หัวเว่ย เจอศึกหนัก โดน ‘สหรัฐ’ รุมกินโต๊ะทั่วทุกอุตสาหกรรม

หัวเว่ย เจอศึกหนัก โดน ‘สหรัฐ’ รุมกินโต๊ะทั่วทุกอุตสาหกรรม

อำนาจของการประกาศเป็นบริษัทเข้าสู่บัญชีดำของ ‘สหรัฐ’ มีล้นเหลือ ไม่ใช่เพราะสหรัฐเป็นผู้ผลิตทุกสิ่ง แต่เป็นเพราะสิทธิบัตรต่างๆทางด้านเทคโนโลยีล้วนเป็นของบริษัทสัญชาติสหรัฐแทบทั้งหมด และสิ่งต่อไปนี้เป็นเรื่องที่หัวเว่ยจะต้องแก้ไขสถานการณ์ให้ได้โดยพลัน มิเช่นนั้นแล้วหัวเว่ยอาจจะต้องหยุกชะงักการผลิตสินค้าก็เป็นได้

ชิปเซ็ต ที่หัวเว่ยผลิตเอง แต่ดันอยู่ภายใต้สิทธิบัตรบริษัท สหรัฐ

เริ่มกันที่ชิปเช็ต (Soc)ซึ่งเป็นการรวมทั้งหน่วยประมวลผลทั้งด้านภาพและเสียงเข้าด้วยกัน แม้ว่าก่อนหน้านี้ Qualcomm และอินเทล ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของ สหรัฐ จะยังไม่ประกาศตัดสัมพันธ์ชัดเจน แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า ทั้งสองบริษัทไม่น่าจะขัดกับกฏหมายสหรัฐได้อย่างแน่นอน และทางหัวเว่ยเองก็ได้ประกาศว่ามีความพร้อมระดับหนึ่งในการผลิตชิปเซ็ต Hisilicon Kirin แต่กระนั้นภายใต้ชิปที่ใช้สถาปัตยกรรมของ ARM ในการผลิตอยู่ดี

และวันนี้ ARM ก็ประกาศตัดสัมพันธ์หัวเว่ยต่อจากกูเกิลทันที และห้ามเจรจากับหัวเว่ยในทุกระดับชั้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ทั้งสองบริษัทจะมีความใกล้ชิดในฐานะคู่ร่วมพัฒนาชิปเซ็ต Kirin มาอย่างต่อเนื่องก็ตาม งานนี้แม้ว่าหลายคนจะมองว่า Hisilicon จะได้รับการพัฒนามาโดยหัวเว่ยเอง แต่ภายในแล้วยังใช้เทคโนโลยีที่เป็นสิทธิบัตรของ ARM (ARMv8) อย่างสถาปัตยกรรม Cortex-A76 และ Cortex-A55 ที่อยู่ภายในCPU ของชิปเซ็ต Kirin 980 ที่ผลิตโดยโรงงาน TSMC ดังกล่าวด้วย

และหากจะหนีไปใช้ Exynos จากค่ายซัมซุง ก็น่าจะเจอปัญหาไม่ต่างกัน เพราะใช้เทคโนโลยี ARM เช่นกัน ทั้งในส่วนของสถาปัตยกรรม Cortex และหน่วยประมวลผลภาพ(GPU)อย่าง Mali ซึ่งก็เป็นสิทธิบัตรของ ARM เช่นเดียวกัน

ทางเดียวที่การลงทุนที่ผ่านมาของ Hisilicon จะไม่สูญป่าวนั่นคือ การต้องลงทุนและแรงวิจัยเทคโนโลยีเองทั้งหมดทุกกระบวนการ แต่เวลาเพียง 88 วันที่เหลืออยู่จะเพียงพอหรือไม่ เรื่องนี้คำตอบชัดเจนว่าไม่น่าจะทัน

ขณะที่มองกลับมาในส่วนของชิปเซ็ตเองที่ไม่ใช่ฝั่งมือถือบ้าง หัวเว่ยก็เลือกใช้การผลิตจาก TSMC เป็นหลัก ซึ่งโรงงานดังกล่าวแม้ว่าจะมีการผลิตในจีนเป็นหลัก แต่เทคโนโลยีเครื่องจักรก็เป็นของเยอรมนี และสิทธิบัตรต่างๆก็ล้วนเป็นของอินเทลทั้งสิ้น หรือหากจะหันไปหาทางฝั่งไต้หวันแนวทางของเทคโนโลยีก็ไม่ต่างกัน สิทธิบัตรยังต้องพึ่งพิงบริษัทสัญชาติอเมริกันอยู่ดี

ซึ่งหัวเว่ยรู้ดีว่า การผลิตที่ผ่านมา แม้จะผลตด้วยตัวเองแต่ยังต้องจ่ายค่าไลเซ่นส์เทคโนโลยยีอยู่ดี ประเด็นนี้ไม่เพียงกระทบการผลิตสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยเท่านั้น แต่อาจจะกระทบอุตสาหกรรมเซมิคอนดรักเตอร์ทั่วโลกที่อาจจะต้องตะหนักถึงการพัฒนาและวิจัยสิทธิบัตรของตนเอง ให้ครอบคลุมการผลิตโดยไม่ต้องพึ่งพิงสิทธิบัตรต่างชาติจนอาจจะโดยกดหัวแบบที่กำลังโดนเช่นนี้ก็เป็นได้

หลายคนอาจจะค้านว่า ARM Holding นั้นเป็นเทคโนโลยีของประเทศอังกฤษ ซึ่งต้องบอกว่าเรื่องนั้นเป็นแค่ต้นกำเนิดเท่านั้น เพราะเมื่อปี 2016 ARM ได้ถูกซื้อต่อมาอยู่ในมือของ SoftBank ด้วยมูลค่า 24.3 ล้านปอนด์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นบริษัทญี่ปุ่น แต่ก็มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับสหรัฐ ด้วยการซื้อกิจการ Sprint ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของสหรัฐ การออกตัวตัดสัมพันธ์ครั้งนี้จึงเท่ากับว่าเจ้าของสิทธิบัตรมีสถานะไม่ต่างจากบริษัทสหรัฐนั่นเอง

เร่งเข็น HongMeng แทนแอนดรอยด์

ขณะที่ด้านซอฟแวร์ที่ก่อนหน้านี้เราทราบกันดีว่า กูเกิล ได้ประกาศตัดสัมพันธ์ไปแล้ว ซึ่งแนวทางของการพัฒนาก็ดูเหมือนจะพุ่งเป้าไปที่ HongMeng ที่ดูเหมือทางหัวเว่ยจะเชื่อมั่นว่า ระบบปฏิบัติการสัญชาติจีนนี้จะเข้ามาแทนที่ระบบแอนดรอยด์ได้อย่างไม่ติดขัด ด้วยแนวทางการพัฒนาที่ประกาศชัดเจนว่าจะรองรับแอปพลิเคชั่นฝั่งแอนดรอยด์ เพื่อติดตั้งในระบบปฎิบัติการใหม่นี้ได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน

แต่กระนั้นความเคยชินของการเรียกใช้โซลูชั่นกูเกิล ที่มีอยู่บริการที่หลากหลาย ทั้งเสิร์ชเอนจิ้น บริการอีเมล์อย่างจีเมล์ กูเกิลไดร์ฟ ตลอดจนระบบหลังบ้านที่นักพัฒนาคุ้นชินกับการเชื่อมต่อ API ทำให้หลายฝ่ายมองว่า HongMeng อาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกับการสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับ แต่จะทันกับการเปลี่ยนแปลงภายใน 90 วันหรือไม่อันนี้ต้องรอลุ้น

นอกจากการพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่นี้แล้ว การยอมรับจากผู้บริโภคในการเลือกใช้แพลตฟอร์มใหม่ที่จะต้องเชื่อมต่อบริการทั้งหมดของอุปกรณ์เข้าด้วยกัน ก็เป็นเรื่องที่หัวเว่ยจะต้องสร้างความน่าสนใจมากกว่าการเร่งผลิตระบบใหม่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะวันนี้สมาร์ทโฟนไม่ใช่อุปกรณ์ที่โดดเดี่ยวสำหรับการรับสายและโทรออกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการรวมชีวิตดิจิทัลทั้งหมดของผู้บริโภคเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับทุกอุปกรณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีที่เกี่ยวข้องล้วนใช้เทคโนโลยีสหรัฐ

ชิปและหน่วยความจำ ทั้งรูปแบบแรมและรอม เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในเครื่องมือสื่อสารและคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าผู้ผลิตรายใหญ่ 3 รายของโลก มีทั้ง Micron Technology ของสหรัฐอเมริกา ซัมซุง ของเกาหลีใต้ และ ฮุนได ของเกาหลีใต้ ซึ่งไม่นับรวมรายเล็กที่ผลิตออก

ขณะที่เครื่องจักรส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิต อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ ส่วนใหญ่ถูกครอบด้วยสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่นซอฟต์แวร์ Electronic design automation (EDA)ซึ่งเป็นระบบออกแบบการผลิตวงจรรวมและแผงวงจร เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการออกแบบและวิเคราะห์เซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัยทั้งหมด

อีกทั้งเครื่องพิมพ์แผงวงจรขั้นสูง (high-end lithography machine) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างแผงวงจรที่มีความซับซ้อน ก็ยังเป็นเครื่องจักรที่อยู่ในการควบคุมของสหรัฐเป็นหลัก แม้ว่าจะมีการผลิตและสร้างในประเทศเนเธอแลนด์ก็ตาม

อีกทั้งในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้ผลิตกล้อง HD และส่วนประกอบต่างๆของจอภาพและอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งหากมองการผลิตที่ประเทศจีนสามารถทำได้เอง 100% โดยไม่ต้องพึ่งพิงสิทธิบัตรจากต่างชาติ ดูเหมือนการยกดาบขึ้นปกป้องตัวเองครั้งนี้ของหัวเว่ย คงต้องรอดูกันแบบยาวๆต่อไปว่าแนวทางการต่อสู้ จะลงเอยแบบ ZTE หรือไม่ในอนาคต

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

หัวเว่ย เทคโนโลยี

Related Posts