ไมโครซอฟท์​ ย้ำ ‘ความเชื่อมั่น’​ เป็นหัวใจก้าวสู่ดิจิทัล

ไมโครซอฟท์​ ย้ำ ‘ความเชื่อมั่น’​ เป็นหัวใจก้าวสู่ดิจิทัล

ไมโครซอฟท์​ กระตุ้นเตือนการสร้างความเชื่อมั่นในโลกดิจิทัล เน้นย้ำแนวทางที่ถูกต้องในการนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้ ชู 5 แนวทางหลักสร้างความเชื่อมั่นทั้งระบบนิเวศน์ทางดิจิทัล​ของประเทศไทย

นายโอม ศิวะดิตถ์ ผู้บริหารนโยบายภาครัฐ บริษัท ไมโครซอฟท์ ​(ประเทศไทย)​ จำกัด เปิดเผยผลวิจัยล่าสุดว่าสถานการณ์​ของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศ​ไทย​ มี 4 เรื่องที่น่ากังวลใจ

1.แรนซัมแวร์มีแนวโน้มลดลง จากความน่าสนใจและแรงดึงดูดการเรียกค่าไถ่ข้อมูลที่น้อยลง

2.มัลแวร์ขุดสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งแฝงตัวอยู่ในเครื่อง เพื่อขโมยใช้พลังจากหน่วยประมวลผล โดยที่ผู้ใช้งานเครื่องทั่วไปไม่รู้ตัว มีเพียงอาการหน่วงของเครื่องเท่านั้น

3.ฟิชชิ่งอีเมล์​ ยังเป็นวิธีของการเจาะระบบของแฮกเกอร์ที่ระบาดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลที่ตรวจพบในช่วงเดือนมกราคม -​ ธันวาคม 2018 มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

และ 4.เรื่องซัพพลาย​เชน พบว่ามีการเจาะระบบเข้าสู่เครื่องที่ใช้งานวินโดวส์​อยู่กว่า 4 แสนครั้ง​ ในชื่อ Dofoil แต่ได้รับการป้องกันจากทาง Defense ที่ตรวจพบจากการวิเคราะห์​ด้วยบิ๊กเดต้าของเอไอ

ขณะที่สถานการณ์​ในประเทศไทย ทั้ง 4 ส่วนยังมีสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับทั่วโลก ด้วยเหตุจากการยอมรับไปสู่การท​รานส์​ฟอร์ม​ดิจิทัลแล้ว ทำให้เป็นที่สนใจของเหล่าแฮกเกอร์

5 ปัจจัยความเชื่อมั่น
  • ต้องรักษาความเป็นส่วนตัว
  • ระบบมีความปลอดภัยที่ดี
  • มีเสถียรภาพที่ดี
  • มีจริยธรรมที่ดี
  • ปฎิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้สัดส่วน ดิจิทัลไลฟ์ส​ไตล์​ในประเทศไทย มีค่าเฉลี่ย​สูงกว่าเอเชียแปซิฟิก​ ซึ่งผลสำรวจความเชื่อมั่นของการดูแลข้อมูล​ส่วนบุคคล​จากกลุ่มรีเทล ประเทศไทย​ยังรั้งท้ายอันดับ 10 ซึ่งกลุ่มเฮลแคร์​ได้รับความเชื่อมั่นสูงสุด

และเมื่อถามต่อเรื่องความเชื่อมั่นในการดูแลข้อมูล ผู้ตอบส่วนใหญ่ตอบว่าไม่เชื่อมั่นเลย แต่กระนั้นแม้ว่าจะมีประสบการณ์​ที่แย่ต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคส่วนน้อยที่ยังใช้ต่อ แต่เรื่องร้ายคือการย้ายบริการและชวนเพื่อนย้ายด้วย

มุมมอง Ai ในประเทศ​ไทย​

มองว่าเอไอเป็นเรื่องที่ดี ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิต การนำเอไอเข้าไปใส่ในผลิตภัณฑ์​ แต่กระนั้นอุตสาหกรรม​ภาครัฐและรีเทล ยังเป็นกลุ่มที่น่ากังวลใจในการนำเอไอไปใช้ประโยชน์ให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ความน่าสนใจของหน่วยงานหลักที่จะสร้างความเชื่อมั่นนั้น ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าจะต้องทำงานร่วมกันทุกหน่วย แต่กระนั้น ความแตกต่างของช่ววอายุก็มองต่างกัน

ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุมองว่าจะต้องทำโดยหน่วยงานรัฐ ขณะที่เจนซ์เอ็กซ์และวาย กลับมองว่าเทคคัมปานี จะต้องรับผิดชอบความเชื่อมั่นให้ตัวเองได้

โดยหลักปฏิบัติของการสร้างเอไอให้มีความเชื่อมั่นจากทั้งรัฐและเอกชนร่วมกัน โดยจะต้องมีความยุติธรรมเป็นหลัก มีความปลอดภัยไว้ใจได้ มีความเสมอภาค โปร่งใส สามารถขอคำอธิบายได้ พร้อมมีทางเลือกสำรอง และมีความรับผิดชอบ​ต่อการกระทำของเอไอจากผู้เป็นเจ้าของผลิตภั​ณฑ์

โอม แนะนำว่า ผู้ประกอบการที่จะนำเอไอมาใช้จะต้องฝังความเชื่อมั่นเข้าไปในดีเอ็นเอของเอไอนั้นๆแบบลงลึก ขณะที่ความคุ้มครองเจ้าของข้อมูลจะต้องได้รับความปลอดภัยสูงสุด

ความปลอดภัยจะต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเจ้าของผลิตภัณฑ์​ต้องมีส่วนรับผิดในทางกฏหมาย อีกทั้งจะต้องมีเวทีทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อผสานการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรวดเร็วมากขึ้น

อีกทั้งถ้าต้องการสร้างให้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น อาจจะต้องรวมกลุ่มกันทำงานอย่างจริงจัง ตามแนวทางของกลุ่มที่ชัดเจน มีการยืนยันความเชื่อมั่นที่ปลอดภัย

และสุดท้ายการเลือกใช้พับบลิคคลาวด์​ต้องเลือกผู้ให้บริการที่ดี เพื่อยืนยันความเชื่อมั่น​ในด้านความปลอดภัยมากขึ้น

ซึ่งไมโครซอฟท์​ยืนยันว่าการเดินหน้าไปสู่ดิจิทัล การสร้างความเชื่อมั่น​เป็น​เรื่องสำคัญ โดยเรื่อง 1.Privacy เป็นเรื่องสำคัญ 2.Security จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างความปลอดภัยสูงสุด

3.Transparency ความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้อย่างมีมาตรฐาน สามารถเข้าไปดูรายงานการตรวจสอบของมาตรฐานการรับรองในทุกขั้นตอนได้อย่างสะดวก

และเราเชื่อว่า เราจะเป็นกำลังสำคัญในการนำพาธุรกิจในประเทศไทย ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ และรวดเร็วมากขึ้น

ลิงค์​ที่เกี่ยวข้อง

ไมโครซอฟท์​ ประเทศไทย

Related Posts