7 เหตุผลสะท้อนราคาเปิดตัว ORA Good Cat จาก GWM

7 เหตุผลสะท้อนราคาเปิดตัว ORA Good Cat จาก GWM

GWM

หลังการประกาศราคาอย่างเป็นทางการ ของเจ้าแมวไฟฟ้า ORA Good Cat จากค่าย GWM แล้ว ด้วยราคาเปิดตัวเริ่มต้นที่ 9.89แสนบาท เชื่อว่าหลายๆคนที่จองมีเสียงว้าวออกมาทั้งในมุมลบและมุมบวกแตกต่างกันไป ซึ่งจากการสัมผัสและขับมาแล้วกว่า 200 กิโลเมตร ก็อยากออกมาช่วยพิจารณาเหตุและผลของการซื้อกันสักหน่อย เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่ถูกต้องของบ่าวทั้งหลาย ว่าจะทิ้งจองหรือจะไปต่อกันดีนะครับ

แน่นอนว่า บทความนี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับคนที่ไม่คิดที่จะซื้อรถ แต่น่าจะเหมาะสำหรับคนที่กำลังมองหารถยนต์อนาคตสักคันหนึ่งทั้งการเข้ามาทดแทนคันเก่า หรือการเพิ่มคันที่สองของครอบครัวก็เป็นได้ ซึ่งปัจจัยที่ผมจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเป็นเรื่องของการออกแบบทั้งภายนอกและภายใน การนำสมัยด้านเทคโนโลยี วัสดุที่เลือกใช้ สมรรถนะพื้นฐาน การใช้งานจริง รวมทั้งค่าเชื้อเพลิงและการบำรุงรักษาในระยะยาว ที่แน่นอนว่าจะต้องมีซึ่งก็ไม่ต่างจากรถยนต์ทั่วไป

GWM

1. การออกแบบ นับเป็นเรื่องแรกของการสร้างประสบการณ์ที่ดี เพราะถ้าหน้าตาไม่สวย รูปลักษณ์ไม่ดี ไม่ถูกใจ ก็คงไม่มีใครคบต่อ สังเกตได้จากยอดจองที่ถล่มทลายจนเว็บล่ม เชื่อแน่ว่าก่อนหน้านี้คนอยากรู้ว่าราคาจะไปต่อได้หรือไม่ แต่เมื่อมองย้อนไปที่การออกแบบรถยนต์ ORA Good Cat คันนี้ ต้องบอกเลย่วาไม่ธรรมดาจริงจริง ทั้งเส้นสายและการประกอบสามารถได้อย่างลงตัว มีการเลือกใช้วัสดุที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของทีมออกแบบเป็นอย่างมาก เพราะแท้ที่จริงแล้วทีมออกแบบก็เป็นอดีตทีมที่เคยออกแบบรถยนต์ในตำนานอย่าง Porsche 911 นั่นเอง ทำให้เส้นสายที่ออกมานั้น มีเค้าโครงของรถสปอร์ตพรีเมี่ยมรุ่นดังกล่าวอย่างแน่นอน

ขณะที่การออกแบบภายใน มีการใส่เส้นสายและลวดลายแบบคลาสสิกไว้ทั้งบนแผงประตู ตัวเบาะและคอนโซลฝั่งคนนั่ง ยังมาพร้อมจอขนาดใหญ่แบบแนวยาว ที่ตอบโจทย์การสั่งการด้วยเสียงการสัมผัสได้ทั้งสะดวกทั้งตัวรถ บ่งบอกความทันสมัยล้ำยุค ขณะที่ด้านบนยังมีการเพิ่มซันลูฟที่ช่วยเพิ่มความหรูหราตามแบบฉบับรถคนรุ่นใหม่ได้อย่างดีเลยทีเดียว

2.เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก เริ่มต้นตั้งแต่เบาะที่มาพร้อม Welcome Seat ที่ช่วยขยับให้สามารถเข้านั่งขับได้อย่างสะดวกมากขึ้น พร้อมการจดจำการปรับเบาะสำหรับผู้ขับขี่โดยเฉพาะ นอกจากนี้ตัวเบาะยังมีระบบนวดไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเมื่อยล้าระหว่างขับขี่ รวมไปถึงขุดชาร์จไร้สายที่ ORA Good Cat ก็มีเตรียมพื้นที่ไว้ให้ด้วยเช่นกัน

การสั่งการตัวรถที่นอกจากจะสั่งการผ่านตัวแอปพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนได้แล้วนั้น ตัวรถยังมีการเชื่อต่อกับเครือข่ายมือถือผ่านระบบอีซิม ช่วยให้สามารถสั่งการล่วงหน้าจากมือได้อย่างสบาย ขณะที่การสั่งการระหว่างขับขี่และตัวรถ ก็สามารถใช้คำสั่งเสียงได้อย่างสะดวก ติดตรงที่อาจจะต้องมีการจูนการใช้คำพูดเพื่อสั่งการอยู่สักพักเพื่อสร้างความเคยชินสำหรับคนที่ยังไม่คุ้นกับการสั่งการด้วยเสียง หรือคิดซะว่าเป็นช่วงออกเดทกับรถก่อนที่จะใช้คำสั่งอย่างรู้ใจกันก็ได้

GWM

แน่นอนว่า ความฉลาดของตัวรถยนต์จะมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้นเมื่อผู้ใช้ ใช้งานไปนานเข้า เนื่องจากเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถพัฒนาให้เหมาะสมและถูกจริตกับผู้ใช้เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถอัปเดตตัวเองผ่านเครือข่ายได้อย่างสะดวก และนอกจากนี้ ORA Good Cat ยังถูกวางให้เป็นรถยนต์ฮาร์ดแวร์ ที่สามารถอัปเกรดซอฟแวร์ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งจะเท่ากับการยืดระยะเวลาความทันสมัยของรถยนต์ไปได้ยาวนานมากขึ้น จนกว่าที่ฮาร์ดแวร์จะรองรับต่อไปไม่ไหวนั่นเอง

3. เทคโนโลยีช่วยในการขับขี่ ความหรูหราของรถ ORA Good Cat นั้นถูกบรรจุระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในระดับ L2+ ซึ่งหมายความว่า มีการควบคุมเกือบจะเข้าขั้นขับเองอัตโนมัติมากกว่ารถรุ่นไหนๆในไทย ยกตัวอย่างเช่นระบบถอยจอดอัตโนมัติ ที่เพียงแค่กดปุ่มเดียว แล้วเมื่อระบบเจอพื้นที่ว่างก็จะทำการเข้าจอดให้อัตโนมัติ 3 รปแบบ โดยที่ไม่ต้องคอยแตะเบรกหรือหักเลี้ยวตลอดทั้งการจอดแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังมีระบบ ACC ที่ช่วยขับตามคันหน้า หรือหยุดรถ ด้วยระยะห่างที่เหมาะสม จากความสามารถของชิปการควบคุมรถอัตโนมัติที่ทำงานควบคู่กับกล้อง ADAS ซึ่งนอกจากจะมองได้รอบคันแบบ 360 องศาแล้ว ยังมีมุมมองเฮลิคอร์ปเตอร์วิว ทำให้รถรับรู้วัตถุทุกรูปแบบที่อยู่ในรัศมีได้อย่างแม่นยำ

รวมถึงระบบช่วยเตือนต่างๆเมื่อผู้ขับขี่ขับออกนอกเลน หรือมีรถอื่นเข้ามาใกล้ ซึ่งยังไม่นับรวมระบบช่วยป้องกันที่จะเข้ามาแทรกแซงการควบคุมรถได้ในทันที หากพบรถยนต์อื่นที่เข้ามาใกล้แล้วมีโอกาสเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ขณะที่เมื่อรถรับรู้ได้ว่าผู้ขับขี่มีอาการเมื่อยล้าก็จะทำการแจ้งเตือนเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้นั่เอง ทำให้ผู้ขับมีความมั่นใจมากขึ้นในการขับขี่ตามแบบฉบับ L2+ ที่ต้องบอกเลยว่าล้ำหน้าในเมืองไทยมากมาก

GWM

4. เทคโนโลยีความปลอดภัย นอกจากเรื่องของความปลอดภัยในการขับขี่ที่ช่วยในการเบรกในรูปแบบต่างๆแล้ว ORA Good Cat ยังมีความแข็งแกร่งของตัวรถที่ได้มาตรฐานการทดสอบในระดับดี ซึ่งตัวโครงของรถเป็นโลหะผสมหล่อความร้อนสูง ให้แรงต้านทานการดึงตัวที่สูง สามารถดูดซับและลดแรงกระแทก เพื่อคุ้มครองห้องโดยสารได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากดูจากคลิปทดสอบการชนแล้วก็เชื่อได้ว่าความปลอดภัยของ ORA Good Cat ยังคงให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆอยู่

นอกจากนี้ยังมีถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่ง เพื่อปกป้องผู้โดยสาร เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และในกรณีที่ถุงลมนิรภัยทำงาน ก็จะมีสัญญาณเตือนอันตรายทำงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งประตูจะถูกปลดล็อกทันที และรถจะโทรติดต่อไปที่ศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉิน พร้อมทั้งส่งตำแหน่งที่รถเกิดอุบัติเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือได้แบบอัตโนมัติ นับเป็นการปกป้องและช่วยเหลือผู้โดยสาร โดยไม่ต้องรอให้ใครมาพบแบบรถยนต์ดั้งเดิมอีกต่อ

5. สมรรถนะของการขับขี่ ซึ่งเรารู้กันดีว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้น เมื่อเป็นมอเตอร์ก็สามารถทำอัตราเร่งหรือแรงบิดได้ดีอยู่แล้ว ซึ่ง ORA Good Cat ก็ไม่ได้ทำให้เราผิดหวัง ด้วยมอเตอร์ที่ให้กำลังสูงสุด 105 kW เทียบเท่า 143 แรงม้า สามารถเร่ง 0-50 กม.แรกได้ภายใน 3.8 วินาที ความเร็วสูงสุดในการขับขี่ 152 กิโลเมตร/ชั่วโมง ด้วยแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนฟอสเฟต ที่มีให้เลือกทั้งความจุ 47.788 kWh วิ่งได้ระยะทางสูงสุด 400 กิโลเมตร ในรุ่น 400 TECH และ 400 PRO และ ความจุ 63.139 kWh วิ่งได้สูงสุด 500 กิโลเมตร ในรุ่น 500 ULTRA

ระบบช่วงล่างด้านหน้าแบบอิสระแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมกันโครง และระบบช่วงล่างด้านหลังแบบทอร์ชันบีม พร้อมกันโครงเช่นกัน สามารถปรับรูปแบบการขับขี่ได้ 5 แบบ ได้แก่ 1) มาตรฐาน 2) Sport 3) ECO 4) ECO+ และ 5) อัตโนมัติ พร้อมความสามารถในการกู้คืนพลังงาน (Energy Recovery) ได้สามระดับ ได้แก่ น้อย,มาตรฐาน และมาก เพื่อการประหยัดพลังงานนั่นเอง

GWM

6. การชาร์จที่รองรับอนาคต ที่สามารถชาร์จไฟได้ทั้งแบบ 1.การชาร์จแบบเร็วด้วยไฟกระแสตรง (DC) รองรับสูงสุด 60 kW และ 2.การชาร์จไฟบ้านแบบ AC 6.6 kW ซึ่งจะมีช่องเสียบไฟให้มา 2 แบบในช่องเดียวกันเลย โดยการชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC นับจากพลังงานที่เหลือของแบต 0% – 80% จะใช้เวลาราว 45 นาทีเท่านั้นสำหรับรุ่น 400 และใช้เวลา 60 นาที สำหรับรุ่น 500 ขณะที่การชาร์จไฟบ้าน AC จะใช้เวลารา 8-10 ชั่วโมงในรุ่น 400 และ 500 ตามลำดับ

ซึ่งแน่นอนว่า การรองรับการชาร์จเร็วแบบ 60 kW นั้น ในอนาคตเมื่อเกิดสถานีประจุไฟฟ้าแบบ Super Charge ที่เพิ่มมากขึ้น รถคันนี้ก็จะรองรับและสามารถเข้าทำการชาร์จเร็วได้อย่างแน่นอน

7. ความคุ้มค่าในระยะยาว แน่นอนว่าด้วยราคาเริ่มต้นเฉียดล้านที่เห็น ที่แม้ว่าจะมีของแถมในแคมเปญก่อนเปิดราคา รวมมูลค่าราว 2 แสนบาท และหลังเปิดราคาที่ราว 1.2 แสนบาท ORA Good Cat ที่ถูกมองว่าเป็นรถเซินเจิ้นเมื่อราคาเปิดตัวอยู่เกือบล้านบาทย่อมถูกตีตราว่ามีราคาแพง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเทียบกับวัสดุ ความปรานีตในงานประกอบ และอัตราค่าบำรุงรักษา ที่แทบจะอยู่ในประกันทั้งหมด 5 ปีนั้น ต้องบอกเลยว่าทั้ง 5 ปีในการขับ เจ้าของรถอาจจะเสียค่าบำรุงรักษาในราคาที่ไม่เกินหมื่นก็เป็นได้ ขณะที่เมื่อหันมามองในส่วนของภาษี การส่งรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐก็ช่วยทำให้ค่าภาษีป้ายทะเบียนต่อปียังอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่ารถสันดาปทั่วไปอยู่มาก

GWM

แน่นอนว่าในส่วนของค่าน้ำมันต่อเดือน หากวิ่งในระยะทาง 800 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ เชื่อแน่ว่าค่าน้ำมันจะต้องมีไม่ต่ำกว่า 1500 บาทสำหรับรถยนต์ที่ขนาดพอกัน โดยอัตรานี้เมื่อคำนวนออกมา 5 ปี(ราว 208,571กิโลเมตร) จะมีค่าน้ำมันราว 4 แสนบาท เฉลี่ยราว 2 บาทต่อกิโลเมตร ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าพลังงานอยู่ที่ราว 0.26 ต่อกิโลเมตร หรือเท่ากับพลังงานทั้ง 5 ปีเพียงแค่ 5.4 หมื่นบาทเท่านั้น จะเห็นว่าช่วยประหยัดไปได้กว่า 3.4 แสนบาทเลยทีเดียว ซึ่งยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายการเข้าเช็กระยะที่จะต้องจ่าย เพื่อเข้าศูนย์แต่ละครั้งที่บอกเลยว่าจ่ายทั้ง 5 ปีของ ORA Good Cat อาจจะไม่เท่ากับจ่ายของรถยนต์สันดาปทั่วไปครึ่งปีแรกเลยก็ว่าได้

GWM

ทั้งนี้ข้อมูลในการเปรียบเทียบนั้นเป็นเพียงมุมมองหนึ่งที่อาจจะเข้าไปใช้ในการพิจารณาซื้อหรือไม่ซื้อ ก็แล้วแต่ท่านจะพิจารณาเลยนะครับ แต่อย่าลืมว่าการตัดสินใจซื้อ ORA Good Cat ของค่าย GWM อาจจะต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการเข้าจอดเพื่อติดตั้งตัวชาร์จด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้พื้นที่ที่แห้ง น้ำไม่ท่วมและฝนไม่สาด เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวรถและตัวท่านเอง เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่ถูกกับน้ำนั่นเองครับ

Related Posts