ธนาคารรูปแบบเก่าจะอยู่รอดในยุค คริปโต เฟื่องฟูได้อย่างไร

ธนาคารรูปแบบเก่าจะอยู่รอดในยุค คริปโต เฟื่องฟูได้อย่างไร

คริปโต

สกุลเงิน คริปโต (Cryptocurrency) นั้นกำลังเป็นที่นิยมและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น แม้กลุ่มนักลงทุนมืออาชีพเคยปฏิเสธสกุลเงินคริปโตโดยให้เหตุผลว่า ขาดเสถียรภาพเกินไปจนไม่น่าไว้วางใจ หรือแม้กระทั่งเนื้อแท้ของสกุลเงินนั้นไร้คุณค่า แต่คริปโตกำลังได้รับความนิยมจากรัฐบาล และสถาบันการเงิน เนื่องจากสามารถเพิ่มช่องทางในการชำระเงินรวมถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้มากกว่าระบบธนาคารแบบดั้งเดิม

มีกลุ่มคนจำนวนมากที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของคริปโต โดยเริ่มตั้งแต่ตอนที่สกุลเงินอยู่นอกกระแสจนกระทั่งกลายเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน ประการหนึ่ง คริปโต โดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่าง Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินชั้นนำนั้นสามารถเข้าถึงผู้คนในวงกว้างได้ดี ในขณะที่เศรษฐกิจถูกล็อคดาวน์ในช่วงต้นปี 2563 มีการคาดการณ์ว่า เวลาทองของ Bitcoin นั้นได้มาถึงแล้ว เพราะสวรรค์แห่งการลงทุนที่ปลอดภัยและมั่นคงถูกสั่นคลอน ถึงแม้มูลค่าของ Bitcoin จะตกต่ำลงไปพร้อมกับสินทรัพย์และตลาดอื่น ๆ แต่หลังจากนั้น Bitcoin ก็เด้งกลับมาด้วยอัตราที่เร็วกว่าสกุลเงินปกติมาก อีกทั้งยังคงมีเสถียรภาพพอสมควร และเมื่อสกุลเงินดังกล่าวมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ก็ได้ลบข้อครหาเรื่องความผันผวนไปด้วย

ด้วยสกุลเงินดังกล่าวประสบความสำเร็จและมีความมั่นคง ได้ทำให้กลุ่มคนอื่น ๆ นอกเหนือไปจากกลุ่มผู้รับความเสี่ยง และนักลงทุนกลุ่มแรกที่เป็นผู้สนับสนุนหลักตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงปัจจุบันนั้นได้ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงของคริปโตมากขึ้น  แม้ว่าโดยปกติแล้วธนาคารแบบดั้งเดิมมักจะไม่มีให้บริการ หรือไม่ได้ให้ความเชื่อถือในกสุลดังกล่าวนี้ เช่น ในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ เป็นต้นนั้น แต่คนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่กำลังพัฒนาดังกล่าวก็ได้ได้เริ่มหาซื้อคริปโต จึงทำให้ธนาคารกลางของบราซิลไปจนถึงแอฟริกาใต้ต่างยอมรับถึงศักยภาพของคริปโตแล้ว

หน่วยงานกำกับดูแลในภาคส่วนต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแนวทางปฏิบัติซึ่งแต่ก่อนมีทัศนคติต่อคริปโตในทางลบไปเป็นการพยายามนำคริปโตเข้าสู่เขตอำนาจของตนไม่ว่าในทางใดทางหนึ่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือคณะกรรมาธิการยุโรปที่ได้นำกลยุทธ์ด้านการเงินดิจิทัล (Digital Finance Package) มาปรับใช้โดยการปรับปรุงข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล และความพร้อมรับมือกับดิจิทัล (Digital Resilience) ขณะเดียวกันหน่วยงานที่กำกับดูแลทางการเงิน (FCA) ก็กำลังพิจารณาถึงวาระคล้ายกันนี้อยู่เช่นกัน โดยกฎเกณฑ์ที่มีความเข้มงวดขึ้นอาจเป็นหนทางในการรับมือกับบางสิ่งที่มักอยู่นอกกฎเกณฑ์ และนั่นก็อาจเป็นการเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้

แน่นอนว่าถ้าช่องว่างระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ไม่สนับสนุนคริปโตเริ่มแคบลง รวมถึงความนิยมในสกุลเงินคริปโตได้ขยายไปสู่พื้นที่ใหม่ ๆ  สถาบันการเงินแบบดั้งเดิมอาจจะต้องเริ่มกลับมาคิดแล้วว่า ตกลงคริปโตยังเป็นภัยคุกคามต่อภาคการธนาคารแบบดั้งเดิม และส่งผลเสียต่อสภาพที่เป็นอยู่ของตลาดทุนอยู่หรือไม่ หรือกลุ่มธนาคารจะต้องสรรหาวิธีที่จะยอมรับ และทำกำไรจากคริปโตโดยใช้จุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ของธนาคารแบบดั้งเดิมร่วมกันไปได้หรือไม่

มาเริ่มกันที่คำถามที่ว่า ทำไมธนาคารถึงควรยอมรับคริปโต หากมองว่า คริปโตได้รับความนิยมช่วงโควิด แต่อีกด้านสถานการณ์ในกลุ่มธนาคารต่างกลับไม่เป็นเช่นนั้น แม้ว่าหลังโควิด 19 ผ่านพ้นไปแล้ว อาจจะเกิดการควบรวมกิจการธนาคารต่าง ๆ อย่างล้นหลามซึ่งทำให้รายได้ที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่นั่นก็ไม่ถือว่าเป็นการมองไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน เนื่องจากอัตราส่วนเงินทุนลดลง และอาจเกิดความเสี่ยงต่อความสามารถในการชำระหนี้ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 โดยมีผู้กล่าวว่า ผลกระทบของโควิด-19 นั้นจะรุนแรงยิ่งกว่าผลกระทบร้ายแรงจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในระยะยาว อัตราดอกเบี้ยยังคงอ่อนตัว อัตราเจริญเติบโตช้า อนาคตนั้นอาจดูไม่สดใสเท่าใดนัก และจำเป็นต้องใช้แนวคิดใหม่ในการรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้

วิธีการหนึ่งในการรับมือสถานการณ์อันน่ากังวลนี่ก็คือ การที่ธนาคารต่าง ๆ มุ่งมั่นขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในด้านกระบวนการ และโครงสร้าง  โดยผนวกรวมทัศนคติเชิงบวกต่อคริปโตเข้าไปกับการขับเคลื่อนครั้งนี้ด้วย เพราะธนาคารสามารถได้ผลประโยชน์จากจากการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เช่น ความพร้อมรับมือกับดิจิทัล บล็อกเชน และเทคโนโลยี GRID รวมถึงการใช้งาน AI และ ML รวมถึงระบบวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อพัฒนาเส้นทางของผู้บริโภคและป้องกันความเสี่ยงจากการฟอกเงิน

การลงทุนขนาดใหญ่ของธนาคารในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และความสามารถทางดิจิทัลทำให้พวกเขามีความสามารถต่าง ๆ ที่ดีพร้อมเพื่อขยายไปสู่พื้นที่ใหม่ ๆ ในตลาด และผลิตภัณฑ์ก่อนหน้านี้ถือว่ามีความเสี่ยงเกินไปเพราะไม่สามารถติดตามตรวจสอบได้  โดยคริปโตก็ถือเป็นหนึ่งในตลาดดังกล่าว เคล็ดลับคือการหาวิธีเข้าไปมีมีส่วนร่วมในตลาดใหม่แห่งนี้พร้อมกับรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งพวกเขามีเหนือคู่แข่งทางดิจิทัลที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน ความปลอดภัย การปฏิบัติตามข้อกำหนด การวิเคราะห์ความเสี่ยง ขนาด ประสบการณ์ และชื่อเสียง

เทคโนโลยี Digital Twin เป็นสิ่งที่ธนาคารหลายแห่งได้เริ่มประยุกต์ใช้ไปแล้วเพื่อลองใช้แนวความคิดใหม่ ๆ ที่เป็นนวัตกรรม  และดูเหมือนกับว่าคริปโตจะเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการสำรวจโอกาสโดยที่ธนาคารไม่ต้องเพิ่มความเสี่ยงที่มีอยู่แล้ว การใช้เทคโนโลยี Digital Twin ในธุรกิจอาจทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถแสดงให้ธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลเห็นว่า องค์กรและลูกค้าของพวกเขาจะขาดทุนหรือได้กำไรในการใช้งานสกุลเงินคริปโตหลาย ๆ สถานการณ์ได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ค่าของสกุลเงิน Tether Crypto สามารถแสดงให้เห็นว่า ความผันผวนนั้นสามารถถูกควบคุมได้อย่างไร โดยธนาคารสามารถออกแบบและทดลองใช้ชุดผลิตภัณฑ์คริปโตได้อย่างปลอดภัย ซึ่งออกมาในรูปแบบของการให้บริการ Institutional DeFi หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งได้รับการปรับแต่งโดยเฉพาะสำหรับสถาบันซึ่งใช้กฎระเบียบอันเข้มงวด

เทคโนโลยี Digital Twin จะช่วยให้องค์กรเหล่านี้เข้าถึงตลาดได้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ธนาคารได้แสดงจุดแข็งแบบดั้งเดิมของธนาคารที่สามารถส่งมอบคุณค่าในโลกดิจิทัลใหม่นี้ได้อีกด้วย อีกทั้งธนาคารยังมีความรู้ด้านกระบวนการในการทําความรู้จักลูกค้า (KYC) รวมถึงความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (AML) และการฉ้อโกง ในความเป็นจริง ธนาคารแบบดั้งเดิมสามารถกล่าวได้ว่า พวกเขาสามารถพัฒนาได้ดีกว่าคู่แข่งอื่น ๆ และนำเสนอโซลูชันสำหรับคริปโตได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ช่วงเวลานี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับธนาคารในการแสวงหาโอกาสอันน่าตื่นเต้นในการร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อนำประสบการณ์การวิเคราะห์ เทคโนโลยี Digital Twin บล็อกเชน การซื้อขายแบบอัลกอริธึม และการสืบค้นประวัติด้านนวัตกรรมการบริการทางการเงินมาใช้ประโยชน์ แน่นอนว่า เราต้องก้าวนำหน้าคู่แข่งในด้านคริปโตแทนที่จะรอจนตามคนอื่นไม่ทัน

เรื่องน่ารู้ : คริปโตคืออะไร

สกุลเงินดิจิทัลเป็นหน่วยเงินตราที่ไม่มีรูปแบบทางกายภาพ จะได้รับการจัดเก็บในรูปบัญชีแยกประเภทดิจิทัลโดยอาศัยเทคโนโลยี
บล็อกเชน ซึ่งจะมีการเข้ารหัสเพื่อควบคุม และตรวจสอบการเคลื่อนไหวของเงินทุน บล็อกเชนนั้นไม่ได้กำหนดโดยธนาคาร โดยสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ เช่น Bitcoin, Ethereum, Dash และ Litecoin อาจถือได้ว่าเป็นการ ‘กระจายอำนาจ’ ทางการเงิน ซึ่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างจากสกุลเงินดั้งเดิมที่ถูกควบคุม และจัดระเบียบโดยบุคคลที่สาม เช่น รัฐบาล และธนาคารกลาง

บทความโดย Richard Price, ประธาน FSI, UK&I และ TIBCO

คริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

Related Posts