LINE ประเทศไทย จับมือพันธมิตร สำนักข่าวเอพี พร้อมกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจเพื่อสังคม และสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผุดโครงการอบรมพุ่งเป้าสร้างความรู้ให้กลุ่มนักเรียนนักศึกษาเข้าสัมมนาเวิร์คชอป ‘Stop Fake News ข่าวจริงหรือข่าวปลอม คิดก่อนกด’ พร้อมวัดผลหลังการสัมมนา เพื่อต่อยอดสู่โมเดลการป้องกันข่าวปลอมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
ดร.พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท LINE ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เราทำโครงการนี้กับ 3 ประเทศในโซนเอเชีย โดยเริ่มทำในประเทศไทยเป็นประเทศแรก และต่อไปจะทำที่ไต้หวันและอินโดนีเซียในลำดับต่อไป โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศไทยที่ผู้บริหารไลน์ประเทศไทยให้ความสนใจ ที่จะสร้างพื้นที่การสนทนาออนไลน์ที่ปลอดภัยจากข่าวลวงเป็นอย่างมาก และด้วยความจำเป็นอย่างเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเราในฐานะหนึ่งในสื่อโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น
ทั้งนี้ด้วยปริมาณการใช้งานแอปพลิเคชั่น LINE ของคนไทย ภายใน 1 วันมีคนไทยใช้ฟีเจอร์ในแอปพลิเคชั่นไลน์ราว 216 นาที จากจำนวนบัญชีผู้ใช้กว่า 44 ล้านบัญชีที่สมัครในประเทศไทย นับเป็นการใช้งานเป็นอันดับต้นๆของโลก และด้วยฟีเจอร์ที่มากมายของเราแล้ว เรายังมีไลน์ ทูเดย์ ซึ่งนำเสนอด้านข่าวสารที่มีผู้อ่านกว่า 36 ล้านคน โดยมีข่าวสารที่นำเสนออยู่ราวหลักพันล้านข่าว
การหยุดยั้งข่าวปลอมนับเป็นหนึ่งพันธกิจของเราที่ตั้งใจป้องกัน ด้วยปริมาณข้อมูลที่ไหลผ่านเรา และถูกใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นนี้ ทำให้เราสร้างสรรค์โครงการเช่นนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดยั้งข่าวปลอม เนื่องจากเราเชื่อว่าการหยุดยั้งข่าวปลอมจะต้องเริ่มต้นจากคน ด้วยการส่งเสริมให้ความรู้ที่ถูกต้อง
ความร่วมมือของไลน์กับหน่อยงานภาครัฐ เรามีความทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว โดยต้องบอกก่อนว่าเราไม่ได้มีนโนบายการเฝ้าดูเนื้อหาส่วนบุคคล แต่เรามีนโยบายการกดรายงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถรายงานข้อความเท็จผ่านระบบได้
การแก้ไขข่าวปลอมที่ถูกต้อง เราต้องแก้ไขที่ผู้คนก่อน ด้วยพื้นฐานของผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน การให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับกลุ่มเป้าหมายอย่างนักศึกษาจะทำให้ความถูกต้องกระจายตัวสู่ประชาชนที่ใช้งานได้อย่างรวดเร็วดังที่เราตั้งใจ
ทั้งนี้การกดรีพอร์ตเรื่องราวที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เป็นการแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากทั้งระบบของแอปพลิเคชั่นไลน์ โดยมีกระบวนการทำงานส่งตรงไปที่ต่างประเทศโดยตรงเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า วันนี้ข่าวปลอมมีผลกระทบกับผู้คนทั้งประเทศ ทั้งในระดับสังคมและส่วนตัว นอกจากนี้ในหลายๆประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการป้องกันข่าวปลอมมากขึ้น
วันนี้เราต้องให้ความสนใจเนื่องด้วยแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จากเดิมที่เรามีการอ่านข่าวจากสำนักข่าว ซึ่งมีกระบวนการและจรรยาบรรณในการนำเสนอที่หวงแหนคุณภาพและเนื้อหาข่าวอย่างตั้งใจ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องใช้เลี้ยงครอบครัว ทำให้นักข่าวต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในทุกกระบวนการ
แต่ด้วยการเติบโตของโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้ทุกคนสามารถเขียนข่าวได้ เครื่องของการเผยแพร่ที่ทรงอิทธิพลอยู่ในมือของทุกคนได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะตื่นมาเขียนจากความคิดเห็นของตนเอง หรือการกดแชร์ข่าวปลอมต่อโดยที่ไม่แม้แต่จะอ่าน ทำให้สิ่งเหล่านั้นไม่ได้รับการตรวจสอบแต่อย่างใด จนข่าวที่บิดเบือนข้อเท็จจริงถูกแพร่ระบาดออกไปอย่างรวดเร็ว
การหยุดยั้งข่าวปลอมไม่ใช่เรื่องยากเลยถ้าเราสามารถช่วยกันป้องกัน เมื่อเราเห็นข่าวของการเผยแพร่มีความผิดปกติหรือไม่น่าจะมีความเป็นไปได้จากเนื้อหาที่เผยแพร่ เราควรยุติการแชร์ก่อนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ขั้นตอนง่ายๆเหล่านี้จะช่วยหยุดการแพร่กระจายข่าวปลอมของโลกออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อยากให้กำลังใจทุกคนที่เข้ามีส่วนร่วมในการลงมือทำโครงการต่างๆ เพื่อยุติหรือสะกัดกั้นการเผยแพร่ข่าวปลอมที่เกิดขึ้น ผมรู้ว่ามันไม่ง่ายที่จะทำให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเราร่วมกันลงมือทำแล้ว เชื่อว่าข่าวปลอมก็น่าจะลดลงมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ในส่วนของศูนย์ป้องกันข่าวปลอมของกระทรวงดิจิทัลฯ เชื่อว่าจะจัดตั้งได้สำเร็จในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ และศูนย์แห่งนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันข่าวปลอมของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ไลน์ก็เป็นแพลตฟอร์มแชทไลน์เอกชนที่คนไทยใช้งานเยอะมาก ความร่วมมือกับไลน์ในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะเผยแพร่และยุติการเผยแพร่ข่าวปลอม ผ่านเครื่องมือไลน์กลุ่มและเครื่องมือพิเศษที่เราจะสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับการตรวจสอบข่าวสารที่เกิดขึ้น
วันนี้เรามีการทำงานกันทุกวัน ทั้งการใช้เทคโนโลยเข้ามาช่วยในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเอไอ และบุคคลากรที่มีความเขี่ยวชาญเฉพาะด้าน เราพยายามใช้เครื่องมีที่มีมาตรฐานในการตรวจสอบแบบสากล ซึ่งหากเราสามารถทำได้ แพลคฟอร์มแชทต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็จะสามารถเข้ามาอยู่ในระบบนี้ได้ ซึ่งก็จะทำให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงด้านการข่าวที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าความชัดเจนของศูนย์ข่าวปลอม เราจะต้องไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่จะต้องเป็นศูนย์ที่ป้องกันข่าวปลอมทั้งในส่วนข่าวภัยพิบัติ ข่าวการเงินและข่าวเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นแบบผิดๆ ซึ่งเป็นข่าวที่กระทบต่อสังคมส่วนรวม อันจะเป็นหน้าที่หลักของศูนย์แห่งนี้ โดยเรื่องที่เราจะทำต่อไปนี้คือการให้ความรู้ประชาชนเพื่อวิเคราะห์ข่าวปลอมได้ด้วยตนเองในลำดับต่อไป ทั้งการอบรมและการให้ความรู้จากหลายๆหน่วยงานในการป้องกัน ‘เช็คก่อนแชร์’
ขณะที่รูปแบบของการทำข่าวปลอมเริ่มมีการพัฒนาออกมาเป็นคลิปชนคลิป มีการตัดต่อคลิปต่างๆเข้ามาจากหลายๆแหล่งมีผสมรวมกัน มีการตัดคำบางคำมารวมกันเพื่อสร้างความเข้าใจตามที่ผู้ไม่หวังดีต้องการ ทำให้การสังเกตข่าวปลอมทำได้ยากมากขึ้น ดังนั้นความรู้ด้านดิจิทัลจึงเป็นส่วนหนึ่งที่เราจะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี การให้ความรู้เหล่านี้จะช่วยให้ประชาชนได้รู้เท่าทันและวิเคราะห์ข่าวสารบนข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องมากขึ้น