วีม ซอฟต์แวร์ รุกจัดสัมมนาใหญ่ในไทย สร้างความเข้าใจการแบ็กอัพข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมรุกคืบสู่เป้าหมายการเป็นเบอร์ 1 ด้านแบ็กอัพข้อมูลภายใน 2 ปี ชูความโดดเด่นของบริษัทที่เติบโตจากวิช่วลไลเซชั่นโดยตรง ภายใต้การจัดการที่ง่ายในการใช้งานที่หลากหลาย เสถียรบนความซับซ้อน และยืดหยุ่นได้กับทุกรูปแบบการทำงานอัจฉริยะ
ฌอน แม็กลาแกน รองประธานบริหารอาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัท วีม ซอฟต์แวร์ กล่าวว่า วันนี้โลกของข้อมูลมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปริมาณมากทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้การรับส่งข้อมูลและการเก็บรักษา มีความเสถียรและต่อเนื่องในการใช้งาน
วันนี้ดาต้าเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง 10 ปีที่ผ่านมา ไอทีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ดาต้าเซ็นเตอร์ เราสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้จากทุกอุปกรณ์ มีพัฒนาการวิธีการมากมายเพื่อสร้างรูปแบบการเข้าถึงที่รวดเร็วและต่อเนื่อง ภายใต้โครงสร้างที่รองรับการทำงานของ คลาวด์, โมบาย, AI/ML และ IoT ยุคใหม่
ตอนนี้เราเริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในการสร้างการเติบโตให้กับวีม จากการได้รับเงินสนับสนุน 500 ล้านเหรียญ ในการต่อยอดด้านการวิจัยและพัฒนาของเรา ซึ่งปัจจุบันเรามีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 4 พันรายในปี 2019 นี้ (รวมลูกค้าทั้งหมดกว่า 3.5 แสนรายทั่วโลกในปี 2019) คิดเป็นการเป็นการเติบโตกว่า 36%เทียบกับปีที่ผ่านมา
ธุรกิจช่วงที่ผ่านมาเราพุ่งเป้าไปที่ ดาต้าเซ็นเตอร์สมัยใหม่ ขณะที่ในปี 2019 เราจะพุ่งเป้าไปที่ไฮบริดคลาวด์ ซึ่งเราคาดว่าตลาดการจัดการข้อมูลบนคลาวด์จะมีมูลค่ากว่า 3.1หมื่นล้านเหรียญ โดยเราจะพยายามให้เป็นที่หนึ่งด้านการแบ็คอัพข้อมูลบนคลาวด์ ด้วยความง่าย ยืดหยุ่น ไว้ใจได้และสเถียรในการใช้งานให้ได้ภายใน 2 ปี
ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม และในเวลาที่ใช่ในยุคที่ข้อมูลมีความสำคัญและคลาวด์เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ด้วยความโดดเด่นของเทคโนโลยีที่้เรามี พร้อมทั้งพาร์ทเนอร์ที่นับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของเรา ที่จะที่ให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

นายเจษฏา ภาสวรวิทย์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย และกัมพูชา ลาว พม่า กล่าวว่า ในประเทศไทยเรามีลูกค้าใหม่เติบโตขึ้นกว่า 36% นับเป็นการเติบโตขึ้นมากกว่าเบอร์หนึ่ง และหากย้อนกลับไป 3 ปี เราเติบโตต่อเนื่องกว่า 21% เพิ่มคนจาก 2ปีที่ผ่านมากว่า 62% และเป็นเบอร์ 3 ของตลาดโซลูชั่นวิช่วลไลเซชั่นแบ็กอัพในประเทศไทย
ด้วยความที่เราเติบโตมากับยุคของคลาวด์ การเกิดขึ้นของวิช่วลไลเซชั่น ในยุคที่วีเอ็มแวร์เกิดขึ้น ซึ่งทำให้เรามีจุดแข็งของการเกิดขึ้นบนพื้นฐานของคลาวด์ ซึ่งแตกต่างจากรายอื่นๆที่โตขึ้นมาจากฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ทำให้เราพัฒนาไปได้เร็วในทิศทางที่ถูกต้อง บนความนิยมของคลาวด์ที่เกิดขึ้น
ในส่วนของการขาย เราร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เป็นหลัก ซึ่งวีม ไม่มีการจำหน่ายเองในประเทศ เราขายผ่านตัวแทนทั้งหมด ซึ่งแตกต่างตามรูปแบบของผู้จัดจำหน่ายทั้งยกโซลูชั่นหรือขายพ่วงระบบของลูกค้าเองแบบโออีเอ็มก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่นการจำหน่ายคลาวด์ของเอไอเอสก็เป็นระบบแบ็กอัพของวีมเช่นกัน
วีม มีโซลูชั่นที่รองรับการจัดการแบ็กอัพข้อมูลตั้งแต่ระดับ เอสเอ็มอีจนถึงระดัยเอนเตอร์ไพรส์ โดยเรามีลูกค้าทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โรงพยาบาล ธุรกิจอาหาร และกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งในปี 2019 เราตั้งเป้าที่จะขยายไปสู่บริษัทที่รับรู้ความเสี่ยงของข้อมูลเป็นหลัก อีกทั้งในกลุ่มบริษัทที่มีการแข่งขันด้านข้อมูลสูงเป็นพิเศษ

ด้านเอฟเฟนดี้ อิบราฮิม รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี ระบุว่า ปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นในปี 2018 มีอยู่ราว 33 ZB และคาดว่าจะเติบโตขึ้นกว่า 175 ZB ในปี 2025 ขณะที่ความสูญเสียของธุรกิจจากการเกิดดาวน์ไทม์ของดาต้ามีมูลค่าสูงถึง 20 ล้านเหรียญ ซึ่งผู้บริหารกว่า 38% ระบุว่าความเสียหายกระทบถึงความน่าเชื่อถือต่อองค์กรและของแบรนด์อีกด้วย
ความท้าทายของผู้บริหารไอทีในการรับมือกว่า 44% เชื่อว่าถ้ามีระบบการจัดการดาต้าที่ฉลาดมากขึ้นก็น่าจะจัดการได้ และกว่า 99% เชื่อว่าการมีระบบที่ดีขึ้นจะทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่กระนั้นก็ยังต้องหาวิธีการเพื่อค้นหาและสร้างระบบการจัดการดังกล่าว
แต่กระนั้นข้อจำกัดของโครงสร้างข้อมูลที่มีอยู่ทำให้ไม่สามารถก้าวข้ามไปได้ นอกจากนั้นยังมีเรื่องของบุคคากรด้านไอที ซึ่งเคยชินกับระบบเดิมๆ และความเข้าใจที่ผิดของการเปลี่ยนแปลงทำให้จมอยู่กับวิธีการเดิมๆอยู่ต่อไป และยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงก็เป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ดิจิทัล และระบบแบ็กอัพก็เป็นหนึ่งในเรื่องดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบ
แต่วันนี้รูปแบบการแบ็กอัพเปลี่ยนแปลงจากเดิม เนื่องจากการถูกโจมตีด้านข้อมูลเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งระบบแบ็กอัพที่ดีจะต้องสอดรับกับการแก้ไขการโจมตีดังกล่าว และสนับสนุนการสร้างฟีเจอร์ใหม่ของระบบไอทีภายในองค์กรอย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
แน่อนนว่าเรื่องที่ปวดใจของระบบแบ็กอัพ คืองบประมาณค่าใช้จ่ายที่ไม่ใข่ส่วนของการสร้างรายได้โดยตรง อีกทั้งการเลือกโซลูชั่นแบ็กอัพ ยังต้องยุ่งยากในการทดสอบระบบก่อนการใช้งานจริง แน่นอนว่าระบบเก่าที่มีอาจจะไม่รองรับการแบ็คอัพได้แบบง่ายๆ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาจะต้องไม่เกิดขึ้นในระบบแบ็กอัพรุ่นใหม่นี้อย่างแน่นอน
โซลูชั่นการแบ็กอัพของ วีม จะช่วยให้ลูกค้า สามารถย้ายข้ามระบบโครงสร้าง ระบบคลาวด์ และโซลูชั่นต่างๆ ได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความง่ายในการจัดการ ช่วยลดเวลาการแบ็กอัพระบบได้อย่างรวดเร็วแม้ว่าจะมีปริมาณข้อมูลมหาศาลก็ตาม

เรย์มอนด์ โกะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระบบ ภูมิภาคเอเชียและญี่ปุ่น กล่าวว่า แม้ว่าเราจะอยู่ในยุคของข้อมูล แต่เราก็ไม่ต้องการให้ข้อมูลเหล่านั้นนำเราไปอย่างไร้ทิศทาง ซึ่งการจัดการข้อมูลจึงต้องสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์การเป็นสำคัญ ซึ่งการแบ็กอัพก็เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการข้อมูล
เรามี Veeam Availability Platform ซึ่งจะจัดการรักษาข้อมูลในระดับคอร์หลักของโครงสร้างทั้งหมด และครอบด้วยการจัดการระดับอัจฉริยะจากการพัฒนาโดย DataLabs เพื่อรองรับการพัฒนาโซลูชั่นขององค์กรหากต้องการเรียกใช้งานดาต้าที่เก็บอยู่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทำให้แม้ว่าจะเป็นการแบ็กอัพข้อมูลแต่ก็พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา เสมือนหนึ่งการเป็น DR ไซต์
ฟีเจอร์ Orchestration เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์สำคัญ ที่จะรองรับการพัฒนาร่วมกันของข้อมูลและแผนกพัฒนาบนเครื่องมือการทำงานรูปแบบต่างๆกันภายในองค์กร
วันนี้โลกของการแบ็กอัพข้อมูล กำลังเข้าสู่โลกของการจัดการคลาวด์แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นอีกยุคของการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ทั้งระบบ ซึ่งเป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อการใช้งานคลาวด์โดยเฉพาะ ด้วยรูปแบบการพัฒนาที่เราเรียกว่า Native Azure Backup ซึ่งรองรับการทำงานข้อมูลคลาวด์ที่สมบูรณ์แบบ ครอบคลุมการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ NAS VMware และการผสานข้อมูลจากภายนอก พร้อมการจัดการแบบอัจฉริยะเพื่อช่วยลดภาระให้บุคคลากรไอที
เรามุ่งมั่นที่จะสร้างความสเถียรทางด้านข้อมูลให้กับลูกค้า และรองรับการทำงานแบ็กอัพข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ และท้ายที่สุดระบบการแบ็กอัพของเราจะต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาใหม่ๆให้กับองค์กรธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การเติบโตขององค์กรธุรกิจต่อไปในอนาคต