ไมโครซอฟท์เดินหน้าผลักดัน AI (Artificial Intelligence) ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมจับมือหน่วยงานรัฐและเอกชน พลิกให้เกิดการใช้งาน Ai อย่างจริงจัง เร่งเดินหน้าโครงการผ่านเวที Future Now: AI for Thais อวดโฉมความสามารถของเอไอ และการทำงานจริงในหลากหลายอุตสาหกรรมหลักของโลก ตั้งเป้าเป็น ” Ai Thailand Frist” ระดับโลกในเร็ววัน
ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า เรามีการจัดงาน Future Now: AI for Thais เมื่อวานที่ผ่านมา โดยนำองค์กรหลากหลายรูปแบบ มาแสดงให้เห็นความต้องการที่หลากหลายของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี
โดยผู้เข้าร่วมงาน เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นการรวมกลุ่มของผู้ที่สนใจจากหลากหลายมิติ ทำให้เราเห็นโอกาสของการเข้าถึงเทคโลโลยีในทุกโอกาส และทุกอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้กระทั่งเอทีเอ็มที่เราคุ้นชิน เช่นการเบิกเงินโดยไม่ใช้บัตรของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเราจะมองว่าเป็นการ Disruption ก็ได้ แต่ผมมองว่ามันเป็นโอกาส
เนื่องจากองค์กรต่างๆ ที่เราเห็นนั้น ถ้าเรามองว่าเขาไม่สร้างเทคโนโลยีเพื่อตัวเขาเอง วันนึงเขาจะถูกกลืนหายไป แต่เขาจะสร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร เราแนะนำว่าให้เริ่มต้นการสร้างจากความสามารถที่โดดเด่นของกิจการ เขาไม่ควรสร้างจากความปกติที่ใครก็สามารถทำได้
ความท้าทายของการสร้างความสามารถที่โดดเด่นเหล่านี้คือ ทักษะทางด้านดิจิทัล แน่นอนว่าการใช้ทักษะเหล่านั้นทำสิ่งที่เป็นปกติที่ใครก็ทำได้ จะทำให้องค์กรนั้นๆ เสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่เราแนะนำให้นำทักษะเหล่านั้นมาสร้างให้เกิดความพิเศษที่เโดดเด่น เป็นการเฉพาะตัวขององค์กรนั้นๆ ได้อย่างภาคภูมิใจ วันนี้เราจะต้องพุ่งเป้าไปที่การเฉพาะเจาะจงจริงๆ และสร้างมันขึ้นมาให้เร็ว
หากมองไปที่ลูกค้า โดย 1.เราต้องสร้างการเชื่อมโยง 2.การปรับตัว 3.การเสริมสร้างพลังให้พนักงาน และสุดท้าย 4.การปรับตัวของสินค้า ซึ่งทั้ง 4 เรื่องนี้ไม่ได้แยกออกจากกัน ยังคงมีความเชื่อมโยงของข้อมูล เพื่อยืนยันความถูกต้องของสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเราเรียกว่า Digital Feedback Loop และดาต้า เป็นหัวใจสำคัญที่สตาร์ทอัพไม่มี
ตัวอย่างที่สำคัญที่เราอยากยกตัวอย่างก็คือ ฝ่ายจัดซื้อของปูนซีเมนต์ ซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานของเทคโนโลยีเลย วันนี้เราเอาเอไอเข้าไปจับข้อมูลการสั่งซื้อวัตถุดิบ แล้ววิเคราะห์ออกมาว่า มีการสั่งซื้อที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และควรจะสั่งซื้ออย่างไรให้ต้นทุนต่ำสุด ทำให้องค์กรนี้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
ในส่วนของธนาคาร เมื่อไม่นานมานี้มีการใช้บัตรประชาชนของผู้หญิงท่านหนึ่่งไปเปิด 8 บัญชี ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่ไม่มีการเปรียบเทียบบัตรและหน้าตา วันนี้มีการทำ KYC ที่ใช้ระบบ Face Reconite เพื่อยืนยันใบหน้าได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการนำเอไอหรือแมชชีนเลิร์นนิ่งเข้ามาใช้
มีการนำแมชชีนเลิร์นนิ่ง มาใช้ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและแนะนำบริการที่เหมาะสม บล็อกเชนถูกนำมาใช้ในด้านความปลอดภัยของการยืนยันข้อมูลในการโอนเงิน หรือการยืนยันตัวบุคคล และเว็บอนาไลติกส์ มีการนำไปใช้วิเคราะห์เว็บไซต์ที่เมื่อลูกค้าเข้าไปใช้ มีการส้างรูปแบบการใช้ที่เหมาะสมเมื่อเกิดการเข้าใช้ซ้ำในอนาคต
ขณะที่ด้านแชทบอท วันนี้ไมโครซอฟท์ใช้รูปในการเรคอไนท์รูปได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่นกัน เมื่อเราเห็นนาฬิกาที่เราสนใจ เราสามารถนำรูปนั้นมาคุยกับแชทบอท เพื่อจะรู้และแนะนำได้ถูกว่า นาฬิกาที่เห็นในรูปนั้นมีขายที่ไหน มีราคาเป็นอย่างไร ฯลฯ นอกจากนั้นยังสามารถถามคำถามและตอบได้อย่างรวดเร็ว
ในช่วงที่ผ่านมา เรามีการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมน้ำมันและแก้ส ในพีทีที เคมิคอล โดยมีการทำ Road Safty ซึ่งมีการนำกล้องเข้าไปจับพฤติกรรมที่ผิดปกติของพนักงานขับรถ เพื่อลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำ ChatBot มาใช้ในส่วนของงานบุคคล ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการนำเสนอทางเลือกให้พนักงานแบบอัตโนมัติ
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อวันลาหยุดเหลือ แชทบอท จะนำเสนอพนักงานว่ายังมีวันลาเหลือนะ แนะนำให้ใช้ และมีการเชื่อมโยงข้อมูลการท่องเที่ยว พร้อมตั๋วเครื่องบินและโปรโมชั่นมานำเสนอ ตามความต้องการของพนักงานนั้นๆ แบบเฉพาะบุคคล
ต้องบอกก่อนว่า ไมโครซอฟท์ ไม่ได้ใช้เอไอ เข้ามาแทนที่มนุษย์ แต่เราเอาเอไอมาสร้างเสริมประสิทธิภาพของมนุษย์ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น วันนี้ผมมีโจทย์ให้พวกเราคิดว่า “เราต้องตั้งเป้าเป็นประเทศไทย Ai Thailand Frist ได้ไหม”
วิวัฒนาการของเอไอ ในปี 2016 เราสามารถแยกแยะภาพด้วยเอไอได้ในระดับ 96% ซึ่งเทียบเท่ามนุษย์ ในปี 2017 เราสามารถแยกแยะเสียงได้กว่า 5.1% ซึ่งมนุษย์ทำได้ 6% ในการแยกแยะเสียง ในปี 2018 เอไอสามารถแปลความหมายข้อมูลได้กว่า 69.9% เทียบเท่าความสามารถในการเก็บข้อมูลของมนุษย์ และในปี 2018 เราสามารถใช้เอไอในการแปลภาษาได้กว่า 88.5% จากการทดสอบการอ่านและตอบคำถาม ซึ่งมีความใกล้เคียงกับมนุษย์แล้วในปัจจุบัน
ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์อะชัวร์ ครอบคลุมอยู่ราว 54 ประเทศ มากกว่า 100 ดาต้าเซ็นเตอร์ มีเวิร์คโหลดที่ทำงานอยู่บนอะชัวร์ วีเอ็ม มากกว่า 50% มีข้อมูลกว่า 100 ล้านล้านการเชื่อมโยงต่อวัน
ผมเชื่อว่าความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยี ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่เพียงความพร้อมของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ “Mindset” ขององค์กร ซึ่งต้องมีทั้ง 1 Act with Speedความเร็วของการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้นทันที เพื่อให้แนวคิดเหล่าสร้างออกมาเป็นรูปธรรม 2 Digital Skill ความเข้าใจในเรื่องของดิจิทัล เพื่อให้เกิดการใช้งานจริง 3 Customer Happiness ประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า เมื่อไม่ถูกใจสามารถเปลี่ยนผ่านได้ทันที 4 Learning Culture การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ซึ่งรวมทั้งความเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น
คอมมิทของเราในวันนี้ AI for THAIs โดยเราร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน ในการสร้างระบบและส่งเสริมให้เกิดความรู้ด้านเอไอ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด 2 เราสนับสนุนให้สตาร์ทอัพของไทย สามารถนำแพลตฟอร์มด้านเอไอมาใช้ในการพัฒนาระบบของการพัฒนา 3 เราพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการใช้เอไอในการนำเชิงพาณิชย์ ให้เกิดขึ้นจริงจังในประเทศไทย
ด้านเพิ่มพงศ์ เอี้ยวบันดาลสุข ผู้ก่อตั้งบริษัทบลูโอเชี่ยน เทคโนโลยี จำกัด ผู้พัฒนา VRSIM ระบบฝึกสอนการควบคุมเครื่องจักรด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน สำหรับธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทย มีการปลูกอ้วยเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งมีการเก็บเกี่ยวทั้งปี เพียง 3 เดือนเท่านั้น ขณะที่การฝึกขับของการขับรถเกี่ยวอ้อย ใช้เวลาเทรนนิ่งหรือฝึกขับนานกว่า 3 ปี เนื่องจากมูลค่าของรถที่สูง การขับขี่ที่ผิดพลาดจะสร้างความเสียหายที่มากกว่าจะรับได้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานคนในการควบคุมเครื่องจักร
ทำให้เราบลูโอเชี่ยน ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านการสร้างระบบการจำลองขับขี่ เพื่อฝึกฝน ด้วยเทคโนโลยีเสมืองจริง หรือ VR ที่สามารถจำลองสถานะการณ์ได้อย่างสมจริงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการติดเซ็นเซอร์เข้าไปที่คอนโทรลเลอร์ทั้งหมด อีกทั้งการผสานบอร์ดที่สร้างขึ้นมาเฉพาะ ผ่านอุปกรณ์ที่สมจริง เสมือนหนึ่งมีการขับขี่ในไร่อ้อยจริง
ประโยชน์ที่เกิดขึ้น คือทำให้ผู้ปรกอบการสามารถลดระยะเวลาในการฝึก และลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความเสียหายของการฝึกแบบเดิมๆ ได้อย่างสมบูรณ์
นอกจากนี้ เรายังมีการเก็บข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์การฝึกซ้อม และแนะนำให้เกิดทักษะที่เพิ่มขึ้นได้อย่างดี ผู้ขับขี่สามารถฝึกการขับได้ตลอดเวลา นอกฤดูกาล แน่นอนว่าดาต้าทั้งหมดที่เกิดขึ้น จะสามารถสร้างแพทเทิลในการตัดที่ดีที่สุดให้เกิดขึ้นได้ จากเดิมที่เป็นเพียงการบอกต่อของรุ่นพี่สู่รุ่นน้องในการขับขี่ที่ดีที่สุด ผ่านกระบวนการของแมชชีนเลิร์นนิ่งจากข้อมูลที่เกิดขึ้น
ดร. พญ. พิจิกา วัชราภิชาต แพทย์หญิงและนักวิจัยด้านเทคโนโลยีชาวไทยจากศูนย์วิจัย Microsoft Research สาขา Cambridge กล่าวว่า แมชชีนเลิร์นนิ่ง มีความเก่งด้านภาพ โดยเมื่อเราส่งภาพให้เอไอดู นอกจากจะรู้จักภาพแล้ว ยังสามารถสังเกตจุดที่แตกต่างของภาพได้ อีกทั้งยังเก่งเรื่องเสียง มีการจับใจความและของเสียงได้อย่างแม่นยำ ขณะที่การอ่านตัวอักษรมีความเก่งกาจที่สามารถเข้าใจตัวอักษรจากหนังสือได้อย่างสมบูรณ์
ในเชิงการแพทย์นั้น มีการนำเอไอมาเข้าช่วยวิเคาะห์ความเป็นไปได้ในขั้นตอนการรักษา โดยเอไอช่วยดึงข้อมูลทั้งหมดจากการสแกน มาสร้างรูปแบบของจุดที่เกิดมะเร็งภายในเพียงแค่ไม่กี่วินาที จากเดิมที่แพทย์ต้องใช้เวลาในกระบวนการราว 1-2 ชั่วโมง โดยมีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นราว 95% จากขั้นตอนการรักษามะเร็งต่อลูกหมาก
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของรหัสพันธุกรรม ซึ่งมีรหัสในร่างกายคนเรากว่าพันล้านรหัส เอไอจะสามารถเข้ามาเรียนรู้รหัสที่เราอ่านไม่เข้าใจ เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดโรคของบุคคล โดยปัจจุบันมีการอ่านรหัสจีโนม (ดีเอ็นเอ) ได้แล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด
ที่ผ่านมามีการนำเม็ดเลือดขาว มาส่องดูการทำงานอย่างละเอียด โดยใช้เอไอ ในการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการเกิดโรค หรือแม้กระทั่ง การทำงาน ณ ปัจจุบันของเม็ดเลือดขาวในบุคคลนั้นได้แบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการต่อสู่กับเชื้อโรคที่เกิดขึ้น
ขณะที่การวิจัยและพัฒนาด้านยา เอไอสามารถวิเคาะห์โครงสร้างทางยา เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนายาตัวนั้นๆ เอไอสามารถแนะนำได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ แน่นอนว่าเอไอ ควรอยู่คู่กับคลาวด์ เพื่อให้สามารถสเกลอัพได้อย่างอิสระ
ในอินเดีย มีการนำเอไอไปวิเคราะห์ภาวะโรคหัวใจ ที่อาจจะเกิดขึ้นของบุคคล ช่วยวิเคราะห์และพยากรณ์ล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง
ในอนาคตการไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างเอไอกับมนุษย์ อาจจะต้องอธิบายเหตุผลและความมั่นใจของการพยากรณ์ ขณะที่ความปลอดภัยของข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่เมื่อเอไอสามารถอธิบายเหตุผลได้ ความปลอดภัยของข้อมูลนั้นก็จะตามมา
ในอนาคตเอไอ อาจจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมีความเป็นไปได้ และอนาคตเราจะมีเลขาส่วนตัวที่เป็นเอไอ และรู้จักตัวเราเองมากกว่าคนรอบข้าง
ทั้งนี้บทบาทของเอไอ จะเข้ามาเสริมความสามารถที่นอกเหนือจากแพทย์ทำได้ ซึ่งโดยหลักเอไอสามารถเรียนรู้ข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางการแพทย์ เพื่อวิเคราะห์ประเภทของโรคให้กับผู้ป่วยได้ดีขึ้น
การทำงานของเอไอ จะช่วยเตือนบุคคล เมื่อเกิดความผิดปกติกับบุคคล ซึ่งทำให้เรามีเวลามากพอที่จะให้เราไปพบแพทย์ได้ทัน ก่อนที่จะเกิดโรค ซึ่งเอไอจะเป็นผู้ช่วยที่ดีของเรา เมื่อมีการทำงานร่วมกันระหว่างเอไอและแพทย์ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด