‘นาแปลงใหญ่’ นโยบายที่สร้างรายได้เพิ่มอย่างยั่งยืน

‘นาแปลงใหญ่’ นโยบายที่สร้างรายได้เพิ่มอย่างยั่งยืน

การส่งเสริมทำนาแปลงใหญ่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่ช่วยให้ชาวนามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากคนเดียวสู่การรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้ชาวนาได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ผลที่ได้คือให้ต้นทุนด้านการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อขายสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด สร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคง นอกจากนี้ด้วยการรวมตัวเป็นนาแปลงใหญ่นี่เอง ที่ทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีใหม่จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพมากกว่าเดิมออกสู่ตลาด
ในส่วนของการปลูกข้าวนั้น

กรมการข้าวรับหน้าที่เป็นพระเอกในเรื่องนี้และได้ ดำเนินการส่งเสริมการทำนาแปลงใหญ่ มาตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีจำนวนนาแปลงใหญ่ทั้งสิ้น 2,741 แปลง ชาวนา 220,614 ราย พื้นที่ 3,102,303 ไร่ จากการดำเนินงานช่วยชาวนาสามารถลดต้นทุนการผลิตเฉลี่ยประมาณ 470 บาทต่อไร่ หรือลดลง 14% ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 78 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 12% และมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,136 บาทต่อไร่

“กรมการข้าวได้คัดเลือกกลุ่มนาแปลงใหญ่ที่ประสบความสำเร็จของแต่ละจังหวัดเพื่อนำมาเป็นต้นแบบ ขยายผลสู่พี่น้องชาวนาให้เกิดความตระหนักและเปลี่ยนแปลงจากการทำนาแบบเก่ามาสู่การทำนายุค 4.0 ที่เน้นการรวมกลุ่มใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพิ่มศักยภาพการผลิตและมีตลาดรองรับที่แน่นอน อย่างเช่นกลุ่มนาแปลงใหญ่ในพิษณุโลกและอุตรดิตถ์ต้นแบบความสำเร็จ รวมผลิต รวมจำหน่าย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ชาวนามีรายได้เพิ่มเฉลี่ย 1 พันบาทต่อไร่”

นาแปลงใหญ่

ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ อาทิ “กลุ่มนาแปลงใหญ่ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านผารังหมี” จังหวัดพิษณุโลก แต่เดิมคือ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านผารังหมี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2543 เกษตรกรชาวบ้านผารังหมี ประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้มาแนะนำส่งเสริมและดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน” พร้อมสนับสนุนพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 3 ตัน เพื่อให้เกษตรกรนามาขยายพันธุ์และพัฒนาคุณภาพพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพดี

จากนั้นได้เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เมื่อปี 2560 โดยมีชื่อว่า “ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านผารังหมี” และได้ใช้เทคโนโลยีในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ได้แก่ การใช้เครื่องหยอดข้าวงอก และเครื่องหยอดข้าวแห้ง ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ไถกลบปอเทืองก่อนปลูกข้าว ใช้ปุ๋ยตามคาแนะนาทางวิชาการ ควบคุมศัตรูข้าวโดยวิธี IPM และเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง สามารถลดต้นทุนการผลิตจาก 3,500 บาทต่อไร่ เป็น 3,000 บาทต่อไร่ เพิ่มผลผลิตจาก 550 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 700 กิโลกรัมต่อไร่ และมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 1,010 บาทต่อไร่ เป็น 2,600 บาทต่อไร่

นาแปลงใหญ่

มีการเชื่อมโยงตลาดกับสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จากัด และ บจก. โรงสีเกาะแก้วเจริญธัญญา 2 อาเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ในการรับซื้อผลผลิตข้าวจากสมาชิก นอกจากนี้ กลุ่มยังได้พัฒนากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก เกษตรกร และชุมชน เช่น ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ กองทุนธนาคารข้าวหมู่บ้าน โรงสีข้าวชุมชนลานตากข้าวชุมชน เครื่องคัดพันธุ์ข้าวพร้อมโรงเรือน เป็นต้น

มีการสนับสนุนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและสมาชิก ผลิตสินค้าข้าว คือ ข้าวสารและข้าวกล้องหอมมะลิบ้านผารังหมี โดยมีชื่อทางการค้าของหมู่บ้านว่า “ข้าวนาผางาม” และยังมีการออมทรัพย์ภายในศูนย์เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกอีกด้วย

เช่นเดียวกับ “กลุ่มนาแปลงใหญ่สหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด” จังหวัด อุตรดิตถ์ เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่เมื่อปี 2559 มีจำนวนแปลงใหญ่ 17 แปลง โดยแยกเป็นแปลงใหญ่ข้าว 16 แปลง และแปลงใหญ่ประมง 1 แปลง และปี 2563 มีแปลงเตรียมความพร้อมแปลงใหญ่ข้าวอีก 3 แปลง ปัจจุบันมีสมาชิก 132 ราย พื้นที่เข้าร่วมโครงการ 1,304 ไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์

และข้าวเปลือกคุณภาพพันธุ์ปทุมธานี 1 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จากการเข้าร่วมโครงการสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ สามารถลดต้นทุนการผลิตจาก 3,843.33 บาทต่อไร่ เหลือ3,040 บาทต่อไร่ เพิ่มผลผลิตจาก 626.67 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 700 กิโลกรัมต่อไร่ และมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,960 บาทต่อไร่

“สหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อเป็นกลุ่มสมาชิกที่ใช้วิธีทานาแบบปักดาเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชในนาข้าวและใช้สารชีวภัณฑ์เป็นหลัก แทนการใช้สารเคมี รวมไปถึงยังมุ่งรักษาอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไทยเป็นแบบอย่างที่ดีและสร้างความสามัคคีในกลุ่มและชุมชนใกล้เคียง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผลิตและบริโภคข้าวปลอดสารพิษ โดยมีกิจกรรมกลุ่มซึ่งประกอบไปด้วย การทาสารชีวภัณฑ์รักษาโรค ไล่แมลง ฮอร์โมนบำรุงพืชร่วมกับทางเกษตรอาเภอพิชัย และในอนาคตมีแผนที่จะทำโรงสีข้าวกล้องเพื่อการแปรรูป”

นาแปลงใหญ่

โดยแปลงใหญ่สหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ ได้พัฒนาช่องทางการตลาดโดยการสีข้าวเอง และบรรจุในบรรจุภัณฑ์เพิ่มช่องทางจำหน่ายและเพิ่มมูลค่า และมีการเชื่อมโยงการตลาดกับโรงสีข้าวและชุมนุมสหกรณ์อุตรดิตถ์ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ พัฒนาคุณสมบัติของข้าวพิษณุโลก 80 เป็นข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า จังหวัดพิษณุโลก มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ตั้งแต่ ปี 2559 จำนวน 4 กลุ่ม พื้นที่รวม 7,425 ไร่ เกษตรกร 470 ราย ในปี 2562 มีแปลงเข้าร่วมเพิ่มขึ้นเป็น 39 แปลง เป็นแปลงต่อเนื่อง (ปี 60 -61) จำนวน 29 แปลง แปลงใหม่อีก 10 แปลง เกษตรกรทั้งสิ้น 2,308 ราย พื้นที่รวม 52,250.35 ไร่ ส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ตั้งแต่ ปี 2558 จำนวน 8 กลุ่ม พื้นที่รวม 38,503 ไร่ เกษตรกร 1,842 ราย ในปี 2562 มีแปลงเข้าร่วมเพิ่มเป็น 32 แปลง เป็นแปลงต่อเนื่อง (ปี 60 -61) จำนวน 24 แปลง แปลงใหม่ 8 แปลง เกษตรกรทั้งสิ้น 2,611 ราย พื้นที่รวม 47,232 ไร่

ด้านนางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า นอกจากการส่งเสริมการทำนาในระบบแปลงใหญ่แล้ว กรมการข้าวยังมีกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เรื่องข้าวในโรงเรียน เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกข้าวสำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ให้เห็นความสำคัญของข้าวและชาวนา พร้อมยกย่องเชิดชูเกียรติชาวนาให้เป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตคนไทย ส่งผลให้เยาวชน บุตรหลานชาวนาเกิดความรัก หวงแหน และพร้อมที่จะสืบทอดอาชีพการทำนาต่อไปด้วยความภาคภูมิใจ

“โดยให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้เรื่องข้าวและการทำนา มีการให้ความรู้ตั้งแต่กระบวนการก่อนปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว มุ่งเน้นให้นักเรียนมีการฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเอง รวมทั้งมีการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นตามช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของข้าว ส่งผลให้นักเรียนได้รับรู้ถึงความยากลำบากในการทำนา และมีทัศนคติที่ดีต่อข้าวและชาวนา สำหรับพื้นที่ดำเนินการจะเป็นแปลงนาของโรงเรียนที่คัดเลือกหรือเป็นแปลงนาใกล้เคียงกับพื้นที่นาแปลงใหญ่ก็ได้”

ตัวอย่าง โรงเรียนบ้านปากคลอง ต.คอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ได้ทำกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เรื่องข้าวในโรงเรียนต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เข้าร่วมกิจกรรม ทำนาบนพื้นที่ 11 ไร่ มีการสอนให้เรียนรู้การทำนาทุกขั้นตอนตั้งแต่ปลูกข้าว ดูแล เก็บเกี่ยว ตากจนกระทั่งสีแปรรูปเป็นข้าวสาร แพ็คและจำหน่ายเอง ซึ่งนักเรียนที่ได้ทำกิจกรรมเหล่านี้สามารถพัฒนาไปสู่การเป็น Young Smart Farmer และไปสู่การเป็น Smart Farmer ได้ในอนาคต

แนวทางการดาเนินโครงการ เลือกเทคโนโลยีที่สนใจอยากทดสอบตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงเก็บเกี่ยว และพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในท้องที่ นำมาทดสอบในแปลงเรียนรู้ คัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจ และสร้างกลุ่มปลูกข้าวในโรงเรียน, วางแผนการทาแปลงเรียนรู้ โดยเตรียมแปลงให้พร้อมที่จะเป็นจุดถ่ายทอดให้แก่นักเรียนในโรงเรียน หรือโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง

หรือหากไม่มีพื้นที่ให้สามารถปลูกข้าวในกระถาง หรือวงบ่อซีเมนต์ตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยมีการดูแลตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษาแปลงนา การกาจัดศัตรูข้าว การรวมกลุ่มจัดทาสารกาจัดศัตรูพืช หรือสาธิตทาปุ๋ยหมักชีวภาพ จนถึงวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว สาธิตการแปรรูป เป็นต้น

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

กรมการข้าว

Related Posts