มหกรรมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีศรีสะเกษ

มหกรรมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีศรีสะเกษ

กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ซึ่งนับเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ในการสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เกิดชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน

โดยการนำนวัตกรรมมาผสมผสานกับวิถีชีวิต ในการผลิตสินค้าท้องถิ่นหรือผลิตภัณฑ์โอทอป ภายใต้แนวคิด ร่วมสุข ร่วมวิถี ร่วมสมัย (Happiness Oriented) พร้อมกับผนวกการท่องเที่ยวของชุมชนเข้าไป

ให้ชุมชนเป็นตัวตั้ง เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยวระดับหมู่บ้านหรือ “แอ่งเล็ก” ที่มีอัตลักษณ์ และช่วยกันยกระดับสินค้าโดยนำนวัตกรรมมาผสมผสานกับวิถีของชุมชนอย่างน้อย 1 หมู่บ้านต่อสินค้า 10 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง

นวัตวิถี

และล่าสุด Thereporter.asia ได้แวะไป “มหกรรมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีศรีสะเกษ” เพื่อไปเยี่ยมชมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี รวมไปถึงได้ชมผลิตภัณฑ์ OTOP ให้แก่ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี รวมไปถึงยังได้ทำการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผลิตภัณฑ์ทีกำลังพัฒนา Quadrant D

สร้างและพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนท่องเที่ยวให้มีขีดความสามารถในเชิงสร้างสรรค์ มาต่อยอดจนเกิดความโดดเด่น มีความพร้อมบนอัตลักษณ์ชุมชน จนนำสู่ความยั่งยืนต่อไป โดยประชากรของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ลาว, ส่วย, เยอ และเขมร

นวัตวิถี

เริ่มตั้งแต่บ้านยางชุมน้อย ม.1 ต.ยางชุมน้อย อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ มีการเยี่ยมชม ทะเลหอมปลอดสาร (แหล่งปลูกหอมแดงแปลงใหญ่) และได้รับรู้รายได้จากการปลูกหอม ซึ่งระยะเวลาการปลูกประมาณ 45-60 วัน แต่ละครอบครัวจะปลูก 3-5 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 100,000 บาท ขายได้กิโลกรัมละ 12 บาท (คู่แข่งคือหอมแดงจากอินโด)

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากหอมแดงชาวบ้านเอามาทำสินค้า OTOP คือ กระหรี่บัฟหอมแดง และชาหอมแดง(ใช้หอมแดงเกษตรอินทร์ที่ปลูกในกระถาง) โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ผู้ผลิตได้ไปอบรมกับราชภัฏ ศรีสะเกษ และเป็น Young Smart Farmer

นวัตวิถี

บ้านละทาย ม.1 ต.บ้านละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ชาวบ้านละทาย สืบเชื้อสายจากชาวจังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินชีวิตสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตที่แสดงถึงความเป็นชาติพันธุ์ลาวที่โดดเด่น คือ การแต่งชุดลาว และอาหารพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์

มีภาษาถิ่นของตนเอง มีการละเล่นและประเพณีที่สืบทอดกันมาที่เด่นชัด คือประเพณีบุญบั้งไฟที่จัดได้อย่างยิ่งใหญ่ทุกปี มีบั้งไฟโบราณที่แกะสลักลายสวยงาม ซึ่งมีเฉพาะบ้านละทายเท่านั้น

นวัตวิถี

วิถีชีวิตหมู่บ้าวัฒนธรรมเผ่าลาว, ประเพณีบุญบั้งไฟ, สินค้า OTOP นวัตวิถี, กราบนมัสการพระใหญ่พุทธละทาย ที่นี่ยังให้นักท่องเที่ยวมาพักโฮมสเตย์ เป็นแบบครอบครัว และหมู่คณะได้เป็นหมู่คณะ 50 ท่านขึ้นไป ประกอบด้วย การฟ้อนกลองตุ้ม เซิ้งวัฒนธรรมเผ่าลาว กราบนมัสการพระใหญ่พุทธลทาย พร้อมด้วยกิจกรรมพาแลง

บ้านหนองงูเหลือมเหนือ ต.หนองงูเหลือม หมู่ที่ 2 อ.เบญจลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เยี่ยมชมวิถีเกษตรพอเพียงเกี่ยวข้าว ตำข้าวที่ไร่หลาวทอง เป็นไร่ที่ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ เกษตรอินทรีย์ และยังนำข้าวไรซ์เบอรี่มาแปรรูปเป็นขนมกรีบดอกลำดวน

รวมถึงการนำผิวแก้วมังกรมาทำชาและพักที่โฮมเตย์ ที่นี่ชาวบ้านมีการบายศรีสู่ขวัญและต้อนรับด้วยความอบอุ่น พร้อมกับทำอาหารพื้นบ้านมาที่ได้รับรางวัล เช่น ละแวกะปู, ต้มแซ่บไก่บ้าน ฯ และช่วงเช้ายังมีการใส่บาตรอีกด้วย

นวัตวิถี

บ้านโนนสว่าง ต.พรหมสวัสดิ์ อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ ชมสะพานไม้ไผ่ ไล่ปลา เส้นทางวิถีชนเผ่าลาว ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไหมครบวงจร สาวไหม มัดย้อม ดูตลาดโบราณ ชาวบ้านที่นี่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ก็มาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม รวมกลุ่มกันจาก 40 คนจนตอนนี้เป็น 100 คนแล้ว (ผ้าไหมขายเมตรละ 500 บ.)

และยังได้นำสินค้าไปขายที่งาน OTOP เมืองทองธานีอีกด้วย สีในการย้อมผ้าใช้สีจากธรรมชาติ เช่น เหลือง ขนุน, แดง คั่ง
ด้วยข้อจำกัดของเวลาและสถานที่ๆ จึงพอสรุปได้ประมาณนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วจังหวัดศรีสะเกษยังมีแหล่งท่องเที่ยวและ OTOP ที่น่าสนใจอีกมาก ผ่านไปต้องแวะเข้าไปชมให้ได้ Thereporter.asia การันตีเลย

นวัตวิถี

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

กรมการพัฒนาชุมชน

Related Posts