วีซ่า เผย คนไทย 4 ใน 5 ชินพฤติกรรมไร้เงินสด

วีซ่า เผย คนไทย 4 ใน 5 ชินพฤติกรรมไร้เงินสด

วีซ่า เผยผลสำรวจ คนไทยกว่า 4 ใน 5 คน มีพฤติกรรมไร้เงินสดในชีวิตประจำวันมากขึ้น หลังความเชื่อมั่นเงินดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2560 อยู่ที่ 50% เพิ่มขึ้นเป็น 78%

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย  เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2018 เริ่มเห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง คนไทยเริ่มกลับมามีแรงจับจ่ายมากขึ้น เราเริ่มเห็นเทคโนโลยี Blockchain และวีซ่าก็เริ่มนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาทำบางส่วนเพื่อเตรียมบริการใหม่ๆ

เราเห็นระบบการชำระเงิน e-payment​ ใหม่ๆ มีอุปกรณ์​ IoT ที่เข้ามาเพิ่มรูปแบบบริการ และยังมีอะไรอีกหลายอย่าง ที่ วีซ่า ก็ยังต้องตั้งเปำที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกรรมทางการเงินให้ได้

ประเทศไทยมีตัวเลขประชากรที่ใช้จ่ายราว 69 ล้านคน มี GDP คิดเป็น 7, 600 บาทต่อปี ซึ่งทั้งหมดชี้ว่าประเทศไทย ยังมีความพร้อมในการเข้าสู่บริการทางการเงินใหม่ๆอยู่ ทำให้ที่ผ่านมาเราก็ได้เปิดบริการโซลูชั่นใหม่ ทั้ง QR Code

การเอาบล็อกเชนเข้ามาช่วยเรื่องการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยมีการทำโครงการร่วมกับ Kbank  ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอน Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย

เรามีการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ Warable Devices ต่างๆ นับตั้งแต่การร่วมกับซัมซุง จนปัจจุบันมีความร่วมมือกับ Fitbit ในการชำระเงินผ่านอุปกรณ์​เหล่านี้

ขณะที่ในด้านความ​ปลอดภัย​เรามีความ​ร่วม​มือ​กับสมาคมฟินเทคของไทย ทั้งการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้เกิดเป็นมาตรฐานร่วมกัน อีกทั้งยังสนับสนุนให้เกิดสตาร์ทอัพทางการเงินใหม่ๆ ทำให้สตาร์ทอัพสามารถสเกลได้เร็ว เนื่องจากเรามีกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่

ขณะที่ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย เราได้ทำการสื่อสารถึงเทรนด์การเงินดิจิทัลระดับโลกให้กับหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวทันโลกการเงินในระดับโลกต่อไป

วันนี้การเงินหรือการทำธุรกรรมดิจิทัลในประเทศไทย เริ่มเกิดขึ้นมากกว่าการซื้อสินค้า เราเริ่มเคยชินกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของวีซ่า ในการส่งเสริมให้ผู้บริโภคเกิดความสะดวกมากขึ้น

สังคมไร้เงินสด ในประเทศไทยเกิดขึ้นแล้วหรือยัง?

การสำรวจจากประชากรอาเซียนราว 4,000คนทั่วอาเซียน โดยเป็นคนไทยราว 500 คน ซึ่งพบว่าคนไทยกว่า 57% นิยมทำธุรกรรมการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ แซงหน้าพฤติกรรมการใช้เงินสดที่มีอยู่เพียง 43% เท่านั้น

กระแสของสังคมไร้เงินสดที่แรงขึ้น เกิดจากคนไทยมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ทำให้กล้าใช้เงินดิจิทัลมากขึ้น เป็นผลจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ที่ได้ร่วมกันผลักดันระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์

พฤติกรรมการใช้เงินดิจิทัล เริ่มมีการผูกบัตรจ่ายเงิน เข้ากับบัญชีบริการออนไลน์ เราเริ่มเห็นการใช้บริการ Contactless หรือการแตะเพื่อชำระเงิน ในบริการต่างๆมากขึ้น แม้ว่าการใช้เงินสดก็ยังคงเป็นเรื่องหลักอยู่

แน่นอนว่าในประเทศไทย เงินสดยังหาได้ง่าย เรามีตู้เอทีเอ็ม ในการกดเงินสดอยู่เยอะมาก ทำให้กระแสเงินสดยังดีอยู่ ต่างจากต่างประเทศที่เริ่มมีตู้กดเงินสดน้อยลง

ขณะที่ความสะดวกของการใช้บัตรเครดิต และเดบิตการ์ด เริ่มมีความสะดวกมากขึ้น ร้านค้าเริ่มมีการรับชำระเงินมากขึ้น ขณะที่บริการชำระเงินอย่าง พร็อ​มเพย์ ก็เป็นตัวกระตุ้นที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

อีกทั้งระบบ QR Code ที่ร้านสะดวกซื้อ เริ่มมีการรับชำระเงินมากขึ้น และในส่วนของร้านเล็กๆริมทาง ก็เริ่มมีการรับชำระเงินผ่าน QR Code มากขึ้น

โดยปีที่ผ่านมามีคนไทยไม่ใช้เงินสดราว 51% ขณะที่ปีนี้ กระโดดขึ้นมาอยู่ที่ 78% ซึ่งไม่ต้องใช้เงินสดเลยในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน

โดยในปี 2018 มีคนราว 40% ที่บอกว่าอยู่ได้ตลอดทั้งวันโดยไม่ใช้เงินสด ขณะที่การคาดการว่าใน 24 ชั่วโมงข้างหน้าจะไม่ใช้เงินสดเลยมีคนอยู่ราว 60% ที่คิดว่าอยู่ในกลุ่มนี้

วันนี้คนไทยเริ่มมั่นใจในระบบความปลอดภัยมากขึ้น คนเริ่มเข้าใจว่ามีความปลอดภัยมากกว่าเงินสด มีความสะดวกไม่ต้องยืนต่อคิว ขณะที่ด้านความสามารถในการควบคุม เริ่มมีฟีเจอร์ในการควบคุมได้ด้วยตนเอง ผ่านระบบดิจิทัลคอนโทรลได้อย่างสะดวก

ซึ่งในระบบคอนโทรลนี้ สามารถล็อคได้ทั้งวงเงิน ประเภทสินค้า ช่วงเวลา ตลอดจนรูปแบบการจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งผู้ให้บริการทางการเงินจะต้องนำฟีเจอร์เหล่านี้เข้ามาให้บริการกับผู้บริโภคให้ได้

ตัวเลขที่น่าสนใจอยู่ที่ คนไทยเริ่มมั่นใจกว่า 68% ว่าจะเกิดสังคมไร้เงินสดในประเทศไทยภายใน 7 ปีข้างหน้า โดยกว่า 98% มีการรับรู้ว่าประเทศไทยสามารถจ่ายแบบไร้เงินสดได้แล้ว ซึ่งกว่า47% สนใจที่จะใช้บริการด้วย

อีกทั้งกว่า 94% ได้ทดลองใช้งานไร้เงินสดแล้ว จะเห็นได้ว่า​เราเริ่มมีความเคยชินกับการเป็นสังคมไร้เงินสดมากขึ้น เราเริ่มมีการใช้บัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในการผูกบริการมากขึ้น เสมือนการตั้งกระเป๋าสำรองเงิน

ขณะที่กว่า 85% เริ่มมีแนวคิดในการใช้งานเพียงแอปพลิเคชั่นการชำระเงินเพียงแอปเดียว เพื่อชำระเงินในทุกรูปแบบ ซึ่งสอดคล้องกับทุกแบรนด์ที่ต้องการเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลให้กับผู้บริโภคเพียงรายเดียว

เทรนด์ของการใช้งาน Contactless บนเทคโนโลยี NFC ในการชำระเงิน ภายใต้สัญลักษณ์รูปคลื่น เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่นี้ ซึ่งตัวเครื่องรับชำระเงิน เริ่มมีการเปลี่ยนในการรองรับบัตรที่มีสัญลักษณ์​นี้ล่วงหน้าแล้ว

ขณะที่ในต่างประเทศ เริ่มสามารถนำบัตรสัญลักษณ์​นี้ เข้าใช้บริการได้เลย ยกตัวอย่างระบบรถไฟฟ้าของสิงคโปร์ ​ระบบขนส่งในประเทศอังกฤษ และการชำระเงินของประเทศทางฝั่งยุโรป โดยที่เราไม่ต้องแลกเงินสกุลต่างๆในการเข้าใช้บริการ

และในปี 2018 คนไทยกว่า 90% รับรู้ว่ามีระบบ Contactless​ในการขำระเงิน ซึ่งในประเทศไทยมีการชำระเงินเช่นนี้ในร้านแมคโดนัลด์​มาสักระยะแล้ว แต่มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่ระบุว่าเคยลองใช้งานแล้ว

ความเชื่อมั่นในระบบ QR Payment

ในปี 2017 การสำรวจว่าคนไทยรับรู้ว่ามีระบบคิวอาร์โค้ดในการชำระเงินราว 74% แต่ในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 93% และมีความสนใจที่จะใช้ในปี 2017 ราว 46% ขณะที่ปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 74% โดยกว่า 35% ระบุว่ามีการใช้งานจริงแล้ว

ขณะที่สัดส่วนของการซื้อของผ่านระบบออนไลน์ มีอยู่ราว 2.88 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ ใช้ระบบการขำระผ่านการ์ดแทนเงินสดเป็นหลัก อีกทั้งคนไทยกว่า 2 ใน 3 มีความสนใจในการรักษาความปลอดภัยด้วยระบบกายภาพอย่าง Biometric มากขึ้น และกว่า 72% สนใจที่จะลองใช้

ในแง่ของการใช้ในระบบขนส่ง เราเริ่มคิดถึงความสะดวกในการใช้งานเป็นหลัก ในการหาระบบการชำระเงินมาทดแทนการจ่ายด้วยเงินสด โดยราว 53% พบว่าไม่ชอบการชำระเงินแบบเดิมๆ

ขณะที่เมื่อเสนอบริการใหม่โดยที่ยังไม่เห็นภาพ ราว 26% ระบุว่า อยากลองใช้ และกว่า 67% ระบุว่าอยากใช้งาน Contactless ในการชำระเงิน และมั่นใจว่าจะสร้างให้สังคมไทยเกิดสังคมไร้เงินสดได้เร็วขึ้​้น

ขณะที่ระบบการขำระค่าทางด่วน วันนี้เราต้องนำเงินไปกองไว้เพื่อเตรียมชำระเงิน แต่ระบบ  Contactless​ จะช่วยให้เราสามารถชำระเงินด้วยการแตะบัตรในช่องชำระเงินสดได้อย่างสะดวกมากขึ้น

อีกทั้งระบบเคาเตอร์ชำระเงินอัตโนมัติ ในการซื้อสินค้า คนไทยก็พร้อมที่จะทดลองใช้บริการใหม่ แม้ว่าความสนใจด้านความปลอดภัยจะยังมีอยู่ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของสถาบันการเงิน ที่จะพัฒนาบริการใหม่ๆที่มีความปลอดภัย มาตอบรับความต้องการของผู้บริโภคให้ได้

ลิง​ค์ที่​เกี่ยวข้อง

วีซ่า ประเทศไทย

Related Posts