เปิดสมุดปกขาว หัวเว่ย เร่งเครื่องดันไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

เปิดสมุดปกขาว หัวเว่ย เร่งเครื่องดันไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

หัวเว่ย จับมือดีป้า พร้อมพันธมิตรในอุตสาหกรรม จัดงาน Thailand IoT Industry Summit 2019 เพื่อแสดงความมุ่งหวังที่จะเป็นหนึ่งในแรงผลักดันสำคัญ นำพาประเทศไทยเดินหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยไฮไลต์เทคโนโลยีที่สำคัญอย่างไอโอที ภายใต้เทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะเกิดขึ้น

งานนี้นอกจากเราจะได้เห็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ตลอดจนความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการทดลองระบบในประเทศไทย ยังได้รับรู้เรื่องราวของสมุดปกขาวของหัวเว่ยต่อประเทศไทย ซึ่งบอกเล่าเรื่องราว ความตั้งใจ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติของนักเทคโฯโลยีในประเทศไทย ที่มีโอกาสได้รับการส่งเสริมและต่อยอดไปสู่เครือข่าย NB-IoT เพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญของประเทศไทยต่อไปในอนาคต

ส่องเทคโนโลยี NB-IoT ของประเทศไทยในปัจจุบัน

ปัจจุบันผู้ให้บริการอย่าง เอไอเอสได้เปิดให้บริการ NB-IoT โดยใช้คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ครอบคลุมทั่วทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย และ ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ได้เปิดให้บริการ NB-IoT ทั่วทั้งประเทศเช่นกัน โดยได้มีการทดสอบการใช้งานบางรูปแบบ อาทิ การติดตามเด็ก ผู้สูงอายุ มิเตอร์วัดน้ำอัจฉริยะ มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ Cow-Connected (เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิและสภาพร่างกายของวัว) และยังมีตัวอย่างการใช้งาน (Use Case) ที่เริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว อาทิ การติดตามรถ ที่จอดรถอัจฉริยะ ระบบแสงไฟถนนอัจฉริยะ เป็นต้น

อีกทั้งประเทศไทยกำลังเตรียมพัฒนาสร้างเมืองอัจฉริยะให้ได้ตามเป้าหมาย 30 เมืองใน 24 จังหวัดในราวปี 2563 และพลิกโฉมเมืองอีก 100 แห่งทั่วประเทศให้เป็นเมืองอัจฉริยะในปี 2565 โดยในปี 2562 จะมีการเชื่อมต่อ C-IoT (2G, 3G, 4G) 8 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 15 ล้านในราวปี 2565 โดยจะมี “Connected Energy” ซึ่งพัฒนามาจากการอ่านสมาร์ทมิเตอร์แบบเดิมเป็นหลัก และจะเป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่ใช้กันโดยส่วนใหญ่ ตามมาด้วย Connected Car และ Connected Industry

ขณะที่หัวเว่ย ได้มีแพลตฟอร์ม IoT ภายใต้ชื่อ OceanConnect และระบบคลาวด์ของหัวเว่ย เพื่อรองรับการพัฒนารูปแบบการใช้งาน IoT ที่มีในประเทศไทย ทำให้เกิดการพัฒนาแอปพลิเคชันหลายอย่างผ่านแพลตฟอร์มนี้ หลังจากที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้เปิดตัวเครือข่าย NB-IoT ไปทั่วประเทศในปี 2561 โดยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการติดตั้งระบบแสงไฟถนนอัจฉริยะ

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิด OpenLab ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนนักพัฒนาชาวไทยในการพัฒนาแอปพลิเคชัน การใช้งานอุปกรณ์ติดตามมอเตอร์ไซค์ได้มีการเปิดตัวร่วมกับบริษัท เอชไอพี โกลบอล จำกัด และกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามกับมอเตอร์ไซค์ของตำรวจเพื่อบริหารงานด้านจราจร รวมไปถึงแอปพลิเคชันจอดรถอัจฉริยะราว 1,100 ช่องจอดเมื่อตอนต้นปี 2562 และอุปกรณ์ติดตามบุคคลสำหรับติดตามเด็กที่ใช้งานในโรงเรียนหลายแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา

หัวเว่ย
Thailand IoT Industry Summit 2019
5 อุตสาหกรรมอนาคต จะเร่งสปีดได้ด้วย IoT

IoT จะเข้าไปช่วยขับเคลื่อน 5 อุตสาหกรรมอนาคต (S-Curve)ที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Bio chemicals) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) โดยตั้งใจให้เป็นการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานรูปแบบใหม่

เศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย IoT

ความต้องการเทคโนโลยี IoT ที่กำลังเพิ่มขึ้นในทุกประเภทอุตสาหกรรม การพัฒนาสาธารณูปโภคอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ ตลอดจนการผลักดันจากภาครัฐได้ขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีการใช้งานเทคโนโลยี IoT ในภาคอุตสาหกรรมให้ขยายตัวต่อไป

อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพที่ขับเคลื่อนด้วย IoT

สถาบัน IoT กำลังมีส่วนช่วยพัฒนาแรงงานดิจิทัลด้านการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพเพื่อรองรับความต้องการของตลาด

อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ที่ขับเคลื่อนด้วย IoT

บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ได้ใช้เทคโนโลยีบางตัวที่ใช้ดาต้าเป็นตัวขับเคลื่อน เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ ในหลายๆ รูปแบบ ตั้งแต่การขนส่งทางเรือและทางอากาศ ไปจนถึงการเก็บและการส่งสินค้า การใช้งานบางอย่างต้องการการติดตามการส่งสินค้าแบบเรียลไทม์ การขยายประสิทธิภาพของคลังสินค้า การคาดการณ์การซ่อมบำรุงทรัพยากร การคำนวณเส้นทางให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การส่งสินค้าไปยังปลายทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอื่นๆ

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย IoT

หุ่นยนต์ต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอัตโนมัติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยี IoT การผสานบิ๊กดาต้าเข้ากับการวิเคราะห์ในระบบอัตโนมัติของโรงงาน เซ็นเซอร์อัจฉริยะ และอุปกรณ์กระตุ้นการทำงานจากอุปกรณ์ IoT ที่รับส่งข้อมูลโดยใช้ IP เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น

อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย IoT

การผสานเทคโนโลยี IoT เข้ากับการแพทย์และการดูแลสุขภาพมีโอกาสมากมายที่รอให้นำไปใช้งาน ในขณะที่ตลาดเองนั้นก็มีความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระดับที่สูงเช่นกัน

ทั้งนี้การเฝ้าติดตามการแพทย์ทางไกล โดยหลักๆ จะใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IoT เพื่อสร้างระบบการให้คำปรึกษาทางไกล โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และระบบการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤต เทคโนโลยีรถเข็นผู้ป่วยอัจฉริยะเพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังจุดหมายปลายทางได้สะดวกสบายและปลอดภัย แอพพลิเคชั่นระบุตำแหน่ง GPS สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจก็อาจจะเป็นแอพพลิเคชัน IoT ที่ใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อน

พันธสัญญาของหัวเว่ยในการ สร้างระบบนิเวศและพัฒนา IoT ในประเทศไทย

1. สนับสนุนพันธมิตร Software Integrator (SI) ในประเทศไทย

บริษัทพันธมิตร SI ในประเทศไทยต้องการแพลตฟอร์ม IoT ที่ทรงพลังเป็นที่ยอมรับ เพื่อผสานการใช้งานอุปกรณ์ดีไวซ์ แอปพลิเคชัน และโซลูชัน IoT เพื่อให้บริการตามความต้องการของลูกค้า

แพลตฟอร์ม OceanConnect IoT อยู่ในพับลิคคลาวด์ของหัวเว่ย ช่วยให้พันธมิตร SI สามารถพัฒนา IoT และนำแอปพลิเคชันออกสู่ตลาดได้เร็วมากขึ้น บริษัทคู่ค้า SI ในประเทศไทยก็จะได้รับการสนับสนุนรอบด้านทั้งการฝึกอบรมทางด้านเทคนิค การจับคู่กับพันธมิตรด้านดีไวซ์ และการผสานบริการกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ

แพลตฟอร์ม OceanConnect IoT ของหัวเว่ยสามารถสนับสนุนพันธมิตร SI, ธุรกิจสตาร์ทอัพ และนักพัฒนาเพิ่มเติมในการผลักดันแอปพลิเคชันสู่ตลาดโลก อาทิ โลจิสติกส์ การผลิตพลังงาน โรงพยาบาลและการดูแลสุขภาพ องค์กรธุรกิจ โรงเรียน เมือง และอื่นๆ

2. การผนวกรวมชุมชนพันธมิตร IoT ทั้งในและต่างประเทศ สนับสนุนนักพัฒนาและ SI ในการขับเคลื่อน IoT ให้เข้าสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น

เพื่อเป็นการส่งเสริมเทคโนโลยี IoT ให้เติบโตยิ่งขึ้นในประเทศไทย สมาชิกในกลุ่ม IoT Alliance ทั้งในและต่างประเทศ จะผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ภาครัฐ อุตสาหกรรมและผู้จำหน่ายดีไวซ์ IoT จากทั่วโลก เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนา IoT และสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ กลุ่ม SI และนักพัฒนาสามารถที่จะมุ่งเน้นในด้านกระบวนการพัฒนา โดยหัวเว่ยจะช่วยเชื่อมต่อกับชุมชนที่เป็นพันธมิตรให้

3. การนำรูปแบบการใช้งานมาสู่ลูกค้าชาวไทยให้มากขึ้น

ทั่วโลกมีตัวอย่างการใช้งาน (Use Case) แอปพลิเคชัน IoT น่าสนใจมากมายซึ่งนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้ อาทิ สมาร์ทมิเตอร์ ที่จอดรถอัจฉริยะ ระบบตรวจจับควันอัจฉริยะ ระบบติดตามอัจฉริยะ และการเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น ในการประชุมครั้งนี้จะมีผู้จำหน่าย ดีไวซ์จากทั่วโลก บริษัท SI ทั้งในและต่างประเทศ ลูกค้าท้องถิ่น รัฐบาล ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ และองค์กรด้าน IoT ที่เกี่ยวข้องที่จะมาร่วมหาแนวทางต่อยอดตัวอย่างการใช้งาน IoT ที่มีศักยภาพและความเป็นไปได้ รวมถึงโอกาสที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าชาวไทย

โดยความพยายามครั้งนี้จะทำให้ประเทศไทยภายใน 2 -3 ปีข้างหน้า กลายเป็นประเทศหลักในภูมิภาคนี้ที่จะได้ทดลองใช้งาน NB-IoT ได้มากพอๆ กับที่ใช้กันทั่วโลกทั้ง 50 รูปแบบใน 40 ประเทศทั่วโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 อาทิ สมาร์ทซิตี้ ที่มีทั้งเรื่องของระบบแสงไฟถนนอัจฉริยะ มิเตอร์น้ำอัจฉริยะ มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่จอดรถอัจฉริยะ ระบบดักจับควันอัจฉริยะ ระบบเฝ้าดูแลถังขยะ ระบบเฝ้าติดตามฝาท่อน้ำ

ในส่วนของสมาร์ทอินดัสทรี จะครอบคลุมเรื่องของการเกษตรอัจฉริยะ Connected Cow ระบบคลังสินค้าและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Tracking) ระบบติดตามการขนส่งสินค้า ขณะระบบสมาร์ทไลฟ์ จะครอบคลุมเรื่องของระบบติดตามมอเตอร์ไซค์ ระบบติดตามคน สมาร์ทล็อค หรือระบบที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และปลอดภัยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีนั่นเอง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

หัวเว่ย

Related Posts