โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เผยผลสำรวจทั่วเอเชียแปซิฟิค ประสบภาวะขาดแคลนแรงงาน ชี้ราว 70%ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ประสบปัญหาการค้นหาคนไอทีเข้าทำงานยาก และอาจจะต้องใข้เวลากว่า 3 เดือนกว่าจะได้คน พร้อมเปิดตัวอีไกด์แนะ 5 ทิปสร้างแรงดึงดูดแรงงานไอทีเข้าทำงานมากขึ้น
จูเลียน เมียสเนอร์ ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โรเบิร์ต วอลเทอร์ส กล่าวว่า อีไกด์ หรือ คู่มือการสรรหาบุคลากรด้านเทคโนโลยี เพื่อดึงดูดนักไอทีเข้าสู่บริษัทมากขึ้น เกิดจากการสำรวจความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ซึ่งการสำรวจจะแตกต่างจาดการสำรวจทั่วไป เนื่องจากเป็นการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผสานการสำรวจจากหลายๆรูปแบบบุคลากร แตกต่างจากที่ผ่านมาซึ่งทำแบบออนไลน์เป็นหลัก
กลุ่มตัวอย่างมาจากประเทศในกลุ่ม เอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยพบว่า กว่า 70% ยอมรับว่าขาดแคลนบุคลากรทาวด้านไอที และ 68% ต้องใช้เวลากว่า 3 เดือนในการหาพนักงานไอที จากปกติตำแหน่งอื่นๆจะใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์
การขาดแคลนบุคลากรทำให้เกิดอุปสรรคต่อการสร้างเทคโนโลยีใหม่ให้กับบริษัท และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งของบริษัทอีกด้วย
อีไกด์ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจที่ต้องการทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัล ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ทำให้เกิด 5 แนวคิด ในการดึงดูดคนไอที ให้เข้ามาทำงานในบริษัท
ทั้งนี้ อีไกด์ ได้ทำการสัมภาษณ์กับผู้นำภาคธุรกิจ 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลง 1 ท่าน หัวหน้าแผนกไอที 2 ท่าน และหัวหน้าแผนกสรรหาบุคคลากรสตาร์ทอัพ 4 ท่าน และหัวหน้าแผนกสรรหาบุคคลากร อีกกว่า 400 คน
5 แนวทางสร้างแรงดูดคนไอที
โดนสิ่งแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญ 1.การสร้างคุณค่าแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ การสร้างแบรนด์ที่น่าเชื่อภือ ช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการทำงานด้วยของนักไอทีมือดี และมีโอกาสที่จะเลือกบุคคลากรที่มีความสาทาระในตลาดได้มากกว่า
โดยจะต้องทำให้ได้มากกว่าที่แบรนด์อื่นๆทำได้ ดึงบุุคคลภายนอกให้เกิดกาามีส่วนร่วมจากพนักงาน ช่วยเพิ่มการรับรู้ให้กับภายนอกองค์กร นอกจากนี้ยังควรมีการสัมมนาอีเว้นท์เพื่อสร้างให้บุคคลภายนอกได้รู้สึกดีกับองค์กร
และการสัมภาษณ์ ควรสร้างการความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้น เนื่องความรู้สึกที่ไม่ดีจะกระตุ้นให้บุคคลที่เข้ารับการสัมภาษณ์เลือกที่จะเข้าทำงานกับที่อื่นมากกว่า
- การให้ความสำคัญกับสิทธิประโยชน์ โดย 57%ของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ยอมรัยการเพิ่มเงินเดือนเพียงเล็กน้อย แลกกับการมีสวัสดิการที่น่าสนใจ
และสิ่งที่ดึงดูดที่สุด คือความยืดหยุ่นของเวลาเข้างาน ซึ่งกว่า 58%ของผู้ตอบคำถามต้องการ เนื่องจากงานเทคโนโลยีบางอย่างคาบเกี่ยวเรื่องเวลาระหว่างประเทศ ความยืดหยุ่นด้านเวลาจะทำให้น่าสนใจมากขึ้น และกว่า 49% ต้องการสวัสดิการให้ครอบครัว เช่นการประกันภัย
46% ยังต้องการทกงานนอกสำนักงาน และ 36% ต้องการประกันภัยให้ตนเอง และ 30% ต้องการกองทุนเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆในการพัฒนาทักษะทางด้านไอทีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3.ปรับแนวคิดการค้นคนที่มีศักยภาพ แทนการค้นหาจากเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดอย่างเคร่งครัด จะช่วยเพิ่มโอกาสการได้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า
ในการค้นหาคนที่ใช่จากการพิจารณาศักยภาพโดยรวม เป็นการค้นหาคนตามความต้องขององค์กรจะทำให้องค์กรต้องใช้ระยะเวลานาน และมีโอกาสที่จะหาไม่ได้เลย ควรเฟ้นหาคนที่มีศักยภาพสำหรับอนาคตจะเป็นโอกาสที่มากกว่า แล้วทำการเทรนนิ่งให้ได้ตามที่องค์กรต้องการ
- กระตุ้นการเรียนรู้แบบ 360 องศา นับเป็นเรื่องที่สำคัญมากในบางเทคโนโลยี เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก องค์กรต้องพร้อมสนับสนุนการเรียนรู้ด้านนี้ นอกจากนี้ยังต้องสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกับแผนกอื่นๆ เพื่อช่วยทำให้เกิดความร่วมมือและทำให้เข้าใจในขั้นตอนการทำงานของแผนกนั้น
อีกทั้งการเรียนรู่ยังเปิดโอกาสให้ต่อยอดไปสู่การเป็นผู้บรรยาย เพื่อสร้างโอกาสการแสดงศักยภาพที่เพิ่มขึ้น และเป็นพัฒนาทักษะของพนักงานไอทีที่สอดคล้องกับความร่วมมือขององค์กรอีกด้วย
- เริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ของผู้นำ นับเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้พนักงงานไอทีเกิดความมั่นใจในการสร้างโครงการใหม่ๆมากขึ้น ช่วยให้องค์กรเกิดผลิตผลในการทำงานที่เพิ่มขึ้น
วิสัยทัศน์ของผู้นำจะทำให้องค์กรสามาระทรานสฟอร์มไปสู่ดิจิทัลได้ ซึ่งบางครั้งบุคคลากรเหล่านี้ต้องการเวลาที่เงียบสงบ ในการคิดโครงการเพื่อเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
อีกทั้งยังควรให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน อีกทั้งผู้นำที่ดียังควรชื่นชมกับการทำความดีให้กับพนักงานเหล่านั้นอย่างจริงใจ แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อยก็จะสร้างความรู้สึกที่ดีและผูกมัดทางใจให้คงอยู่ทำงานกับองค์กรต่อไป
การตอบสนองถึงคุณค่าของตัวบุคคลากรที่มีต่อองค์กรเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานอย่างทุ่มเทให้กับองค์กรที่รัก และเหนือสิ่งอื่นใดการสื่อสารที่ถูกต้องบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ง่าย ก็จะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างองค์กร ผู้บริหาร และพนักงานได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง