มอง 2 ปี ‘ธนวัฒน์’ และกลยุทธ์ไมโครซอฟท์ไทย 2020

มอง 2 ปี ‘ธนวัฒน์’ และกลยุทธ์ไมโครซอฟท์ไทย 2020
ธนวัฒน์
ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

ครบรอบ 2 ปีการทำงานของ ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา วันนี้ ธนวัฒน์ ได้มาเปิดใจถึงการทำงานผ่านมา 2 ปี และทิศทางของไมโครซอฟต์ให้ Thereporter.asia ได้มองเห็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารท่านนี้กัน

“สำหรับ 2 ปีของการทำงานในไมโครซอฟท์ ผมได้เห็นความแอคทีฟในเรื่องดิจิทัลในทุกอุตสาหกรรม มีคลาสด้านดิจิทัลสำหรับผู้บริหารที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับทางด้านเอไอ โครงการต่างที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากตัวผู้ใช้งานเอง ทำให้การลงทุนจะมาจากฝั่งธุรกิจไม่ใช่การร้องขอจากด้านไอทีเหมือนเช่นที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้เห็นแอดวานซ์เอไอเกิดขึ้น และเอไอถูกนำมาใช้เยอะมากในปีนี้”

สำหรับที่ปีที่แล้วเมื่อพูดถึงเอไอ เป็นการเน้นการทำให้เอไอสามารถเข้าถึงทุกคนได้ตั้งแต่บริษัทเล็กๆ ไปจนถึงบริษัทใหญ่ แม้กระทั่งเด็กนักเรียน ไมโครซอฟท์มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทางด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมไปถึงเรื่องของ AI Ethics ที่ร่วมกับกระทรวงดีอี ซึ่งไมโครซอฟท์นำแนวทางการนำเอไอไปใช้ให้ถูกวิธีต้องทำอะไรบ้างมานำเสนอ ซึ่งปัจจุบันในเรื่องนี้สิงคโปร์และเกาหลีเริ่มแล้วและไทยกำลังตามมา เพราะวันนี้เอไอต้องมีคนเข้าไปควบคุมให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เอไอจะฉลาดต้องมีข้อมูลที่มีประโยชน์แต่เราต้องสอนต้องมีความเป็นส่วนตัว รวมไปถึงเรื่องของ Democratizing AI และ AI for All ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไมโครซอฟท์เคยชี้เป็นแนวทางและปัจจุบันถูกหยิบยกมาใช้ในหลายกิจกรรม

ธนวัฒน์ กล่าวว่า ปีที่แล้วเอไอเป็น Fancy Word แต่ตอนนี้คนได้ยินเรื่องเอไอเยอะมาก ปีนี้และปีข้างหน้าเอไอจะถูกนำไปใช้เอไอในธุรกิจหลักมากขึ้น เป็น AI in the core business อย่างเช่น ลูกค้าในวงการโทรคมนาคม นำเอไอไปพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าแล้วนำมาจัดเป็นแพ็กเกจตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือในส่วนของโรงงานแห่งหนึ่งที่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนเป็นจำนวนมาก ก็นำเอไอเข้าไปออฟติไมซ์ในโรงงานเพื่อทำให้ประหยัดค่าไฟ ลดต้นทุนเพื่อสร้างการแข่งขันกับไต้หวันกับจีน, แกร๊บ นำเอไอมาช่วยบริหารจัดการข้อมูลเป็นจำนวนมากในการใช้นำเสนอข้อมูลต่างๆ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า หรือแม้แต่สตาร์บัคได้นำอาชัวร์สเฟียร์ไปใส่ในเครื่องกาแฟ และให้ไอโอทีส่งสูตรกาแฟใหม่เข้าไปในเครื่องเพื่อจัดการซอฟต์แวร์ให้ผลิตกาแฟรสชาติใหม่พร้อมกันทั่วโลก

นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโลโลยีบล็อคเชนในการใช้อิมพลีเมนต์เรื่องแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ไทยนำบล็อคเชนไปใช้ในการลดต้นทุน บางบริษัทนำไอโอทีไปติดที่ลิฟต์ เพื่อที่จะรู้ว่าลิฟต์ตัวไหนจะเสียก็เข้าไปดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหา รวมถึงการนำไปบริหารจัดการให้เช่าใช้ลิฟต์ สำหรับชาร์จตามจำนวนการใช้งาน ไม่ได้ขายขาดเหมือนในอดีต หรือสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่ใช้กับเครื่องยนต์ของโรลสรอยส์ที่ติดไอโอที ในการทำพรีเวนทีฟแมนทาแนนซ์โดยโรลสรอยส์คิดค่าใช่จ่ายตามปริมาณการบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์

Cyber Security and Data Privacy เป็นอีกเรื่องหนึ่งสำคัญ เพราะใน 3 ปีที่ผ่านมามีมัลแวร์เกิดขึ้นถึง 750% และมีการโจมตีอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องที่วางใจไม่ได้ ไมโครซอฟท์มีอีเมล์ที่ดูแลอยู่ 600 ล้านอีเมล์ในโลก ไมโครซอฟท์จึงต้องใช้เอไอเข้ามาศึกษาไวรัส มัลแวร์ ศึกษาและนำกลับมาพัฒนาเพื่อป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ ซึ่งในส่วนของธุรกิจเองนั้น ต้องรู้ว่าข้อมูลตัวเองมีเท่าไร ใครใช้ได้บ้าง ใครใช้ไม่ได้ ต้องสามารถบริหารจัดการได้และต้องปกป้องข้อมูลของลูกค้าให้ได้ ไมโครซอฟท์ได้แสดงบทบาทให้เห็นว่าเราช่วยลูกค้าในเรื่องเหล่านี้ได้

สำหรับวิชันของไมโครซอฟท์ในปี 2020 นั้น ไมโครซอฟท์มองว่า Digital Skill เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ปัจจุบันหายากและยังขาดอยู่ ปัจจุบันเมืองไทยมีคนไอทีประมาณ 3.4 แสนคน จาก 70 ล้านคน ดังนั้นจะทำอย่างไรให้คนที่เหลือมีทักษะทางด้านดิจิทัล ไมโครซอฟท์จึงพร้อมนำเสนอ Microsoft Power Platform เพื่อการสร้างแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์เฉพาะทางขององค์กร เปลี่ยนกระบวนการทำงานในบางขั้นตอนให้ราบรื่นด้วยระบบอัตโนมัติ หรือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาข้อสรุปและมุมมอบใหม่ๆ โดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคขั้นสูง

Microsoft Power Platform ประกอบด้วย Power Bi สำหรับดีไซน์มาเพื่อบิสิเนสยูสเซอร์ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูล นำมาตัดสินใจและเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน มีเอไออยู่ในนี้ Power Apps การสร้างแอปใหม่โดยไม่ต้องทำโค้ดดิ้ง มีพรีเทมเพลตไว้แล้ว แค่เลือกให้ตรงกับความต้องการ เพียงแค่มีทักษะในการใช้งาน เพื่อให้สามารถดึงข้อมูลในองค์กรมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เชื่อมโยงกับระบบงานและเป้าหมายของทีมได้ และ Microsoft Flow เป็นการเปลี่ยนการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ เชื่อมโยงข้อมูลและเอกสารข้ามแอปและบริการต่างๆ ได้นับร้อยโดยไม่ต้องเขียนโค้ด ซึ่ง 3 เครื่องมือนี้จะตอบโจทย์ให้มีดิจิทัลสกิล และเป็นกลยุทธ์หลักของไมโครซอฟท์ในปีหน้า

นอกจากนี้ยังมี Tech Intensity เป็นความนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย Tech Adoption หรือการทำเทคโนโลยีมาใช้งาน และ Tech Capebility หรือการสร้างเทคโนโลยีของตัวเอง ต่อยอดจากที่มีใช้งานอยู่ โดยในปีนี้ไมโครซอฟท์ได้เพิ่ม Trust หรือความวางใจในเทคโนโลยีเข้ามาเป็นอีกส่วนสำคัญ

“ในปีหน้าไมโครซอฟท์จะมุ่งผลักดันให้เกิดการสร้างเทคโนโลยีของตนเอง สร้างการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับเยาวชน คนทำงาน ในทุกระดับ รวมถึงการขับเคลื่อนธุรกิจให้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่มาตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะทางของตนเอง และทำการยกระดับให้พนักงานและผู้บริหารทุกคนสามารถลงมือสร้างแอปพลิเคชันและเครื่องมือต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง เราจะเห็นแอดวานซ์เอไอมากขึ้น อยู่ในคอร์บิสิเนสมากขึ้นไม่ใช่แค่คอนเซ็ปต์”

Related Posts