
หลายองค์กรมีการผสมผสานการทำงานคลาวน์กันอย่างเมามันส์ ทั้งส่วนของไฮบริด และมัลติคลาวด์ รวมทั้งคลาวน์ที่ตั้งอยู่ภายในองค์กรเอง แต่ลืมคิดไปว่า การออกจากคลาวด์นั้นมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องตั้งงบประมาณไว้ให้เพียงพอ เพราะนอกจากจะต้องจ่ายด้วยเวลาที่ยุ่งยากและความเสี่ยงของข้อมูลในการดำเนินการบนข้อจำกัดแล้ว แม้แต่ทราฟฟิกของการโหลดไฟล์ออกก็ยังมีราคาค่างวด วันนี้ TheReporterAsia ได้มีโอกาสคุยกับเน็ตแอพที่จะมาบอกทางออกเราว่า เรากำลังเข้าสู่ยุคการใช้เซิร์ฟเวอร์ที่สามารถโยกย้ายได้แบบง่าย ๆไม่ต่างจากการใช้บริการมือถือที่ “ย้ายค่ายเบอร์เดิม” ได้แล้ว
นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ กล่าวชัดเจนว่าวันนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่บริการคลาวด์ในหลากหลายรูปแบบนั้น คือการคิดกลยุทธ์ที่รอบด้านเพื่อไม่ให้ข้อมูลขององค์กร ‘ติดกับดัก’ ของบริการคลาวด์รายใดรายหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตั้งงบประมาณ Exit Cost เอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เริ่มต้นย้ายระบบขึ้นสู่คลาวด์
ประเด็นนี้ต้องบอกก่อนว่า องค์กรทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องของการย้ายระบบเข้าสู่คลาวด์ ด้วยเหตุผลด้านดีนานับประการ ทั้งเรื่องของการสเกลเอาต์ที่สามารถทำได้อย่างคล่องตัว หรือจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายที่จ่ายตามการใช้งานจริง แต่กระนั้นค่าใช้จ่ายแฝงของการใช้คลาวด์ก็ยังมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแพคเกจที่ไม่ให้มายังไม่ตรงความต้องการใช้งานขององค์กร ทำให้ฝ่ายไอทีต้องปรับแต่ง(Customize) เพื่อให้ตอบโจทย์องค์กรได้ตรงเป้ามากที่สุด แต่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นก็มีค่าใช้จ่ายในทุกการปรับแต่งตามการใช้งานจริงเช่นกัน
การย้ายข้อมูลเข้าคลาวด์นั้นไม่เสียค่าทราฟฟิกก็จริง แต่กลับกันการย้ายออกมีค่าใช้จ่ายทราฟฟิกตามการใช้งานจริงเหมือนกัน เรื่องนี้เป็นกับดักที่หลายๆองค์กรไม่ได้วางแผนกันมาก่อน ขณะที่บางองค์กรเมื่อย้ายข้อมูลขั้นสู่คลาวด์แล้ว กลับมีการลดบุคคลากรด้านไอทีลง เนื่องจากปริมาณงานลดลง แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริการคลาวด์เริ่มไม่ตอบโจทย์ หรือมีรูปแบบการจัดเก็บที่ดีกว่าเดิมเป็นทางเลือก ทำให้ไม่สามารถโยกย้ายกลับไปได้เนื่องจากไม่มีผู้เชี่ยวชาญดุแลระบบเหมือนเช่นเดิม
เรื่องเหล่านี้เป็นต้นทุนของการออกที่สำคัญ เพราะเมื่อไม่สามารถออกจากบริการคลาวด์นั้นๆได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นผู้ให้บริการคลาวด์จะเป็นผู้กำหนดได้อย่างอิสระนั้นเอง
วันนี้เน็ตแอพบอกกับ TheReporterAsia ว่า กับดักดังกล่าวจะหมดไป เพราะเราเริ่มเข้าสู่ยุคของการย้ายโอนข้อมูลที่ไม่ต่างจากการ “ย้ายค่ายมือถือ” ด้วยบริการของ Netapp Data Fabric ที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการคลาวด์ทั้งรูปแบบไฮบริดที่ผสมผสานการใช้งานคลาวด์และ On-Prem เข้าไว้ด้วยกัน หรือจะจะเป็น Multi Cloud ที่ใช้งานคลาวด์หลายๆรายในองค์กรเดียว และปัจจุบันที่พัฒนาการจัดเก็บขอมูลเป็นแบบ Hybrid Muti Cloud ซึ่งมีทั้งการใช้บริการคลาวด์จากหลายที่ผสมกับการใช้ On-Prem ซึ่งตั้งอยู่ในองค์กรเอง
ความยากของการรวบรวมข้อมูลเพื่อย้ายบริการทั้งหมดได้ในคลาวด์เดียว แม้ว่าจะเป็นกับดักที่ใหญ่หลวงจนท้ายที่สุดองค์กรก็เลือกที่จะคงอยู่กับบริการเดิมๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อจำกัดเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นการจัดการผ่าน Netapp Data Fabric ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานทุกรูปแบบของการผสมผสานไฮบริดมัลติคลาวด์ได้อย่าสมบูรณ์แบบ
โดยบริการดังกล่าวจะช่วยให้โครงส้รางของข้อมูล สามารถจัดการได้อย่างง่ายดาย ด้วยการทำข้อมูลที่อัพเดตได้เหมือนกันทั้ง 2 ชุด จากการเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์เดิมที่เคยเป็นเพียงแค่ Dr-Site หรือแหล่งเก็บข้อมูลสำรองที่ไม่มีการอัพเดต ให้เปลี่ยนเป็นการทำงานและอัพเดตแบบเรียลไทม์ทั้ง 2 ที่ และเมื่อใดก็ตามที่ต้องการย้ายบริการจากคลาวด์หรือรูปแบบต่างของการจัดเก็บข้อมูล ก็สามารถทำลายระบบของที่ใดที่หนึ่ง และโยกการเข้าใช้ไปในจุดที่ต้องการได้อย่างอิสระภายในระยะเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น
ขณะที่ในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้น ช่วงเริ่มต้นที่มีปริมาณข้อมูลยังไม่มาก ต้นทุนการทำรูปแบบนี้อาจจะเพิ่มขึ้นจากเดิมราว 10-15% แต่เมื่อข้อมูลมีปริมาณที่มากพอ ระดับค่าใช้จ่ายจะถูกลงลงกว่าการใช้เซิร์ฟเวอร์เพื่อเป็นที่เก็บข้อมูลที่ไม่เคลื่อนไหวเช่นเดิมอย่างแน่นอน

นอกจากนี้นายกิตติ์ ชสิธภณญ์ ผู้จัดการและวิศวกรอาวุโส อาเซียน บริษัท เน็ตแอพ ยังได้กล่าวกับ TheReporterAsia ด้วยว่า เรื่องของการจัดการข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ PDPA) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับ หลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ที่กำลังจะกลายเป็นกระแสใหม่ที่น่าติดตาม ซึ่งนอกจากจะเป็นการผิดกฏหมายแพ่งแล้วยังผิดกฏหมายอาญาของประเทศไทยด้วย และที่สำคัญมีผลกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ต่างจาก GDPR ที่มีผลบังคับใช้กับกลุ่มประเทศยุโรปที่เป็นองค์กรหรือห้างร้านที่มีการเก็บข้อมูลเท่านั้น
ความยากของการบังคับใช้กลับอยู่ที่ไม่รู้ว่า ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าเหล่านั้นที่ต้องการปกปิดหรือลบ อยู่ในส่วนไหนของระบบไอทีองค์กรบ้าง และนั่นก็ทำให้องค์กรมีความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยง่าย แม้ว่าจะไม่ตั้งใจก็ตาม ทางออกของปัญหาที่นอกจากจะกำหนดนโยบายในการกำกับดูแล้วแล้ว ยังต้องสามารถระบุข้อมูลที่สำคัญในการแยกแยะอีกด้วย
ซึ่งวันนี้ เน็ตแอพมีโซลูชั่นในการจัดการที่สะดวกมากขึ้นภายใต้โซลูชั่น Netapp Cloud Compliance ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือแมชชีนเลิร์นนิ่ง เข้าไปช่วยอ่านไฟล์ทีมีทั้งระบบ เพื่อคัดกรองและระบุชนิดของไฟล์ แล้วทำการเก็บแยกไฟล์ให้เป็นระบบระเบียบเพื่อนการค้นหาลบข้อมูลที่กระจัดกระจายได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
โดยในช่วงแรกจะเป็นบริการที่เปิดให้สำหรับลูกค้าเน็ตแอพที่ใช้บริการคลาวด์ของทั้ง 3 ราย (Google, AWS, Azure) ที่เน็ตแอพให้บริการอยู่ ในรูปแบบ Free of Charge เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถทำตามข้อบังคับ PDPA ได้อย่างง่ายและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบข้อมูลที่หลุดรอดสายตา อันเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่องค์กรควรใช้ร่วมกับนโยบายการจัดการ PDPA ที่ชัดเจนและใช้ร่วมกับเครื่องมือต่างในการป้องกันข้อมูลรั่วไหลตามมาตรฐานที่เพียงพอ