ซิสโก้ เผยเทรนด์ของโลกอนาคตที่จะส่งผลกระทบต่อผู้คน

ซิสโก้ เผยเทรนด์ของโลกอนาคตที่จะส่งผลกระทบต่อผู้คน

ซิสโก้ เผย 6 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในโลก ระบุชัดผลกระทบเกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเกิดขึ้นแน่นอน พร้อมเผยตำแหน่งงานที่จะได้รับผลกระทบชัดเจน แนะปรับตัวเพิ่มทักษะการทำงานเพื่อคงสภาพการมีงานทำต่อไป ชูปัจจัยและแนวคิดการปรับตัวขององค์กรที่จะประสบความสำเร็จ เพื่อเตรียมพร้อมปรับตัวสู่โลกอนาคตได้อย่างยั่งยืน

นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน เปิดเผยว่า จากการศึกษาร่วมกันกับสถาบันวิจัยต่างประเทศในปี 2017 พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอันดับแรก คือ 1.มีเดีย 2.เทคโนโลยี 3.ธุรกิจค้าปลีก 4.การเงิน และ5.เทเลคอม ซึ่งสังเกตได้จากการที่ช่วงนี้เป็นปีที่มีการสนับสนุนด้านไอทีจากผู้บริหารระดับสูงระดับซีอีโอมากขึ้น ซึ่งนับว่ามีการตื่นตัวของอุตสหกรรมเป็นอย่างมาก

โดยเราคาดการณ์ว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า 75% ของธุรกิจจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการ Digital Transformation และ 30% ของ 75% จะสามารถใช้ได้อย่างเข้าใจและเกิดประโยชน์ โดยอีก 78% ยังไม่สามารถปรับใช้ได้อย่างเพียงพอเพื่อการปรับตัวสู่ดิจิทัล

ทั้งนี้มี 3 ปัจจัยที่จะทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงแบบผู้นำ 1 Hyper-Aware ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้รู้ ทราบและเข้าใจในทุกสิ่งอย่าง ทุกการเคลื่อนไหวของข้อมูล 2 Predictiveเพื่อวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพยากรณ์ 3 Agile การปรับตัวจากข้อมูลที่ได้รับและวิเคราะห์แนวทางแล้วอย่างรวดเร็ว

การปรับตัวของอุตสาหกรรมในหลากหลายมิติ จะมีความแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป โดย 3 อันดับแรก เป็นเรื่องของอุตสาหกรรม 6.4 พันล้านเหรียญ อุตสาหกรรมการเงิน 3.1 พันล้านเหรียญ และการค้าปลีก 2.8 พันล้านเหรียญ

วันนี้เรามีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ไลฟ์สไตล์ทางการเงินแบบดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งจะสังเกตได้จากการใช้งานทางการเงินของเราเองจากโมบายแบงค์กิ้งที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจากการสำรวจโดยเฉลี่ยมีการใช้งานราว 13 ครั้งต่อเดือนต่อ 1 บัญชี ทำให้เราเห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นใหม่ๆตามมา

โดยเทรนด์ FSI ที่กำลังจะเกิดขึ้น 1.ซึ่งธนาคารในอนาคตจะกลายเป็น Bionic Bank โดยการนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาสนับสนุน การบริการมากยิ่งขึ้น 2.ธนาคารจะเริ่มกลืนเข้ากับองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้าวรูปแบบบริการใหม่ๆที่เข้าถึงผู้ใช้งาน ซึ่งจะทำให้ธนาคารยังคงมีตัวตน แต่เราจะเริ่มเข้าถึงสถานที่ได้น้อยลง นอกจากนี้ยังต้องมีการผสานการทำธุรกรรมรูปแบบต่างๆในการรับลูกต่อจากการซื้อขายมากยิ่งขึ้น

และ 3. ธนาคารจะเริ่มเข้าสู่การเป็น Open API มากยิ่งขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนการทำธุรกรรมให้กับบริการอื่นๆได้สะดวก และท้ายที่สุดธนาคารจะกลายเป็นสิ่งที่คนรู้แต่มองไม่เห็นมากขึ้นนั่นเอง

อีกทั้งธนาคารจะเริ่มมีบริการที่หลากหลายมากกว่าบริการทางการเงินเพียงอย่างเดียว โดยจะมีการนำระบบเวอร์ชวล เข้ามาช่วยแนะนำบริการให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น มีการนำไซบอกซ์เข้ามาแนะนำบริการในอนาคต แต่ขณะที่ปัจจุบันยังเป็นเพียงแค่การรีโมทเซอร์วิสต์ หรือการแนะนำบริการโดยใช้วิดีโอคอนเฟอร์เรนนั่นเอง

ในระบบของการประกันสุขภาพ เริ่มมีการใช้งานเครื่องสมาร์ทวอท์ช ในการเก็บพฤติกรรมลูกค้า เพื่อประเมินค่าความเสี่ยง และคิดอัตราเบี้ยประกันที่มีความเป็นบุคคลมากขึ้น ขณะที่เอทีเอ็ม จะเริ่มมีการใช้านร่วมกับสมาร์ทดีไวซ์ เพื่อเข้าถึงบริการทางการเงินมากยิ่งขึ้น

ในอีก 5 ปีข้างหน้า ภาคของธนาคารจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่่แนวทางของเทคโนโ,ยีที่สำคัญ โดยอันดับแรกเป็นเรื่องของบล็อกเชน ที่จะมีการเติบโตกว่า 110% และในด้านของ Ai จะมีการเติบโตกว่า 108% และเทรนด์ของ Robotics จะมีการเติบโตกว่า 84%

เทรนด์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ขณะที่ในกลุ่มของอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตเป็นอย่างมาก โดยภาคการผลิตนี้ มีความน่าสนใจตรงที่ 52% นั้นจะมีการกันงบประมาณกว่า 52% ไว้สำหรับเรื่องไอทีโดยเฉพาะ ซึ่งสอดคล้องกับการที่เทคโนโลยีเริ่มมีส่วนในการผลิตมากยิ่งขึ้น โดยในเรื่องของ Operation Technology (OT) มากขึ้น

ซึ่งจะรวมไปถึงการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ การเตรียมคน การวิเคราะห์ ความปลอดภัย ตลอดจนการผลิต ซึ่งจะต้องร่วมมือกันระหว่าง OT และ IT มากยิ่งขึ้น

ในภาคอุตสาหกรรมนั้นจะมีความพยายามในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีความละเอียดในการเข้าใจเครื่องจักรที่มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนของการเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลือง จากการรู้จักรการสึกหรอ ด้วยเซ็นเซอร์ ในการเก็บข้อมูลที่แท้จริง จากเดิมที่เราใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวัดและวิเคราะห์ เราก็ใช้เซ็นเซอร์ในการจับความผิดปกติ (IoT) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน จากการเก็บข่้อมูลของพนักงานอัตราจ้าง โดยมีการเรียนรู้และเก็บพฤติกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้ ขณะเดียวกันก็สามารถช่วยเหลือพนักงานในภาวะเสี่ยง หรือในไซต์งานที่มีความเสี่ยงสูง การตรวจวัดพนักงานแบบเรียลไทม์จะช่วยทำให้สามารถช่วยเหลือได้ทันที เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้พนักงานได้อย่างสมบูรณ์

และยังมีการใช้งาน ARโดยการใช้สมาร์ทกลาส เพื่อเรียนรู้การทำงานกับเครื่องจักรขั้นสูง ผู้สวมใส่สามารถสื่อสารและสอนงานรุ่นน้องได้อย่างทันที โดยจะเห็นเป็นภาพเสมือนทับอยู่บนภาพจริง เพื่อให้การปรับแก้ หรือการทำงานในเชิงเทคนิค มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เทรนด์ภาครัฐที่มีการนำเทคโนโลยีไปใช้

โดยแบ่งเป็นเรื่องของการพัฒนาเมือง การศึกษา ระบบการขนส่ง ระบบสาธารณสุข การจัดการแรงงาน และโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด โดยจะเป็นเชิงการพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความพร้อมในการที่เอกชนหรือต่างชาติ จะเข้ามาลงทุนต่อไปในอนาคต

6 สิ่งที่สำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล

1.ประสบการร์ลูกค้า โดยจะเป็นการเปลี่ยนวิธีการสร้างประสบการให้ลูกคา ยกตัวอย่างเช่นการเป็น Smart Retail ซึ่งจะมีการผสานระหว่างออฟไลน์และออนไลน์ร่วมกัน 2.Hyper Personalization โดยจะมีการผลิตที่แตกต่างกัน เหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะบุคคลมากขึ้น โดยโลกจะเปลี่ยนไปสู่ Segment of One จะช่วยสร้างความแตกต่างให้ลูกค้ามากขึ้น

3.Intelligent Assistants ในการเข้ามาช่วยให้เกิดการใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น โดยทั้งหมดจะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า 4.Remote Experts ซึ่งจะเป็นการนำเสนอความเชี่ยวชาญ ผ่านโลกของดิจิทัล บนแพลตฟอร์มที่ไม่จำกัดสถานที่อีกต่อไป

5.Instant Fullfillment โดยจะเป็นการผสานการจัดส่งที่รวดเร็วในการจัดส่ง รองรับการตลาดอีคอมเมิร์ชให้เกิดความสะดวกมากขึ้น 6.VR & AR จะถูกเข้ามาใช้ในส่วนของการเรียนการสอน หรือการอบรมมากขึ้น อีกทั้งในส่วนของภาคอุตสาหกรรมยังมีการนำไปใช้ เพื่อการเทรนนิ่งให้เกิดความละเอียดและเข้าใจมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการสื่อสารที่สะดวกในการซ่อมบำรุง

ซึ่งในประเทศไทย เราเริ่มกลายเป็นผู้นำในเรื่องของการนำเทคโนโยีเข้ามาใช้ ยกตัวอย่างเช่นในภาคการธนาคาร เรามีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากกว่าในบางประเทศของโลก

Workplace Transformation

เป็นส่วนของ การปรับองค์กร ให้เกิดการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับกับคนรุ่นใหม่ขององคืกรมากยิ่งขึ้น โดยรูปแบบของการทำงาน เทคโนโลยี อุปกรณ์ ความผูกพันธ์ขององค์กร จะต้องเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการทำงานแบบอนาคต ซึ่งจะไม่จำกัดสถานที่ทำงานอีกต่อไป

โดยแบ่งออกเดป็น 10 เทคโนโลยีที่สำคัญ แบ่งเป็น 1.Mobile & Digital First ซึ่งจะต้องรองรับการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.Cloud First รองรับการทำงานได้จากทุกที่ผ่านระบบคลาวด์ 3.Personal Assistantผู้ช่วยเสมือนในการจัดการบางอย่างในชีวิตประจำวันและการทำงานให้ง่ายขึ้น

4.Ai & Machine Learning ในการเข้ามาช่วยจัดการและบริการ 5.Robotics Process Automation & ApIs ในการเข้ามาช่วยทำงานที่มีขั้นตอนซ้ำๆ 6.Mobility Location Analytics ในการช่วยจับคู่กับสถานที่และควบคุมการขนส่ง 7.Augmented Experiences เพื่อช่วยในการอบรมและเรียนรู้

8. Smart Building การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อทำให้อาคารมีความฉลาดและอัตโนมัติมากขึ้น 9.IoT & Warables และ 10. People ซึ่งจะเป็นเรื่องของคนที่เกิดความเข้าใจและเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น

ในอีก 10 ปีข้างหน้า งานกว่า 28 ล้านตำแหน่งจะหายไป โดย 10.2% จะเป็นงานในประเทศไทยที่หายไป แต่กระนั้นจะมีอาชีพเกิดใหม่ที่เขามาทดแทนอาชีพที่หายไปตามมา ซึ่งในอาเซียนกลุ่มภาคการเกษตรจะได้รับผลกระทบมากที่สุด กว่า 9.9 ล้านตำแหน่ง แต่จะมีงานเกิดขึ้นใหม่เพียง 4.2 ล้านตำแหน่งเท่านั้น

ในขณะที่รูปแบบของพนักงานในระดับใช้แรงงานจะได้รับผลกระทบมากที่สุดกว่า 7.2 ล้านตำแหน่ง โดยจะมีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นเพียง 5.6 ล้านตำแหน่งเท่านั้น

ในส่วนของภาคการบริการ ยังต้องการคนเข้ามาทำงานเพิ่มากขึ้นกว่า 3.7 ล้านตำแหน่ง มากกว่าภาคอุตสาหกรรมที่จะมีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นกว่า 2.1 ล้านตำแหน่ง แต่กระนั้นแต่ละกลุ่มจะเริ่มมีความต้องการทักษะที่แตกต่างจากเดิม โดยจะต้องเรียนรู้ในรูปแบบ การคิดค้นมากยิ่งขึ้น

ซึ่งโดยค่าเฉลี่ยของทักษาะในการทำงานของเราจะต้องการมากขึ้น และในส่วนที่เปลี่ยนเยอะนั้นจะมีในส่วนของภาคการก่อสร้าง แต่กระนั้นหากมีการปรับทักษะที่ดีขึ้น ก็จะทำให้ได้งานที่มีมากขึ้นตามมา โดยทั้งหมดนี้จะกระทบกับทั้งอาเซียนและในเมืองไทย

ทั้งนี้ซิสโก้ เราจะเดินหน้าไปสู่การสร้างเวทีผู้นำทางด้านไอทีมากขึ้น โดยที่ผ่านมามีการร่วมกันกับ ปตท. ในการผลักดันองึ์กรผู้นำร่วมกัน นอกจากนี้ยังจะนำในเรื่องของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อให้เขาเหล่านั้นนำไปสร้างเคสให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น เป็นการตกผลึกเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ได้จริง ซึ่งเราจะแบ่งเงินลงทุนไปสู่ส่วนนี้เป็นอันดับต้นๆ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

ซิสโก้ ประเทศไทย

Related Posts