ไทยจับมือไต้หวันปูทางสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย

ไทยจับมือไต้หวันปูทางสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย

ไทยและไต้หวันจับมือจัดสัมมนา “Thailand-Taiwan Smart Healthcare Seminar & Trade Meeting 2019” เพื่อร่วมสร้างประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชียและได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Healthcare) ซึ่งสอดคล้องกับจุดเด่นของภาคอุตสาหกรรมไต้หวัน หวังสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและไต้หวันในด้าน Smart Healthcare

นาย เจสัน ซู ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาความสำเร็จด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไต้หวันก่อให้เกิดนวัตกรรมสุขภาพและการแพทย์ และได้รับการกล่าวถึงในระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ เซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งใช้ในบริษัท อิลลูมิน ซึ่งเป็นบริษัทด้าน genetic sequencing ที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงแผงวงจรของอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้โดยทั้ง GE และซีเมนส์ เช่นเดียวกับองค์กรสำคัญ อาทิ World Physician Conference และ American Medical Association ได้มาเยือนไต้หวัน ต่างให้การยอมรับเทคโนโลยีและมองเห็นความเป็นไปได้ในทางธุรกิจของอุตสาหกรรมสุขภาพของไต้หวัน

นางช่าวฮุย หลิน รองผู้อำนวยการบริหาร สภาพัฒนาการค้าภายนอกไต้หวัน (TAITRA) กล่าวว่า บริษัทไต้หวันที่มาร่วมงานในวันนี้ ได้นำเสนอจุดเด่นของอุตสาหกรรมไต้หวันที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence Award ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงเศรษฐกิจ ไต้หวัน ในปี 1993 รางวัลนี้มีคณะกรรมการกว่า 100 คนในการประเมินผลิตภัณฑ์ทั้งด้านวิจัยและพัฒนา การออกแบบ คุณภาพ การตลาด ซึ่งจัดขึ้นทุกปี มีเฉพาะผลิตภัณฑ์ชั้นนำเท่านั้นที่จะมีคุณสมบัติที่เหมาะสม

Smart Healthcare

โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลสามารถใช้โลโก้ Taiwan Excellence ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคและผู้ซื้อสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น เช่นเดียวกับที่ผู้บริโภคเลือกร้านอาหารที่ดีทีสุดจาก MICHELIN STAR ซึ่งรางวัลทั้งสองมีความคล้ายกัน ผู้ชนะรางวัลได้รับคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญใน 5 ด้าน ดังนั้นความไว้วางใจการเป็นที่รู้จักในระดับโลก และการได้รับการชื่นชอบจากผู้บริโภค และการมีภาพลักษณ์ที่ดี

ทั้งนี้ บริษัททั้งหกของไต้หวันที่มาร่วมงานได้แก่ HIWIN TECHNOLOGIES CORP, Advantech Co. Ltd., IEI Integration Corp., Mediland Enterprise Corporation, Imediplus Inc. และFaspro Systems Co. Ltd.,

ด้านนายไซรัส ตง ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป HIWIN TECHNOLOGIES CORP ได้นำเสนอหัวข้อ การผ่าตัดด้วยกล้องส่องระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ โดยแนะนำที่วางกล้องส่องที่จะช่วยการผ่าตัดด้วยกล้องส่องมีประสิทธิภาพ เพราะได้ภาพที่นิ่ง ลดอาการวิงเวียน และอาการเหนื่อยล้าทางสายตา รวมถึงแท่นถีบที่ง่ายต่อการใช้งาน

นายวัชรพงศ์ ซื่อกำเนิด ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย ธุรกิจ Intelligent Healthcare บริษัท Advantech Corporation (Thailand) จำกัด นำเสนอหัวข้อ การบริหารโรงพยาบาลอัจฉริยะ โดยกล่าวว่า ระบบบริหารโรงพยาบาลอัจฉริยะของ Advantech ประกอบด้วยสามส่วน ได้แก่ ห้องผ่าตัดครบวงจร การพยาบาลคุณภาพ และบริการด้านคลินิกและผู้ป่วย ผลิตภัณฑ์ภายใต้ระบบบริหารโรงพยาบาลอัจฉริยะของ Advantech ได้แก่ POC-W212 คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ ซึ่งใช้โดยโรงพยาบาล Royal Perth Hospital ที่ติดตั้งข้างเตียงเพื่อการมอนิเตอร์สัญญาณชีพของผู้ป่วยเพื่อข้อมูลทางคลินิก พร้อมหน้าจอสัมผัส โดยโรงพยาบาล Royal Perth Hospital ไม่เพียงแต่จะลดการใช้กระดาษได้ ยังลดการใช้การปรับสายต่างๆ อีกด้วย

นายเดวิด ฮัง Supervisor, IEI Integration Corp นำเสนอหัวข้อ IEI Smart Healthcare- Nursing Solution กล่าวว่า ในอดีตรถเข็นพยาบาลหนักและประกอบด้วยหน้าจอขนาดเล็กและมีสายเคเบิลที่ยุ่งเหยิง แต่รถเข็นทางการแพทย์ระบบคอมพิวเตอร์ (POCm-W22C-ULT3, POC-W22A-H81) สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้โดยเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดเงิน (ราคาเฉลี่ยของแบตเตอรี่รถเข็นพยาบาลอยู่ที่ 500 เหรียญสหรัฐ โดยรวมค่าบริการแล้ว แต่แบตเตอรี่ลิเธียม IEI สามารถประหยัดเงินได้มากกว่า 400 เหรียญสหรัฐ) ตามการวิจัยในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในไต้หวัน เจ้าหน้าที่พยาบาลหนึ่งคนต้องเดิน 6.8 กิโลเมตรต่อวัน แต่ด้วยแผงดิจิตอลข้างเตียง Bedside Digital Headboard (IOVU-10F-AD-R10) และ Smart IV Drips Solution เจ้าหน้าที่พยาบาลสามารถมอนิเตอร์ข้อมูลผู้ป่วยผ่านอุปกรณ์เหล่านี้

Smart Healthcare

นายเรย์ หยาง ตัวแทนขายประจำภูมิภาค Mediland Enterprise Corporation นำเสนอหัวข้อ “ระบบฆ่าเชื้อโรคที่ทันสมัย UVC Disinfection System_ Hyper Light ” โดยกล่าวว่า หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค Hyper Light Disinfection Robot ได้รับการติดตั้งคลื่นแสง UV-C ความยาวคลื่น 254 nm สามารถอาศัยอยู่ใน DNA และ RNA และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ส่วนผลิตภัณฑ์ได้รับการติดตั้งโคมไฟ Amalgam Lamp ซึ่งดีกว่าโคมไฟ mercury lamp เพราะปราศจากโอโซน (<0.035ppm) มีอายุการใช้งาน 12,000 ชั่วโมงตามเดิมที่ปกติโคมไฟ mercury lamp มีอายุการใช้งาน 4,000 – 8,000 ชั่วโมงและพลังงานความเข้มข้นของ UV-C ที่มากกว่า mercury lamp ในอุณหภูมิสูง ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานผ่านแท็บเล็ต ซอฟต์แวร์มอบความง่ายและตอบสนองรวดเร็วเพื่อให้กระบวนการฆ่าเชื้อโรค และบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ

ดร.คูณซี ไฉ่ ผู้จัดการทั่วไป IMEDIPLUS Inc แบรนด์ Cardiart นำเสนอหัวข้อ “Technology Medicalization – กุญแจสู่ Smart Medicine แห่งอนาคต กล่าวว่า หูฟังอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้การบันทึกเสียงได้ละเอียดขึ้น การกรองเสียงและการเลือกความถี่ และการเน้นฟังเสียงทางพยาธิวิทยา และการขยายเสียงเพื่อให้ได้ยินเสียงที่เปลี่ยนแปลงไปได้ชัดขึ้น นอกจากนี้การบันทำภาพเสียงหัวใจจะช่วยให้บ่งชี้เสียงหัวใจได้ดีขึ้น รวมถึงการบันทึกการฟังเพื่อตรวจโรคซึ่งจะช่วยในการให้คำปรึกษาและการสอนได้

นายอดัม ฮวง รองประธาน Faspro Systems Co., Ltd. นำเสนอหัวข้อ “Medical Digitalization & Telemedical Application” โดยนำเสนอกล้องไร้สายเพื่อการแพทย์แบบสวมหัว ซึ่งสามารถใช้กับทันตกรรม ความงาม การผ่าตัด สัตวศาสตร์ รวมถึงบันทึกกระบวนกการทางการแพทย์ของคนไข้ พร้อมด้วยวิดีโอและเสียง ซึ่งสามารถแบ่งปันได้แบบทันทีเพื่อการศึกษาทางไกล โดยสามารถใช้ Medical Digitalization และ Telemedicine ผลิตภัณฑ์มีน้ำหนักเบาเพียง 130 กรัม โฟกัสอัตโนมัติ (5cm ~ Infinity) และสามารถกำหนดพื้นที่การมองระยะแคบได้)10˚ 19˚ 28˚ หรือ 38˚ซึ่งสะดวกกับผู้ใช้งาน

ทั้งนี้หลังจากบริษัทต่างๆ ได้นำเสนอ การจับคู่ทางธรุกิจกว่า 40 คู่ได้เกิดขึ้น ระหว่างบริษัทจากไต้หวัน และโรงพยาบาลในไทย ถือเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และสอดคล้องกับความต้องการของไทยและไต้หวัน ดังนั้นทาง TAITRA จะจัดขึ้นอีกครั้งในปีหน้า
สำหรับการสัมมนา Thailand-Taiwan Smart Healthcare Seminar & Trade Meeting 2019 จัดโดย สำนักงานการค้าต่างประเทศ ไต้หวัน สภาพัฒนาการค้าภายนอกไต้หวัน (TAITRA) โดยร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (THAIMED) เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นจากบริษัทที่ได้รับรางวัลความเป็นเลิศจากไต้หวันมีผู้ร่วมงานกว่า 100 คนได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ อาทิ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 โรงพยาบาลกล้วยน้ำไทย โรงพยาบาลสิรินทร

ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด บริษัท นีโอฟาร์ม จำกัด เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ (N Health) เจดับบลิวที เฮลท์แคร์ บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคอล จำกัด Worldmedic Information Technology ในส่วนของรัฐบาล ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

Related Posts