ ในการนำข้อมูลที่ได้จากการทำความเข้าใจสื่อออกไป หรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างตอบโจทย์

โดยเมื่อเรามีทักษะ เรื่อง “ภาษาใหม่” ก็จะทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ในมุมใหม่ๆ นำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ๆ คำตอบใหม่ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหนทางสู่ความสำเร็จในโลกยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทั้งสิ้น

และที่สำคัญไปกว่านั้นทักษะนี้เป็นเรื่องที่ผู้นำสามารถเรียนรู้กันได้ ฝึกฝนได้ เพียงแต่ต้องเปิดใจ พร้อมที่จะเรียนรู้เพื่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

แม้จะมีคำจำกัดความมากมายที่หลายคนพยายามสร้างคำนิยามให้กับโลกในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุค ที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอน แต่ความแน่นอนที่สุดที่จะหยุดความรุนแรงของโลก ยุค Disruption นี้ คือการที่ “ผู้นำ” ไทย ได้ถูก “ปลุก” ให้ “ตื่น” (ตัว) เพื่อเรียนรู้ “ภาษาใหม่” และร่วมกันขับเคลื่อนให้ประเทศไปไกลกว่าที่เคย

Related Posts