
Convergence.tech สตาร์ทอัพแคนนานาดา เลือกใช้บล็อกเชนเข้าช่วยเหลือเกษตรกรมองโกเลีย ในการติดตามและตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งที่มาผ้าแคชเมียร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นที่ยั่งยืนให้กับระบบซัพพลายเชนของสินค้าเฉพาะกลุ่ม
แคชเมียร์ เคยเป็นเส้นใยผ้าที่หรูหราเนื่องจากความนุ่มละมุนและอบอุ่นทุกครั้งที่ได้สัมผัส แต่วันนี้ผู้คนเริ่มจับต้องผ้าแคชเมียร์ได้มากขึ้นด้วยราคาที่ถูกลง และเมื่อผลกำไรน้อยลงก็ทำให้ต้นทุนในการเลี้ยงดูแพะแคชเมียร์ลดน้องลง จนส่งผลให้ทุ่งหญ้าในการเลี้ยงแพะแคชเมียร์เกิดการเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้เลี้ยงก็ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงของรายได้ และเกิดภาวะหนี้สินกับพ่อค้าคนกลางที่มีการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้า
ผลกระทบดังกล่าวส่งผลต่อเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย และในมุมของระบบซัพพลายเชนที่ผู้บริโภคเริ่มกังวลถึงแหล่งที่มาของแคชเมียร์มากขึ้น และเสียงสะท้อนเหล่านั้นก็เริ่มเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
โครงการต้นแบบของการนำบล็อกเชนเข้ามาใช้ ได้เริ่มเปิดตัวโดยความร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มระบบการตรวจสอบย้อนกลับของ Convergence ในการทดสอบการสร้างห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงกับคุณค่าที่ยั่งยืน ซึ่งรวมผู้เลี้ยงกว่า 70 คนกับ 8 สหกรณ์เข้าไว้ด้วยกัน
โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ให้ผู้เลี้ยงแพะในมองโกเลียได้เข้ามาลงทะเบียนก้อนขนแพะแคชเมียร์ได้อย่างง่ายๆ และในแต่ละก้อนจะติดฉลากที่มีระบบ RFID ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างเป็นมาตรฐานบนแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่พัฒนาขึ้น
เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดข้อผิดพลาดจากการทำงานโดยคนลงได้ระดับหนึ่ง
ปัจจุบันขนแพะแคชเมียร์ราว 471 กิโลกรม สามารถติดตามการขนส่งในพื้นที่ 3 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมองโกลเลียได้ นับตั้งแต่กระบวนการตัดขนที่บ้านของเกษตรกร ไปจนถึงกระบวนการแปรรูปของโรงงานในเมืองหลวงของมองโกเลียที่ชื่อว่า อูลานบาตอร์
ซึ่งประโยชน์ที่แท้จริงของเทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบวัสถุดิบย้อนกลับได้อย่างมั่นใจ และสร้างมูลค่าของตลาดที่โยงผู้ซื้อที่สนใจในความยั่งยืนของธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ตามแนวทางการปฏิบัติของผู้ขายที่ยึดมั่นในความยั่งยืนเช่นกัน
Chami Akmeemana ซีอีโอของ Convergence.tech กล่าวว่า ชุมชนเร่ร่อนเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาวมองโกลเลีย แต่นั่นก็ทำให้เขามีรายได้ที่ผันผวนและไม่แน่นอน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี blockchain ในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแคชเมียร์ จะช่วยให้เกิดประโยชน์ขึ้นมากมาย ทั้งกับผู้เลี้ยงสัตว์ชาวมองโกเลียเอง ผู้ซื้อและผู้ขาย ที่จะได้ประโยชน์ร่วมกัน”
ทั้งนี้มองโกเลียผลิตแคชเมียร์ได้ราว 40% เพื่อส่งออกไปทั่วโลก แต่ทว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงแคชเมียร์ที่มีศักยภาพในการส่งออกกลับมีสัดส่วนน้อยกว่า 3.4% ของผู้เลี้ยงทั้งหมด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำเหมืองแร่ ทำให้ในปี 2561 รัฐบาลมองโกเลียจึงได้เปิดตัวโครงการแคชเมียร์แห่งชาติ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะแคชเมียร์อีกครั้ง