เอกชน-อุดมศึกษา-สถานศึกษาฯ หนุนสร้างอาชีวะรุ่นใหม่

เอกชน-อุดมศึกษา-สถานศึกษาฯ หนุนสร้างอาชีวะรุ่นใหม่

อุดมศึกษา

จดปากกา 3 ฝ่าย “เอกชน-อุดมศึกษา-สถานศึกษาฯ” หนุนสร้างอาชีวะรุ่นใหม่ ป้อนตลาดอุตสาหกรรมยุค 4.0 ประเดิม 6-7 แห่งแรกในพื้นที่ EEC และภายนอก  EEC

ดร.อธิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสารงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) เปิดเผยว่า การทำงานร่วมกันในอุตสาหกรรมระหว่างแรงงานคน กับเครื่องจักร ในประประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกมีมานาน แต่ประเทศไทยเพิ่มจะเริ่มต้นอย่างจริงจัง ซึ่งในฐานะที่ได้รับผิดชอบเรื่องการพัฒนาบุคลลากร และการศึกษา จึงคิดว่าการทำให้สถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็น เพราะจะช่วยในเรื่องการประหยัดต้นทุน และ ประหยัดเวลามากที่สุด เพราะอุตสาหกรรมเป็นแหล่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตามมาตรฐานต่าง ๆ และเป็นแหล่งงานสำหรับของผู้ที่จบการศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีผู้เชี่ยวชาญ และเงินทุน ที่สามารถจะร่วมกับสถานศึกษาได้ ทำให้สถานศึกษามีการพัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น

ดังนั้นการจัดพิธีลงนามความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่างภาคอุตสาหกรรม สถาบันการอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จึงเป็นไปตามเป้าหมาย EEC และ HDC ที่ได้กำหนดไว้ให้เกิดความร่วมมือ ทั้ง 3 ฝ่าย โดยจะมีภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC เป็นผู้นำในการที่จะช่วยผลักดันในการพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้ามากขึ้น พร้อมทั้งในส่วนอาชีวะก็จะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาปรับโครงสร้างคุณภาพอาชีวะใหม่ ด้วยการทำให้แต่ละอาชีวะที่เป็นเป้าหมาย มีความพร้อมด้านบุคคลากร ทรัพยากร และความก้าวหน้าทางการศึกษา ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ในปีนี้ประมาณ 6 – 7 แห่งในพื้นที่ EEC และ ภายนอก EEC

“การปรับโครงสร้างการศึกษาซึ่งจะยกระดับการศึกษาแบบเดิม ๆ มาสู่การศึกษาแบบก้าวหน้า และผลิตบุคคลากรได้มากขึ้น อย่างน้อย 2 เท่า จากเดิมที่ผลิตได้ ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ EEC ในแบบก้าวหน้า เพราะว่าบุคคลากรกลุ่มอาชีวะที่เราต้องการ เป็นอัตราส่วน 54 % ของบุคคลากรใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อีกทั้งขณะนี้รัฐนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ได้เห็นชอบในหลักการเบื้องต้น ซึ่งเรากำลังเร่งทุกอย่าง เพื่อให้เข้าสู่โหมดเทคโนโลยี 4.0 ที่จะยกระดับการศึกษาให้สามารถทำงานได้ ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้การศึกษาอาชีวะไม่หลงทาง และมีทิศทางที่ชัดเจน”

รองศาสตราจารย์ ดร.ชิต เหล่าพัฒนา รองประธานคณะทำงาน EEC-HDC และผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ้นยนต์ภาคสนาม กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรม 4.0 เรื่องหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการอุตสาหกรรมประเภทนี้ เราพบใน EEC 10 S CURVE ต่างมีลักษณะการใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มที่ การที่อาชีวะมีความสนใจมาก ที่เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เป็นที่สำคัญ เพราะว่าผู้ชำนาญการในระบบยังขาดแคลนจำนวนมาก

ซึ่ง EEC ได้มีการหารือกับกระทรวงศึกษา และกรมอาชีวะ ว่า ขณะที่มีการพัฒนากระบวนการการผลิตเกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเราอยากมีความร่วมมือกับทางอาชีวะ เพื่อที่จะผลิตกำลังคนเข้าไปช่วยอุตสาหกรรมในการพัฒนาผู้เชียวชาญหุ่นยนต์ ทั้งนี้ปัจจัยมีเด็กอาชีวะที่มีความรู้ทางด้านอุตสาหกรรม 4.0 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมเดินต่อได้ ทั้งอุตสาหกรรมปัจจุบันและอุตสาหกรรมที่กำลังเข้ามา

“หุ่นยนต์เป็นผู้ร้ายในสมัย 20 ปีที่แล้ว ที่ผมได้เริ่มพูดเรื่องยนต์ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันนี้หุ่นยนต์ได้มีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากแรงงานในระดับล่างขาดแคลน จึงทำให้มีความสำคัญมากขึ้น เพราะหุ่นยนต์ในปัจจุบันไม่ได้ทำงานอัตโนมัติอย่างเดียว แต่จะต้องมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมทางด้านดิจิทัล ซึ่งทางกสทช. กระทรวงดีอี ได้มีการเปิดใช้คลื่น 5G ในความถี่ 700 MHz ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการควบคุมระบบหุ่นยนต์ และระบบอุตสาหกรรม ดังนั้นหุ่นยนต์ในปัจจุบัน จึงไม่ใช้แขนกล หรือขากล ที่ทำงานอย่างอัตโนมัติ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่จะทำงานอย่างเป็นหมวดหมู่”

รองศาสตราจารย์ ดร.ชิต กล่าวว่า ทั้งนี้ บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทฯในพื้นที EEC ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคคลกรในการสร้างรูปแบบอุตสาหกรรมใหม่ ด้วยการส่งพนักงานระดับอาชีวะเข้าร่วมอบรมศักยภาพด้านหุ่นยนต์ และเปิดโอกาสให้เด็กอาชีวะได้ไปฝึกงานในโรงงาน เพื่อต่อยอดไปสู่การศึกษาในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าภายใน 2 – 3 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC จะได้เห็นสถานบันอาชีวะกับมหาวิทยาลัยร่วมมือกันมากขึ้น

ดร.สมชัย ไทยสงวนวรกุล ประธานคณะกรรมการ EEC-Industrial Forum (EIF) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาควบคุม และช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตที่สูงขึ้นเทียบเท่าระดับสากล ทั้งนี้ EEC จึงได้พัฒนาบุคคลกรให้มีสมรรถนะในสาขาอาชีพ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือ 3 ฝ่าย คือ สถานประกอบการ สถาบันอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อให้เห็นถึงเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างชัดเจน

“อนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งระดับอาชีวะศึกษาจะมุ่งเน้นในการสร้างทักษะ เพื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพในสายอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรที่กำหนด และเมื่อจบการศึกษาก็สามารถทำงานต่อในสถานประกอบการเดิมได้ และมีรายได้สูงขึ้น ส่วนผู้ประกอบการก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพ สร้างผลกำไร และเติบโตอย่างยั่นยืน”

Related Posts