สดช . เปิดเผย ผลสำรวจ โครงการ Thailand Digital Outlook ระยะที่ 3 พบคนไทยมีพฤติกรรมการใช้อิ นเทอร์เน็ตสูง 6 – 10 ชั่วโมงต่อวัน เล็งเก็บตัวเลขต่อเนื่องทุกปี หวังเป็นถังข้อมูลเก็ บผลสำรวจเศรษฐกิจดิจิทัลไทย พร้อมจับมือ 6 หน่วยงานด้านดิจิทัลภาครัฐจัด MOU หวังยกระดับความร่วมมือนำข้อมูล และผลสำรวจใช้วางแผนยุทธศาสตร์ องค์กร ขานรับนโยบายประเทศเน้นการขั บเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้ วยเทคโนโลยีดิจิทัล
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทั ลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ( DES) ได้กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิ ดงาน Thailand Digital Outlook ระยะที่ 3 ว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคมเล็งเห็นความสำคั ญของการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิ ทัลให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิ จและสังคมของประเทศ โดยริเริ่มในการเข้าร่วมเป็ นสมาชิกในคณะนโยบายขององค์ การเพื่อความร่วมมือและการพั ฒนาทางเศรษฐกิจ (The Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) ในปี พ .ศ . 2561 ซึ่งนำไปสู่การดำเนิ นงานโครงการศึกษา Thailand Digital Outlook ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิ นสถานภาพการพัฒนาด้านดิจิทั ลของประเทศ
“กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคม ได้มีนโยบายและแผนระดับชาติว่ าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่ อเศรษฐกิจและสังคม ที่กำหนดทิศทางการขับเคลื่ อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยื นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุ ทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาล และโครงการนี้ก็สอดคล้องกั บนโยบายดังกล่าว โดยมีเป้าหมายในการจัดทำข้อมู ลและผลวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้การขับเคลื่อนมี ประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล มาประยุกต์ใช้ในการช่วยประเมิ นและผลักดันการดำเนินการด้านยุ ทธศาสตร์ 20 ปี ” นายชัยวุฒิกล่าว โดยเสริมว่า ผลการศึกษาวิจัยจากโครงการนี้ เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง โดยสามารถแสดงภาพการพัฒนาด้านดิ จิทัลของประเทศอันเป็ นผลจากการดำเนินนโยบายดิจิทั ลของกระทรวงฯ สดช. และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสะท้อนให้เห็นจุดแข็ งและจุดอ่อนของประเทศไทยในปัจจุ บันที่ต้องได้รับการพัฒนาต่อยอด หรือปรับปรุงแก้ไขต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนยั งสามารถนำข้อมูล ผลการสำรวจ และผลการศึกษาวิจัยต่างๆ จากโครงการศึกษาวิจัย Thailand Digital Outlook ระยะที่ 3 นี้ ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดได้ ทั้งการปฏิบัติงานตามภารกิ จของหน่วยงาน การให้บริการภาคประชาชนและภาคธุ รกิจ การออกนโยบาย และมาตรการส่งเสริ มภาคประชาชนและภาคธุรกิจต่างๆ สำหรับหน่วยงานภาครัฐ และการวางแผนดำเนินกิจการในธุ รกิจสำหรับภาคเอกชนให้มีประสิ ทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสอดรับกั บสภาพตลาดในยุคดิจิทัลไทยแลนด์
ด้าน นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่ อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวว่า โครงการศึกษาวิจัย Thailand Digital Outlook ระยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็ นกรอบในการพัฒนาด้านดิจิทั ลของไทย ให้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ รวมถึงแนวทางและมาตรการในการขั บเคลื่อนดิจิทัลไทยแลนด์ให้ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และสามารถสร้างให้เกิดการพั ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้สอดคล้ องกับความต้องการของไทยและสากล ตลอดจนการจ้างงานที่มีคุณค่าสู งรองรับการพัฒนาประเทศในยุ คเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัจจัยหลั กในการขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่ งยืน โดย สดช . ได้เริ่มดำเนินโครงการเมื่อปี พ .ศ . 2561
“สดช. ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมู ลสำรวจและวิเคราะห์ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจดิจิทัล ตามแนวทาง Measuring the Digital Transformation และ Digital Economy Outlook ของ The Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนสามารถนำผลการศึ กษามาประเมินและใช้ประกอบการพิ จารณาการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิ จดิจิทัลในการพัฒนาประเทศอย่ างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่ วยในการกำหนดแนวทางการส่งเสริ มให้ประชาชนมี ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์ เน็ตและช่วยเพิ่ มความสามารถในการแข่งขั นของประเทศไทยให้ได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญ เราจะมีโมเดลการจัดเก็บข้อมูลตั วชี้วัดที่เป็นแนวทางการจัดเก็ บข้อมูลในระดับสากล ( OECD) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเตรี ยมการจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้ อมูลตัวชี้วัด ตามแนวทางการจัดเก็บของ OECD อีกด้วย ” นางวรรณพรกล่าว
นอกจากนี้ สดช . ยังได้มีการลงนามความร่วมมื อในโครงการ Thailand Digital Outlook ซึ่งเป็นผลสำรวจดัชนีชี้วั ดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทั ลของประเทศ ร่วมกับหน่วยงานด้านดิจิทั ลของภาครัฐอีก 6 หน่วยงานด้วยกัน ประกอบด้วย สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช ) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็ กทรอนิกส์ (สพธอ ) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทั ล (สศด ) สำนักงานคณะกรรมการกิ จการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช ) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช ) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร )
ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวได้มี การบริหารจัดการและการบู รณาการข้อมูลภาครัฐที่มี ความสอดคล้องและเชื่อมโยงเข้าด้ วยกัน รวมถึงเป็นการยกระดับการบริ หารงานภาครัฐให้เป็นระบบดิจิทัล ที่มีระบบการทำงานและข้อมูลเชื่ อมโยงกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยนำผลการศึกษา Thailand Digital Outlook ของประเทศไทย รวมถึงข้อมูลและชุดข้อมู ลในการศึกษานี้ไปใช้ในการวางยุ ทธศาสตร์องค์กรของแต่ละหน่ วยงานอีกด้วย
ลิงก์ดาวน์โหลดรายงาน Thailand Digital Outlook ฉบับภาษาไทย ฉบับภาษาอังกฤษ
สำหรับการศึกษาวิจัย Thailand Digital Outlook ระยะที่ 3 ได้ศึกษาการเข้าถึง พฤติกรรม และการตระหนักรู้ด้านความปลอดภั ยในการใช้อินเทอร์เน็ ตในภาคประชาชน การใช้ช่องทางออนไลน์ การลงทุนวิจัยและการพัฒนาทั กษะของบุคลากรด้านดิจิทัลทั้ งในองค์กรธุรกิจเอกชนและหน่ วยงานภาครัฐ โดยได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่ างจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาคประชาชน (จำนวน 39,145 ตัวอย่าง ) ภาคธุรกิจเอกชน (จำนวน 3,381 ตัวอย่าง ) และหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริ การปฐมภูมิแก่ประชาชน (จำนวน 935 ตัวอย่าง ) การสำรวจได้ดำเนินการระหว่างเดื อนมิถุนายนและกรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลั งประสบปัญหาการแพร่ระบาดของไวรั สโควิด -19 และศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค . ได้ประกาศมาตรการควบคุ มและบรรเทาเหตุการณ์ดังกล่ าวในพื้นที่จังหวัดที่มี การระบาดอย่างรุนแรง รวมถึงการทำงานแบบ work from home ในองค์กรภาคธุรกิจเอกชนและหน่ วยงานรัฐบาล
การสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่คิ ดเป็นสัดส่วนถึง 85.1% มีการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยระยะเวลาการใช้งานโดยเฉลี่ ยอยู่ที่ 6-10 ชั่วโมงต่อวัน โดยวัตถุประสงค์หลักของการใช้อิ นเทอร์เน็ตในภาคประชาชนเพื่ อรองรับการทำงาน (75.2%) การรับบริการออนไลน์ทางด้ านการศึกษา (71.1%) การทำธุรกรรม ซื้อขายสินค้าบริการออนไลน์ (67.4%) การติดต่อสื่อสารสนทนา (65.1%) การทำธุรกรรมออนไลน์ด้านการเงิน (54.7%) กิจกรรมสันทนาการ (53.1%) มีส่วนร่วมในการดำเนินการภาครัฐ (49.6%) การรับบริการออนไลน์ทางด้ านสาธารณสุข (48.6%) ติดตามข่าวสารทั่วไป (39.1%) การใช้งานด้านอื่นๆ (35.6%) การสร้างสรรค์เนื้อหาหรื อคอนเทนต์ต่างๆ (28.2%) และทำธุรกรรมด้านการท่องเที่ ยวออนไลน์ (2.2%) การสำรวจยังพบว่า 76.6% ของประชาชนยังซื้อสินค้าและบริ การทางออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้ าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม โดยมี Shopee และ Lazada เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์ ยอดนิยมอันดับต้นๆ การศึกษายังพบว่าประชาชนส่ วนใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 60.7% ใช้บริการออนไลน์ภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น การชำระค่าน้ำและค่าไฟ นอกจากนี้ 64.6% ของประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่ างยังทำงานโดยใช้การประชุ มทางไกลผ่าน VDO Conference อีกด้วย โดยสถานที่หลักที่ประชาชนนิ ยมใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงการแพร่ ระบาดของโควิด -19ได้แก่ ที่พักอาศัยของตนเอง (70.2%) และสถานที่ทำงาน (22.2%)
อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่า 61.7% ของประชาชนมักเกิดความเครียดบ่ อยมากขึ้นเมื่อทำงานด้วยคอมพิ วเตอร์ หากมองถึงความปลอดภัยในการซื้ อขายหรือทำธุรกรรมทางการเงิ นออนไลน์ มีเพียงแค่ 43.6% ของประชาชนที่รู้จัก พ .ร .บ . คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ 43.1% ของประชาชนเคยพบปัญหาด้ านความปลอดภัยทางเทคโนโลยี การป้องการทางเทคโนโลยีโดยส่ วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนรหัสผ่ านในการเข้าระบบเท่านั้น
สำหรับภาคธุรกิจเอกชน การสำรวจพบว่า 98.4% ของผู้ประกอบการมีการใช้อิ นเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ธุรกิจเอกชนยังมีการใช้ เทคโนโลยีในเรื่องของ Cloud และ Data Analytics สูงขึ้น โดยผู้ประกอบการใช้ Cloud ถึง 70.3% และทำ Data Analytics สูงถึง 61.5% และ ใช้ AI ในเรื่องของ Chatbot สูงถึง 41% โดยช่องทางออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้ นได้แก่ธุรกิจทางด้ านการเกษตรเพิ่มขึ้น 54.6% ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเพิ่ มขึ้น 27.4% และธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์เพิ่ มขึ้น 27.9% ในขณะที่การท่องเที่ยวและสั นทนาการมีการใช้ออนไลน์ลงลดถึง 76.4% โดยสาเหตุหลักอาจจะเกิดจากการปิ ดประเทศทำให้นักท่องเที่ยวไม่ สามารถเดินทางจากจังหวัดหนึ่ งไปยังจังหวัดอื่นๆได้ ในขณะที่แฟชั่นลดลง 44.8% และวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจั กรลดลง 36.5% เนื่องจากมีจำนวนโรงงานที่ปิดตั วมากขึ้น
การสำรวจยังพบว่า 73.9% ของผู้ประกอบการยังมีช่ องทางออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้ าและบริการ และ 28.0% ของผู้ประกอบการมีการสั่งซื้อสิ นค้าและบริการออนไลน์ โดยช่องทางออนไลน์และสื่อสั งคมที่ผู้ประกอบการนิยมใช้ได้ แก่ ยูทูป (YouTube) ไลน์ (Line) เฟสบุ๊ค (Facebook) และทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นต้น นอกจากนี้ มีผู้ประกอบการจำนวนมากถึง 88.5% ที่ใช้บริการออนไลน์ภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยื่นภาษีและนำส่งข้อมูลบัญชี เกี่ยวกับปัจจัยทางด้านบุ คลากรดิจิทัล 66.4% ของผู้ประกอบการมีการจัดจ้างพนั กงานไอที โดยพนักงานเหล่านั้นจะมีหน้าที่ ในการให้ความช่วยเหลือและแก้ปั ญหาด้านไอที 33.6% ของผู้ประกอบการยังมีการจัดฝึ กอบรมพนักงานไอทีอีกด้วย ทางด้านความปลอดภัยเกี่ยวกั บเทคโนโลยีดิจิทัล 80.5% ของผู้ประกอบการรู้จัก พ.ร.บ . คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในขณะที่ 27.1% ของผู้ประกอบการเคยพบปัญหาด้ านความปลอดภัยทางเทคโนโลยี โดยการป้องกันส่วนใหญ่จะใช้ ระบบยืนยันตัวตน
สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริ การปฐมภูมิแก่ประชาชน อันได้แก่ โรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุ ขภาพตำบล (รพ.สต.) การศึกษาพบว่า 76.4% มีการใช้อินเทอร์เน็ต การศึกษายังพบว่า 69.1% ของหน่วยงานภาครัฐมีการให้บริ การออนไลน์ โดยมีเฟสบุ๊คเป็นช่องทางออนไลน์ ที่นิยมมากที่สุด และมีบริการประชาสัมพันธ์และให้ ข้อมูลเป็นบริการที่มีมากที่สุด อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจ พบว่าสัดส่วนพนักงานไอทีในหน่ วยงานภาครัฐยังมีจำนวนที่น้ อยมากเมื่อเทียบกับพนั กงานในแผนกอื่นๆ หรือเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 5% โดยเจ้าหน้าที่ไอทีส่วนใหญ่จะมี หน้าที่ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์เป็ นหลัก น้อยกว่า 10% ของพนักงานไอทีที่ได้รับการฝึ กอบรมในหน่วยงานอีกด้วย ทางด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยี ดิจิทัล 69.7% ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครั ฐรู้จัก พ.ร.บ . คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในขณะที่ 39.7% เคยพบปัญหาด้านความปลอดภั ยทางเทคโนโลยี
“ ผลสำรวจ ทำให้เรามองเห็นถึ งปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกั บการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทั ลในประเทศไทย ทั้งในด้านการนำนวัตกรรมดิจิทั ลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การลงทุนในนวัตกรรมดิจิทัลทั้ งในแง่ของผู้ประกอบการและนักวิ จัย และการสร้างทักษะแรงงานด้านดิจิ ทัลในประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการในการพั ฒนาอีคอมเมิร์ซทั้ งในประเทศและระหว่างประเทศ ” นางวรรณพรกล่าวท้ายสุด
ลิงก์ดาวน์โหลดรายงาน Thailand Digital Outlook ฉบับภาษาไทย ฉบับภาษาอังกฤษ