ความท้าทายของโลกดิจิทัล บนพื้นฐานความยั่งยืน

โลกดิจิทัล

โลกดิจิทัล

โลกดิจิทัล คือความเป็นจริงที่แม้ว่าจะมีเลขเพียงแค่ 1 และ 0 มาประกอบกันเป็นโค้ดที่เข้าใจในรูปแบบภาษาคอมพิวเตอร์ เมื่อจำนวนความซับซ้อนของโลกดิจิทัลและระยะเวลาทเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนข้อมูลมีปริมาณทสูงตาม และพัฒนามาสู่การจัดเก็บข้อมูลส่วนกลางหรือดาต้าเซ็นเตอร์ที่หลายๆ คนเข้าใจ แน่นอนว่าการจัดการฐานข้อมูลมหึมาต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาลเพื่อขับเคลื่อนให้ข้อมูลได้รับการตอบสนองอย่างฉับไว เสถียร และปลอดภัย และนั่นเองเป็นที่มาของการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กระบวนการดาต้าเซ็นเตอร์อาจจะไม่ใช่ต้นเหตุหลักในการสร้างผลกระทบโดยตรงกับธรรมชาติ แต่การได้มาของพลังงานก็มีส่วนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยตรง นั่นคือกรรมวิธีการสร้างพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนกระบวนการปล่อยพลังงานความร้อนโดยตรงจากการปฏิบัติงานขององค์กร หรือแม้กระทั่งกิจกรรมเล็กๆ อย่างการเดินทางเพื่อธุรกิจ การจัดการของเสียต่างๆ เป็นต้น

และเมื่อพูดถึงการจัดการพลังงานให้ได้ประสิทธิภาพ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตโซลูชันการจัดการพลังงานระดับโลก ก็ได้มีแนวคิดในการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของปรัชญา 5 ประการ ที่จะเป็นแนวทางการขับเคลื่อนหลักที่จะเข้ามาตอบโจทย์การพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

นายแอบเบย์ แอนิล โกสานการ์ รองประธานกลุ่ม Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา กล่าวว่าการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน องค์กรต่างๆ ต้องปรับกลยุทธ์พร้อมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และการเรียงลำดับการทำงานตามความสำคัญของเป้าหมายอย่างแท้จริง

ขณะที่ต้องมีความสอดคล้องกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรและการจัดสรรทรัพยากรแบบรวมศูนย์ เพื่อการให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ นอกจากนี้ต้องมีตัวอย่างของการประสบความสำเร็จ หรือกรณีศึกษาที่จะช่วยสนับสนุนเหตุผลของการเดินไปสู่เป้าหมาย รวมทั้งการสนับสนุนด้านเงินทุน แก่การดำเนินโครงการนั้นๆ ให้ประสบผลสำเร็จ

โลกดิจิทัล
นายแอบเบย์ แอนิล โกสานการ์ รองประธานกลุ่ม Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา

ซึ่งจากความเห็นของ CEO บริษัทใหญ่ ราว 99 เปอร์เซ็นต์ ต่างเห็นตรงกันว่า ประเด็นด้านความยั่งยืนมีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของธุรกิจของพวกเขา ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมที่บริษัทจะได้รับเมื่อส่งเสริมและแข่งขันในการเป็นส่วนหนึ่งของการลดโลกร้อนให้สำเร็จ

ไม่เพียงเท่านั้น กว่า 77 เปอร์เซ็นต์ของนักลงทุนทั่วโลก เริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของพวกเขา แต่กระนั้นหากนับมูลค่าทางธุรกิจกลับมาเพียง 49% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในกลุ่มประเทศ หรือราว 39 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้นที่มีการออกกฎหมายให้มีการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์อย่างจริงจัง

โดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้แบ่งประเภทของปัญหาในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ระดับองค์กรไว้ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.การปล่อยมลพิษโดยตรงจากการควบคุมภายในการปฏิบัติงานขององค์กร 2.การปล่อยมลพิษทางอ้อมที่เกิดจากไฟฟ้าที่ซื้อ ความร้อนหรือความเย็น และ 3.การปล่อยมลพิษทางอ้อมจากแหล่งต่างๆ เช่น การเดินทางเพื่อธุรกิจ การจัดการของเสีย และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ตกผลึกออกมาเป็น ปรัชญาของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่จะวางรูปแบบองค์ประกอบของตัวขับเคลื่อนหลัก 5 ประการ ในการสร้างความยั่งยืนที่ครอบคลุมของดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

โดยประการแรก 1.วางกลยุทธ์ที่ชัดเจนและนำไปใช้ได้จริง องค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ความยั่งยืนแบบองค์รวมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม (รวมถึงขอบเขตการปล่อยมลพิษข้อ 1, 2 และ 3 รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วัตถุดิบ ดิน น้ำ) โดยใช้ประโยชน์จากหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy ) ที่ชัดเจน และนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้จริง เพื่อสร้างโครงการที่เป็นรูปธรรมและนำไปปฏิบัติได้ รวมถึงการสร้างรายงานสู่ภายนอกด้วยความโปร่งใส

2.ใช้การออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ โดยองค์กรจะต้องให้ความสำคัญของความยั่งยืนเป็นประเด็นหลักในการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งต้องคำนึงถึงการออกแบบให้ใช้งานได้ยาวนานและให้บริการได้จริง ตลอดจนควรเป็นการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ให้ได้ประสิทธิภาพมาตรฐานระดับโลก เพื่อให้สามารถนำไปทำซ้ำได้ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใดๆ ในโลก โดยเลือกใช้นวัตกรรมอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือมีความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม และพร้อมสำหรับการใช้หมุนเวียนต่อไปในอนาคต

3.ขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการทำงาน การออกแบบที่ต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากพลังของข้อมูลและการวิเคราะห์ให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้เงื่อนไขของการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบและยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx)ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ตลอดจนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานเก่าให้เป็นดิจิทัล โดยใช้แนวทางการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ และใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์เพื่อระบุและจัดการความไร้ประสิทธิภาพในโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลให้เกิดการสูญเสียที่น้อยที่สุด

4.ซื้อพลังงานทดแทน ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการกำจัดคาร์บอนทางอ้อม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของการซื้อไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษเพียงทางเดียว ด้วยกลยุทธ์การจัดซื้อพลังงานแบบผสมผสานกับพลังงานหมุนเวียน อีกทั้งการจะบรรลุเป้าหมายระยะยาวนั้น ควรเลือกผสมผสานระหว่างตัวเลือกการจัดซื้อจัดจ้างโซลูชันแบบออนไซต์ และแบบออฟไซต์ รวมไปถึงการตรงจสอบการรับรองคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Attribute Certificates – EAC) ของโรงไฟฟ้านั้น ๆ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กรได้อย่างตรงจุด

ก๊าซเรือนกระจก

5.ลดปริมาณคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน กระบวนการจัดการกับการปล่อยมลพิษในกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการทำธุรกิจ จำเป็นต้องทำการกำหนดโครงการลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงในรูปแบบของเศรษฐกิจหมุนเวียน พลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ และลดการปล่อยมลพิษอื่นๆ โดยสามารถระบุเป็นปริมาณของการปล่อยก๊าซคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานที่จะลดได้ หรือกำหนดโครงการและเป้าหมายการลดคาร์บอนปลีกย่อยที่ชัดเจน ตลอดจนเป้าหมายของการมีส่วนร่วมกับพันธมิตรที่สนับสนุนแนวคิดริเริ่มเหล่านั้นอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้เมื่อมองความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศไทย ซึ่งเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ก็ได้ประกาศเจตนารมณ์ พร้อมเดินหน้ายกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง ในการประชุมระดับผู้นำโลก (World Leaders Summit) ผ่านเวที การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร

จะเห็นได้ว่าความท้าทายของการร่วมกันลดโลกร้อนได้กระจายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมใดๆ บนโลกได้อย่างแนบแน่น การเข้าสู่กระบวนการจัดการด้านพลังงานอย่างยั่งยืนของโลกดิจิทัลที่ต้องการปริมาณไฟฟ้าอย่ามหาศาลในอนาคต เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนข้อมูลที่จะเพิ่มจำนวนแบบเท่าทวีคูณต่อไป นับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาแนวคิดและวิธีการจากมืออาชีพระดับโลกอย่าง ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งเชื่อแน่ว่าแนวคิดนี้จะมีประโยชน์ต่อองค์กรในประเทศไทย ในความพยายามสร้างรูปแบบบริษัทที่จะเป็นส่วนหนึ่งของพลวัตสังคมโลกในการลดคาร์บอนต่อไปอย่างแน่นอน

banner Sample

Related Posts