สถาบันพลาสติก จับมือ เอ็มเฟค ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต พลาสติก สู่อุตสาหกรรม 4.0 ชูแพลตฟอร์มไอโอที ช่วยยกระดับการผลิต แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนอย่างยั่งยืน
ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบัน พลาสติก เปิดเผยว่า จากการศึกษาของสถาบันพบว่าผู้ประกอบการทั้งหมดกว่า 3,000 ราย แต่ละรายมีเครื่องจากกว่า100 เครื่อง
กว่า 80% เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่เน้นปริมาณการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ยังใข้แรงงานเป็นส่วนสำคัญ
แต่จากภาวะแรงงานขาดแคลน การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลจึงเป็นทางออก ตามแนวทางการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ ตลอดจนนำมาประยุกต์ใช้กับการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เราเองเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิต พลาสติกอยู่แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการกว่า 3,000 รายมีโรงงานอยู่กว่า 6,000แห่ง และมีเครื่องจักรแต่ละรายกว่า 100 เครื่อง แต่เราไม่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ความร่วมมือกับเอ็มเฟคครั้งนี้ จึงเป็นการยกระดับเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต
เบื้องต้นเราได้ทดลองติดตั้งอุปกรณ์ไอโอที กับเครื่องจักรรุ่นเก่าที่ใช้งานอยู่ เนื่องจากเครื่องจักรใหม่เป็นเรื่องง่ายในการใช้เทคโนโลยี แต่เครื่องจักรเก่าเป็นเรื่องที่ต้องวิจัยและพัฒนาให้สามารถทำงานได้

ด้านนายธนกร ชาลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เอ็มเฟค เราเข้ามาพัฒนาเครื่องจักรสำหรับการผลิตพลาสติก ด้วยเทคโนโลยี IoT ที่จะเข้ามาช่วยเก็บข้อมูล และส่งเข้าสู่แพลตฟอร์มเพื่อนำมาวิเคราะห์และควบคุมการผลิต
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแรงงานช่างฝีมือที่ขาดแคลน และรองรับการผลิตในปริมาณเยอะ อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกไทย สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0
โดยในเฟสแรกจะเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับการซ่อมบำรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถล่วงรู้การเสื่อมของอะไหล่แต่ละชิ้น และซ่อมแซมหรือเปลี่ยนได้อย่างตรงจุด ทำให้เครื่องจักรไม่ต้องหยุดทำงาน และช่างสามารถควบคุมได้จากหน้าจอได้เลยทันที
ขณะที่เฟสที่สองจะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มการซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รองรับการทำงานต่อเนื่องตามปริมาณงานที่ผกผันได้อย่ายืดหยุ่นยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ในส่วนของขั้นตอนการดำเนินการ นับต้องแต่วิเคราะห์ความต้องการ การพัฒนาซอฟแวร์ที่เหมาะสมกับโรงงานนั้นและการติดตั้งระบบไอโอที จะใช้เวลาอยู่ราว 1-2เดือน ตามความยากง่ายของระบบที่ต้องการ
ซึ่งระบบทั้งหมด พัฒนาโดยคนไทย ทำให้ต้นทุนการพัฒนาถูกลง และหากเทียบกับแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เชื่อว่าจะมีราคารวมถูกลงกว่า 10เท่า อีกทั้งยังตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกโดยเฉพาะอีกด้วย
“เราจัดแสดงโซลูชั่นทั้งหมดไว้ที่สถาบันพลาสติกแล้ว เบิ้องต้นมีโรงงานเป่าถุง 2-3 ราย มีความต้องการติดตั้งเทคโนโลยีแล้ว ผู้ประกอบการพลาสติกท่านใดสนใจสามารถเข้ามาชมรูปแบบโซลูชั่นได้ที่สถาบันได้เลย” ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
เอ็มเฟค