การจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับ สตาร์ทอัพ

การจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับ สตาร์ทอัพ

สตาร์ทอัพ

ดิกบิจอย ชุกลา(Digbijoy Shukla), Head of Business Development Department Startup AWS ASEAN ชี้ว่าต้นทุนที่สำคัญสำหรับ สตาร์ทอัพ มีด้วยกัน 3 ส่วนคือ 1.คน 2.คลาวด์ซอฟต์แวร์ และ 3.การตลาด ดังนั้นการจัดการต้นทุนที่ดีจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สตาร์ทอัพจะต้องมีเพื่อสร้างความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว แนวทางการเข้าช่วยเหลือสตาร์ทอัพด้านการบริหารจัดการคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่ AWS สามารถเข้าไปมีส่วนช่วยได้อย่างลงตัว

ประโยชน์ของการใช้คลาวด์ของสตาร์ทอัพนั้นจะเพิ่มโอกาสทางความสำเร็จ และช่วยจัดการด้านโครงสร้างของซอฟต์แวร์ได้ดีขึ้น ขณะที่การสร้างความสำเร็จ สตาร์ทอัพ จะต้องกล้าที่จะล้มเหลวให้เร็วแล้วกลับคืนมาให้ได้เร็วกว่า เนื่องจากการพัฒนาขั้นต้น การแสวงหาผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องลองผิดลองถูกจนทำให้เกิดความล้มเหลวขึ้น แต่ความล้มเหลวก็คือหนทางที่ไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ดังนั้นการทำงานให้เกิดต้นทุนที่ต่ำที่สุดอย่างคุ้มค่าที่สุด คลาวด์ จึงคำตอบของปัญหาทั้งการสเกลอัพหรือกู้คืนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

แต่ก็ไม่ใช้เฉพาะแค่สตาร์ทอัพเท่านั้นที่จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหลัก องค์กรทุกขนาดก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องความคุ้มค่าเช่นกัน ดังนั้นการจ่ายเงินเท่าที่ใช้ จึงเป็นการตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้อย่างดี ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สามารถทำได้ในคลาวด์เท่านั้น ทำให้ต้นทุนที่เกิดขึ้นของความล้มเหลวมีเกิดขึ้นน้อยมากและสามารถกู้กลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น

พื้นฐานสู่เส้นทางของความเป็นผู้นำ

เส้นทางของผู้นำจะต้องเริ่มจากการเข้าใจลูกค้า แล้วนำมาปรับกลยุทธ์ตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ทำให้บริการและฟีเจอร์ที่ออกมา สามารถตอบสนองลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เสียต้นทุนโดยเปล่าประโยชน์

ทีมของ AWS จะเข้ามาช่วยดูแลสตาร์ทอัพที่เป็นลูกค้า โดยทีมประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ทั้งผู้ก่อตั้ง ผู้บริหารระดับสูง และทีมลีดเดอร์ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนการจัดการ ทั้งในส่วนของการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยร่วมกับโครงการบ่มเพาะ แหล่งเงินทุน รวมทั้งธุรกิจในพอร์ตทั้งหมด เพื่อช่วยผลักดันให้สตาร์ทอัพสามารถพัฒนาธุรกิจได้อย่างตรงความต้องการมากขึ้น

ขณะที่อีกส่วนจะเป็นเรื่องของโครงสร้างทางเทคโนโลยีหรือสถาปัตยกรรมเทคโนโลยี ซึ่งจะเข้ามาช่วยดูเรื่องโครงสร้างทางเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้ต้นทุนการจัดการที่ต่ำที่สุด

ด้วยเครื่องมือของ AWS Cost Explorer แดชบอร์ดที่จะเข้ามาช่วยรวบรวมต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการใช้บริการคลาวด์ อีกทั้งมีการพยากรณ์ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า เทียบกับเดือนที่ผ่านมา หรือแม้กระทั่งการพยากรณ์ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นของทั้งโครงการที่จะทำ

นอกจากนี้ยังมีส่วนของการแสดงวิเคราะห์แนวโน้มที่เกิดขึ้นกับค่าใช้จ่าย และส่วนของความผิดปกติที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการดึงออกมาเป็นรายงานในรูปแบบที่ต้องการนั่นเอง

AWS Budgets ฟีเจอร์ที่จะช่วยให้ สตาร์ทอัพ สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สตาร์ทอัพล่วงรู้การใช้เงินของแต่ละบริการที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ช่วยให้ง่ายต่อการบริหารต้นทุนเฉพาะบริการ และตรวจสอบรายงานงบประมาณได้โดยง่าย เพื่อให้สตาร์ทอัพสามารถตรวจสอบย้อนกลับและวางแผนการทำงบประมาณในอนาคตได้อย่างตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

AWS Trusted Advisor ฟีเจอร์ที่จะช่วยตรวจสอบโครงสร้างซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของแนวปฏิบัติที่ดีให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่สตาร์ทอัพสร้างขึ้น ภายใต้ 5 หมวดหมู่หลัก 1.เรื่องของต้นทุน 2.ประสิทธิภาพ 3.ความปลอดภัย 4.ความสามารถทำงานต่อเนื่อง และ 5.ข้อจำกัดที่มีและส่งผลให้การทำงานติดขัด สิ่งเหล่านี้ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถสร้างโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

Well Architected Tool จะเป็นเครื่องมือในการเข้าไปช่วยตรวจสอบการสร้างระบบของสตาร์ทอัพว่ามีประสิทธิภาพดีพอหรือยัง เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถลดต้นทุนได้สูงสุดผ่านแนวทางทั้ง 5 ส่วนที่สำคัญ 1.ความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติการ 2.ความปลอดภัย 3.การจัดการที่รวดเร็วทันเวลา 4.ประสิทธิภาพในการตอบสนอง และ 5.การบริหารจัดการต้นทุนที่ดี

Well Architected Review จะมีทีมเข้าไปช่วยตรวจสอบและนำเสนอแนวทางที่ดีที่สุดให้กับสตาร์ทอัพรายนั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณงานที่ต้องการอย่างแท้จริง เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถบริการจัดการต้นทุนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมถึงการจับคู่ระหว่างความต้องการและการทำงานที่ตรงกัน ช่วยให้ประหยัดเวลาการใช้งานที่เกิดขึ้น และส่งผลให้การผลิตงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Rightsizing เครื่องมือที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถกำหนดขนาดได้อย่างเหมาะสม ด้วยการเลือกใช้ขนาดฮาร์ดแวร์เสมือนในระบบคลาวด์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งความสามารถของการปรับแต่งขนาดที่เหมาะสมได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทั้งหมดจะเกิดขึ้นจากความต้องการที่แท้จริงและคำแนะนำที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความยืดหยุ่นในเรื่องราคาเป็นอีกความสามารถที่สตาร์ทอัพต้องการ โดย AWS จะมีให้เลือกทั้งรูปแบบเหมาจ่ายและรูปแบบประหยัด ก็ช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้งานได้ตามระยะเวลาและความสามารถที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการใช้ระยะยาวสามารถวางแผนต้นทุนได้ถูกลง ความสามารถนี้จะช่วยให้ลูกค้าประหยัดได้ถึง 72% บนโซลูชั่นของ EC2 จากการใช้งานราว 10 เหรียญต่อ 1 ชั่วโมง ในระยะเวลา 1 หรือ 3 ปี ขณะที่การใช้งานตามคาดการณ์ที่แม่นยำก็จะช่วยลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เลยจากการเลือกแพคเกจที่ถูกต้องกับความต้องการ

และสุดท้ายรูปแบบการเลือกใช้บริการเฉพาะส่วน ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้เฉพาะบริการที่ต้องการใช้เฉพาะส่วนจริงจริง เช่นการใช้เพื่อทดสอบระบบ ทดลองโครงการแบบปิด ทั้งการเลือกใช้รูปแบบ Spot Instances ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนลงได้กว่า 90% ตลอดจนการกำหนดความต้องการล่วงหน้าภายใต้โปรแกรมนี้ จะสามารถเลือกใช้ Instances ได้หลากหลายรูปแบบจากศูนย์ด้าต้าเซ็นเตอร์ที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก โดยทั้งหมดจะช่วยให้สามารถจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

นอกจากนี้ AWS ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยสนับสนุนและให้คำปรึกษา เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยความเชี่ยวชาญของ AWS ที่มีซึ่งจะทำให้สตาร์ทอัพสามารถพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนอีกต่อไป

สตาร์ทอัพ

ตัวอย่าง สตาร์ทอัพ ที่มีการจัดการต้นทุนที่ดี

KG Tech สตาร์ทอัพในประเทศไทย เมื่อมาใช้บริการ AWS สามารถช่วยลดต้นทุนได้กว่า 50% ในขณะที่ยังได้รับความน่าเชื่อถือด้วย รวมทั้งความสามารถในการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ภายใต้สถาปัตยกรรมของคลาวด์ที่สามารถขยับขยายขนาดตามการเติบโตของธุรกิจได้อย่างทันที

meb ผู้ให้บริการอีบุ๊กในประเทศไทย สามารถลดต้นทุนได้ราว 30-35% ในการเลือกใช้เครื่องมือ EC2 เมื่อเทียบกับระบบคลาวด์แบบทั่วไปอย่างที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงเวลาที่มีการใช้งานสูงก็สามารถเพิ่มขนาดและลดกลับมาเมื่อมีการใช้งานน้อยลงได้อย่างยืดหยุ่น ช่วยให้ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นลงได้อย่างลงตัว

ทั้งนี้เทคนิคในการจัดการต้นทุนของสตาร์ทอัพที่ดีนั้น สตาร์ทอัพควรสามารถมองเห็นโครงสร้างตต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งการใช้งาน AWS จะทำให้เห็นปริมาณการใช้เงินทั้งหมดผ่านเครื่องมือ รวมทั้งโปรแกรมการลดต้นทุนที่จะเข้ามาช่วยตอบสนอง ตามต้นทุนของแต่ละประเภทธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่ง AWS ต้องการนำเสนอ บริการที่ใช่ ต้นทุนที่ใช่และตรงกับโครงการที่ใช่นั่นเอง เพื่อทำให้สตาร์ทอัพจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยการช่วยลดต้นทุนของสตาร์ทอัพ AWS Activate ซึ่งจะช่วยให้สตาร์ทอัพได้เริ่มต้นใช้เครื่องมือฟรี เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2556 สามารถช่วยสตาร์ทอัพได้แล้วกว่า 1.4 แสนราย ด้วยงบประมาณที่แจกจ่ายให้กับสตาร์พเพื่อเริ่มต้นใช้เครื่องมือไปแล้วกว่า 3.5 หมื่นล้านเหรียญ และโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นนี้จะเปิดให้บริการ AWS Activate Console ซึ่งเป็นหน้าแดชบอร์ดที่จะช่วยให้การจับคู่สตาร์ทอัพ ตลอดจนการพัฒนาความรู้และการให้ข้อมูลเชิงลึกในการจัดการบัญชีของสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีโอกาสร่วมงานกับบริษัทพาร์ทเนอร์ขนาดใหญ่ของ AWS ได้ด้วยเช่นกัน

Related Posts