
เอคเซนเชอร์ เผยผลสำรวจ 5 เทรนด์ดิจิทัลสำคัญที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและการเข้ามาของเอไอและแมชชีนเลิร์นนิ่งมากยิ่งขึ้นในอนาคต และนับเป็นความท้าทายที่ธุรกิจจะต้องเตรียมรับมือให้ทัน ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะสร้างสปีดทิ้งห่างองค์กรที่ตามไม่ทันออกไปเรื่อยๆ
5 ดิจิทัลเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้
1.The I in Experience
ส่วนที่เสริมให้ผู้ใช้มีประสบการณ์ด้านต่างๆที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่คิดว่าจะเปลี่ยนไปในความคาดหวังของผู้บริโภค โดยเราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคกลุ่มเกมมิ่งและเอนเตอร์เทนเมนต์ ยกตัวอย่างเช่น Netflix ที่จากเดิมคนเข้าใจว่าเป็น Blackbox ที่จะพยายามแนะนำฟีเจอร์ต่างๆให้ผู้บริโภคต้องการแบบสื่อสารทางเดียว แต่ปัจจุบันถูกยกระดับให้กลายเป็นแบบสื่อสารสองทางมากขึ้น ประหนึ่งการปรึกษากันระหว่างผู้ใช้และแอปพลิเคชั่นมากขึ้น
ขณะที่แอปพลิเคชั่นการออกกำลังกาย จะมีการแนะนำให้เกิดการออกกำลังกายที่ท้าทายมากขึ้น และทำให้ผู้ใช้มีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เกิดเอนเกจเมนต์กับแอปพลิเคชั่นมากขึ้น จากเดิมที่เป็นเพียงการนำเสนออย่างเดียว แต่วันนี้แอปพลิเคชั่นต่างๆล้วนมีการสื่อสารแบบสองทางและรับฟังผู้ใช้งานมากขึ้น เพื่อแนะนำการทำหน้าที่แบบเฉพาะบุคคลให้มีประสิทธิภาพที่ดี
การใช้งานจะเริ่มมีความเป็นเฉพาะบุคคลมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยมีความพยายามสื่อสารที่จะอธิบายกับเรามากขึ้น หาเหตุผลที่ระบบเลือกให้เราว่าทำไม จากเดิมที่เราได้เพียงคำแนะนำแต่ไม่รู้ว่ามาจากไหน อย่างไร ขณะที่บางฟีเจอร์มีการออกความเห็นร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงความต้องการมากที่สุด
2.AI and Me การทำงานร่วมกับเอไอ
ที่ผ่านมาเราพบว่าในองค์กรมีการใช้งานเอไอกันเยอะในส่วนของกระบวนการบางอย่างในลักษระของการคอมมานด์ และการตอบกลับแบบอัตโนมัติ และสามารถที่จะเรียนรู้การตัดสินใจแบบมนุษย์ได้ แต่วันนี้เทรนด์ที่เราเห็นคือการทำงานร่วมกัน ตัวอย่างของการออกแบบรถโฟร์ครุ่นใหม่ ที่มนุษย์ใส่เงื่อนไขที่ต้องการและสั่งการแมชชีน ยกตัวอย่างเช่น ออโต้เดกส์ ซึ่งสร้างเอไอขึ้นมาบนพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อการออกแบบรถร่วมกันระหว่างมนุษย์กับแมชชีน เสมือนหนึ่งเพื่อนร่วมงาน ซึ่งช่วยให้งานออกแบบนั้นเร็วขึ้นหลายเท่า
แอคเซนเชอร์ เองก็มีการใช้งานของไอเอ ในการดึงข้อมูลทางการเงิน และวิเคราะห์ระบบการกู้เงิน เพื่ออนุมัติการกู้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราช่วยให้เอไอสามารถทำงานร่วมกับมนุษย์มากขึ้น โดยสามารถให้เหตุผลได้ว่าถ้าการเงินไม่ผ่านนั้นเพราะอะไร และสามารถแนะนำการสร้างพฤติกรรมให้มนุษย์ เพื่อสร้างโอกาสให้มนุษย์ในลักษณะขอทางเลือกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเหตุผล
การใช้เอไอในประเทศไทยมีกว่า 77% ซึ่งสูงกว่าทั่วโลกที่มีเพียง 73% เท่านั้น แต่แม้ว่าจะมีการใช้ส่วนใหญ่แต่ก็ยังอยู่ในส่วนของอุตสาหกรรม และ RPA เท่านั้น ขณะที่ความร่วมมือระหว่างเอไอและมนุษย์กว่า 95%ของผู้สำรวจ ยังพบว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะเกิดขึ้น และที่สำคัญ 25% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่ามีการเตรียมการเรื่องของการใช้เอไอในการทำงานร่วมกันมากขึ้น
3.The Dilemma of Smart Things
ความหมายของความเป็นเจ้าของจะเปลี่ยนไปในส่วนของสมาร์ทดีไวท์ เราจะพบการเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งที่มันอยู่กับเราและเราเป็นเจ้าของ มันจะเริ่มเปลี่ยนไปในส่วนของการทำงาน(ซอฟต์แวร์) โดยที่เจ้าของไม่สามารถควบคุมได้ ยกตัวอย่างเช่นการอัปเดตระบบในมือถือที่แม้ว่าเราจะเป็นเจ้าของมือถือนั้น แต่เมื่อมีการอัปเดตเราก็จะต้องเรียนรู้การใช้งานใหม่ แม้ว่าไม่มาก แต่ก็ใหม่อยู่เสมอ ซึ่งบางครั้งทำให้ฮาร์ดแวร์บางรุ่นทำงานได้ช้าลง และสูญเสียความเป็นเจ้าของไปในที่สุด
ขณะที่ในด้านของผู้พัฒนาอุปกรณ์ใหม่ๆ นั้นก็คือ การที่จะพัฒนาใหม่ๆได้นั้น ต้องแบกภาระจากกลุ่มอุปกรณ์เก่าที่จะต้องอัปเดตไปด้วยในระบบนิเวศน์เดียวกัน ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่ทำให้รูปแบบของการเป็นเจ้าของเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น ฟิลิปส์ไลท์ติ้ง ที่สามารถทรานส์ฟอร์มธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์ เพราะแทนที่จะซื้อเพียงหลอดไฟ กลับเป็นว่าวันนี้ผู้บริโภคซื้อความสว่างแทน ทำให้ฟิลิปส์ สามารถดูแลฮาร์ดแวร์ ที่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็สามารถเข้าไปเปลี่ยนได้อย่างสะดวก เนื่องจากฟิลิปส์เป็นผู้ดูแล ทำให้ผู้บริโภคซื้อแสงสว่างแทนการซื้อหลอดไฟได้ตามต้องการ
อีกตัวอย่างคือ ชิเชโดออฟทูล โดยหลังจากที่ผู้บริโภคถ่ายรูปผิวส่งให้ทางชิเชโดแล้ว เครื่องกดครีมที่บ้านจะได้รับซอฟต์แวร์เข้าไปในเครื่อง เพื่อผสมสูตรที่เหมาะกับสภาพผิวหนัง เมื่อคุณกดครีมจากเครื่องนั้นมาใช้ จะทำให้ได้ครีมที่สามารถตอบโจทย์สำหรับคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
วันนี้ความเป็นเจ้าของฮาร์ดแวร์เริ่มเปลี่ยนไป ทำให้เรากลายเป็นผู้ซื้อเซอร์วิสต์มากขึ้น บนพื้นฐานของการเรียกเก็บเงินตามการใช้งานแบบสมาชิก ซึ่ง 90% ของธุรกิจในประเทศไทย จะเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่รูปแบบบริการเช่นนี้มากขึ้นในอนาคต
และในการถามผู้บริโภคของไทยกว่า 90% พบว่า ไม่ได้มีความใส่ใจกับการอัปเดตซอฟต์แวร์มากนัก กับอุปกรณ์ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
4.Robots in the Wild
ในอนาคตเราจะเจอโรบอทบนถนน 5-10 ครั้งต่อวัน โดยผู้บริหารกว่า 60% ของการสอบถามในประเทศไทย เตรียมพร้อมที่จะใช้โรบอท ในพื้นที่นอกการควบคุมในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า ซึ่งแน่นอนว่ามีเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงมากมายที่จะต้องนำโรบอทไปอยู่ในพื้นที่หรือสิ่งแวดล้อมปกติ ซึ่งเมื่อเทียบกับทั่วโลกแล้วเรามีความพยายามที่จะทำมากกว่า
ยกตัวอย่างเช่นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่มีความพยายามที่จะทำให้ใช้งานได้แล้วจริงๆในประเทศไทย ขณะที่สัดส่วนของผู้บริหารและพนักงาน ล้วนคิดว่าเป็นความท้าทายของการร่วมใช้ชีวิตกับโรบอทมากขึ้นในอนาคต
5.Innovation DNA
การสร้างนวัตกรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต ราว 90% ของผู้บริหารที่สอบถามในประเทศไทย เชื่อว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาดิสรัปชั่นธุรกิจของตนเองมากขึ้น ขณะที่นวัตกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ มี 5 อันดับที่สำคัญ ทั้งในส่วนของ 1.สุขภาพ 2.พลังงาน 3.วิกฤตโลก 4.การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ5.เรื่องอาหารการกิน
เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะเริ่มเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งในประเทศไทยผู้บริหารคิดว่าจะเกิดขึ้นเร็วกกว่าทั่วโลกนั้น เราเชื่อว่าเกิดจากผู้บริโภคมีความเป็นดิจิทัลมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเมื่อผู้บริโภคในไทยเป็นเช่นนั้น องค์กรใดก็ตามที่ปรับตัวไม่ทันจะเกิดผลกระทบอย่างรวดเร็ว และถูกทิ้งไว้ข้างหลังอย่างรวดเร็วเช่นกัน