ฮิตาชิ แปลความสุขสุ่โค้ดดิจิทัลด้วย ai

ฮิตาชิ แปลความสุขสุ่โค้ดดิจิทัลด้วย ai

 

ฮิตาชิ
ดร.คาซูโอะ ยาโนะ ผู้เชี่ยวชาญ​ทางด้าน Ai and Happiness บริษัท ฮิตาชิ

ฮิตาชิ นำเสนอรูปแบบการเก็บความสุขของบุคคลเป็นดิจิทัลและวิเคราะห์​รูปแบบความสุขด้วยปัญญาประดิษฐ์​ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนสะสมหน่วยความสุขที่แท้จริงได้อย่างยั่งยืน และส่งผลต่อการทำงานหรือธุรกิจเำิ่มขึ้นกว่า 27% จากการทดสอบกว่าพันคน

ดร.คาซูโอะ ยาโนะ ผู้เชี่ยวชาญ​ทางด้าน Ai and Happiness บริษัท ฮิตาชิ กล่าวว่า ความสุขเป็นเรื่องของการตอบสนองทางเคมีของร่างกายในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนของเลือด พฤติกรรม รวมืั้งการตอบสนองของร่สงกายในรูปแบบต่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องยากที่จะวัดค่า มีเพียงส่วนเดียวเท่านั้นที่สามารถทำได้นั่นคือการตอบสนองของกล้ามเนื้อเมื่อเคมีของร่างกายเปลี่ยนแปลงตามอารมณ์​ของบุคคล

ฮิตาชิ ได้ทดลองเก็บกราฟของกล้ามเนื้อที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ออกเป็นความถี่ที่สะท้อนความรู้สึกของบุคคลนั้นๆด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อบ่งชี้หน่วยของความสุขรูปแบบต่างๆ​ได้อย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่า ความสุขเป็นผลลัพธ์​เดียวกันที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่พื้นฐานของมนุษย์ในการแสดงอารมณ์มีทั้งเรื่องสุข เศร้า ตื่นเต้น เร้าใจ ฯลฯ ทำให้ตลอด 20ปี ที่ผ่านมา มีการเปรียยเทียบและศึกษาค่าของความสุขที่แตกต่างกัน และสามารถแยกแยะรูปแบบของคลื่นความสุขที่ชัดเจนออกมาได้หลากหลายรูปแบบตามการกระทำ

โดยในกลุ่มที่มีความสุขมากกว่า จะมีความยืดหยุ่นต่อสถานะการณ์​ที่เกิดขึ้นมากกว่ากลุ่มที่มีความสุขน้อยกว่า ซึ่งก็ทำให้กลุ่มผู้ที่มีความสุขพร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา ขณะเดียวกันผู้ที่มีความสุขน้อยกว่าก็จะมีรูปแบบการกระทำที่จำกัดอยู่ในสิ่งเดิมๆที่เกิดขึ้น

ฮิตาชิ ได้จัดทำเครื่องมือวัดความสุข ด้วยการตรวจจับความถี่และสัญญาณบางอย่างที่ร่างกายแสดงออกมา เพื่อช่วยให้เราสามารถเข้าใจและส่งผลตาอการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข อันจะนำไปสู่การทำงานที่ดีขึ้นและสร้างรายได้ได้มากกว่าตามปริมาณความสุขที่ได้รับ

แม้ว่าจะมีแค่คนเดียวที่ไม่มีความสุขในทีม ก็จะส่งผลให้คนใยทีมมีประสิทธิภาพ​ในการทำงานของทั้งทีมลดลงด้วย

โดยส่วนใหญ่แล้วยีนส์​จะมีผลต่อการส่งความสุข และเงิน ตำแหน่งหรือรายได้ที่มากก็ส่งผลเช่นกันแต่ไม่ยั่งยืน ขณะที่ความสุขที่แท้จริง คือการที่เราปฏิบัติต่อผู้อื่น ทั้งในส่วนของความหวังต่างๆ การตอบสนองส่วนตัว

ทั้งนี้ ฮิตาชิ ได้จัดทำแอปพลิเคชั่น Happiness Planet เป็นแอปพลิเคชั่นที่เก็บรูปแบบความสุขที่เกิดขึ้นของบุคคล ลงบนสมาร์ทโฟน โดยสามารถเก็บข้อมูลกิจกรรมประจำวัน แนะนำวิธีการสร้างความสุข การเก็บข้อมูลกิจกรรมที่สไคัญแล้วแปรเป็นค่าความสุข เพื่อวิเคราะห์​และหารูปแบบความสุขเฉพาะตัวของตนเอง

โดยตัวแอปจะเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ Phyaical Motion ทั้งในส่วนของ Wristband Sensor เพื่อตรวจสอบกิจกรรม การเดินที่เกิดขึ้น และ Badge Sensor เพื่อตรวจสอบการทำงาน การอ่านและตอบอีเมล์ และอื่นๆ

ซึ่งการช่วยเหลือผู้อื่นเพียงแค่ไม่กี่นาที ก็สามารถเก็บสะสมความสุขของคนคนนั้นได้อย่างยืนยาว และจากตัวอย่างของการทดลองใช้แอปพลิเคชั่นดังกล่าวเพียงไม่กี่สัปดาห์ โดยผู้ทดสอบกว่า 1,000 คนพบว่ามีความเข้าใจรูปแบบของความสุขมากขึ้น และส่งผลต่อการทำงานทำให้ผลกำไรของบริษัทเพิ่มมากขึ้นกว่า 27% ด้วยความสุขของผู้ร่วมทดสอบที่เกิดขึ้น

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้น แต่เรื่องของประสิทธิภาพของการทำงานหรือการผลิต เมื่อเราใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆน้อย ที่สร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงานและส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราเห็นว่าการเพิ่มความสุขส่งผลให้ประสิทธิผลของการทำงานเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ฮิตาชิ เราเชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มความสุขให้กับทุกคนได้ ด้วยความสุขที่แท้จริง เราต้องเปลี่ยนความเข้าใจของความสุขที่ไม่ใช่รูปแบบของราคาค่าเงิน แต่ต้องวัดและเข้าใจด้วยปริมาณความสุขที่เกิดขึ้น รูปแบบของธุรกิจ ตลอดจนการบริการก็จะสามารถวัดค่าหน่วยของความสุข ตลอดจนการใช้ชีวิตก็ควรที่จะเปลี่ยนมาใช้หน่วยของความสุขด้วยเช่นกัน

เราเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีออกมาเป็นหน่วยของความสุข ทั้งส่งเสริมและตรวจสอบ เพื่อจัดรูปแบบและสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไปได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

Related Posts