
วันนี้ TheReporterAsia ได้มีโอกาสเดินทางมาที่ภาคเหนือ เพื่อมาติดตามการดำเนินงานของ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หลังจากได้รับทุนของ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เพื่อจัดทำโครงการส่วนการวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลในชนบท ด้วยเป้าหมายเพื่อยกระดับการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา (Near Real-time Captioning)ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้เกิดระบบ e-School ที่กลายเป็นเครื่องมือหลักที่ทำให้โรงเรียนขนาดใหญ่สามารถทรานส์ฟอร์มสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว อย่างต้นแบบของ โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม
อาจารย์ไพศาล ชนะกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม ซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการระบบ e-Schoolและทำงานใกล้ชิดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ระบุว่า แนวทางของการพัฒนาระบบ แบ่งออกเป็น 6 โมดูลที่สำคัญ และยังแบ่งเป็นระบบย่อยภายในกว่า 20 ระบบ เพื่อคัดกรองพัฒนาการของนักเรียนแบบเฉพาะบุคคล ตลอดทั้งระบบเรียนรวมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยระบบการบริหารการจัดการโรงเรียนจะสามารถเชื่อมโยง ผู้บริหาร คุณครู นักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนพนักงานโรงเรียน เพื่อประสานการทำงานผ่านระบบดิจิทัลบนมือถือได้อย่างสะดวก ทั้งเรื่องของหน้าที่ที่จะต้องทำ ผลการเรียน โครงการต่างๆ พฤติกรรมของนักเรียน เพื่อประเมินและนำมาต่อยอดสู่การพัฒนาต่อไป
ระบบในภาพรวมด้านเอกสาร สามารถเข้ามาแก้ปัญหางานด้านสารบรรณจากเดิมที่มีการนำเข้าต่อวันราว 50-70 ฉบับ โดยการเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด ทำให้ไม่ต้องมาทำเอกสารและประทับตราแบบเดิมอีกต่อไป เมื่อเอกสารเข้าสู่ระบบแล้ว ระบบจะประทับตาและลงเลขรับพร้อมวันที่และเวลาแบบอัตโนมัติ ทำให้พร้อมจัดส่งให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในทันที อีกทั้งครูและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเช็กหรือเซ็นต์กำกับเอกสารทุกชนิดได้ผ่านมือถือหรือแท็บเล็ตได้อย่างสะดวก
ขณะที่ระยะเวลาการดำเนินการ ยังรวดเร็วและสามารถตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานเอกสารได้แบบทันที จากเดิมที่ต้องเฝ้ารอการอนุมัติเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะรู้ผล ปัจจุบันเมื่อเอกสารเข้าสู่ระบบก็สามารถรับรู้และติดตามเอกสารได้ทันทีที่ต้องการ
ในส่วนของระบบนักเรียนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลของเด็กกว่า 70 รายการ ซึ่งครูผู้สอนสามารถเรียกดูข้อมูล ความเคลื่อนไหวของนักเรียนได้ครบทุกคน พร้อมทั้งมีการแจ้งกิจกรรมนักเรียนจากครูกิจการไว้ในระบบเช่นกัน ทำให้ครูประจำชั้นสามารถรับข้อมูลได้ทันที ทั้งการขาดเรียนรายวัน เช็กรายชื่อนักเรียนรายคาบ หรือระบบทำความดีจากการบรรยายของครูผู้สอน ตลอดจนผลการเรียนที่สามารถดูย้อนหลังได้อย่างสะดวก เพื่อช่วยให้ครูสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งข้อมูลนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยง ก็จะไม่ได้อยู่ที่ครูประจำขั้นเพียงคนเดียวอีกต่อไป ทำให้ครูทุกคนสามารถเข้ามาช่วยเหลือเด็กได้อย่างบูรณาการร่วมกันในทุกส่วนวิชา ซึ่งรวมทั้งข้อมูลโครงการต่างๆที่ทำให้บุคคลากรทั้งโรงเรียนได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของระบบยืนยันตัวบุคคล มีการนำระบบแสกนใบหน้าเข้ามาจับคู่กับข้อมูลนักเรียนด้วย เพื่อเชื่อมโยงกับระบบการเช็กชื่อ ขาด ลา หรือมาสาย ได้อย่างแม่นยำ ตรงตัวจริง มากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นปัญหาด้านระบบความปลอดภัยก็ยังไม่ดีเลิศมากนัก เนื่องจากเป็นการดูแลและจัดการกันเอง ทำให้การจัดการด้านความปลอดภัยยังขาดความเป็นมืออาชีพ ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และบุคคลากรด้านซีเคียวริตี้
โดยรวมของระบบนั้นนอกจากจะช่วยให้โรงเรียนบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังได้เปิดให้บริการกับโรงเรียนอีกกว่า 60 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่ในภาคเหนือ อีสาน และภาคใต้เป็นหลัก และปัจจุบันยังมีการขอเข้ารับบริการของโรงเรียนใหม่ๆเข้ามาตลอด ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของทราฟฟิกที่มีให้บริการไม่เพียงพอ อีกทั้งในส่วนของข้อมูลก็มีจำนวนมากขึ้น
ด้วยความง่ายของการใช้งาน ทำให้โรงเรียนต่างๆสนใจเข้ามาขอใช้ระบบกันมากขึ้น ซึ่งทางโรงเรียนก็ได้แบ่งพื้นเซิร์ฟให้กับทางโรงเรียนอื่นเข้ามาศึกษาและจัดทำระบบ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดอบรมการใช้งานเบื้องต้นให้ ทั้งนี้แนวทางการเทรนนิ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ได้ยาก ซึ่งในส่วนของการประเมินนั้นจะมีการอบรมผู้บันทึกข้อมูล
โดยในภาพรวมนั้นระบบ e-School จะเป็นโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคมเป็นคีย์หลักในการพัฒนารายละเอียดของระบบ ด้วยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และการสนับสนุนทุนจาก กทปส. เนื่องจากโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม เป็นโรงเรียน 46 ไอซีที ที่นับว่าเป็นช้าวเผือก ซึ่งได้ให้บริการโรงเรียนจากปากต่อปากแล้วกว่า 109 โรงเรียน
ปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์ของโรงเรียนราว 6 ตัว (ตัวละ 60GB)ใช้การสำรองข้อมูลแบบ RAID 5 ทำให้เหลือพื้นที่ใช้จริงราว 2TB ซึ่งมีการไปใช้แล้วราว 50%ของพื้นที่ทั้งหมด รวมพื้นที่ในการให้บริการทั้งหมดราว 4TB แบ่งเป็นส่วนของโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคมขนาด 2TB ระบบจีคลาวด์ 1TB และเพชรบูรณ์ ขนาด 1TB ซึ่งถูกใช้แล้วราว 70% ของพื้นที่
ด้านนายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ กล่าวว่า สิ่งที่กองทุนคิดต่อไป คือเรื่องของการขยายผลที่ติดในส่วนของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเบื้องต้นเรามีการให้ทุนต่อเนื่องในเชิงการวิจัยอยู่แล้ว แต่กระนั้นในส่วนของการสนับสนุนที่ต่อเนื่องเพื่อขยายไปสู่มุมกว้างต่อไป จะเป็นแนวทางการเชื่อมโยงไปที่ สพฐ. ซึ่งหากสนับสนุนต้นแบบนี้ให้ขยายวงกว้างมากขึ้น ก็ทำเพียงแค่ขยายเซิร์ฟเวอร์และการอบรมไปทั่วประเทศเท่านั่น ซึ่งเราก็จะประสานไปในระดับนโยบายเพื่อต่อยอดต่อไป
ทโครงการดังกล่าวเป็นโครงการส่วนการวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลในชนบท ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีระยะเวลาโครงการราว 7 ปี เพื่อสนับสนุนการบริการระบบให้กับโรงเรียนทั้งหมดทุกระดับอย่างทั่วถึง และได้รับทุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. ในการพัฒนาระบบ e-school โดยร่วมมือกับโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม เพื่อเป็นคีย์หลักในการพัฒนาระบบ
โดยระบบ e-School ใช้ทุนในการพัฒนาตั้งต้น 7 ล้านบาท ในการทำต้นแบบระบบให้กับ 7 โรงเรียน และเพื่อส่งต่อให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งอาจารย์ใช้เพียง 6 ล้านกว่า เท่านั้น แต่มีการขยายผลไปใช้จริงใน โรงเรียนขนาดเล็ก กว่า 100 โรงเรียน
นายพิชิต กล่าวว่า ย้อนกลับไปที่ก่อนให้การสนับสนุน ณ ตอนนั้นเราสงสัยว่าโครงการของโรงเรียนจะซ้ำกับการสนับสนุนของ สพฐ. หรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจาณาแล้ว โครงการนี้กลับเป็นเรื่องราวของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนที่เข้าใจปัญหาแบบลงลึกจริงๆ ซึ่งต่างจากการสนับสนุนจากส่วนกลางอย่าง สพฐ จึงเป็นเหตุผลของการเลือกสนับสนุนโครงการนี้