กางแผน บ้านปู เน็กซ์ ลุยตลาดยานยนต์ไฟฟ้า

กางแผน บ้านปู เน็กซ์ ลุยตลาดยานยนต์ไฟฟ้า

 

e-Mobility

ความท้าทายของโลกยานยนต์ที่รุกคืบเข้าสู่โลกของพลังงานไฟฟ้าอย่างแข็งขัน ส่งผลให้การพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ถูกเร่งเดินหน้าอย่างเต็มกำลัง บ้านปู หนึ่งในบริษัทพลังงานใหม่ที่แยกโหนดของธุรกิจด้านยานพาหนะไฟฟ้าออกโดยเฉพาะ ภายใต้ชื่อ บ้านปู เน็กซ์ กลายเป็นคีย์หลักที่น่าจับตามองในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนอีโคซิสเตอ็มส์ดังกล่าว วันนี้ TheReporterAsia ได้มีโอกาสสัมภาษย์ คุณกนกวรรณ จิตต์ชอบธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส-กลุ่มธุรกิจยานยานยนต์ไฟฟ้า บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด ถึงทิศทางการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าในบทบาทของกลุ่มผู้นำโลกยานยนต์ไฟฟ้า

ถาม : มองการแข่งขันเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า และโอกาสในการทำตลาดในประเทศไทยและอาเซียน เป็นอย่างไร รวมถึงมองบทบาทของประเทศไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ : การใช้ยานพาหนะไฟฟ้าถือเป็นเมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเริ่มมีนโยบายสนับสนุนการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะการส่งเสริมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเพื่อปูทางไปสู่ยุคยานพาหนะไฟฟ้า หรือยุค e-Mobility เช่น นโยบาย ZEV (Zero Emission Vehicle) 100% ภายในปี 2578 สนับสนุนการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า 100% ทุกประเภท ทั้ง EV car e-Bus e-Boat e-Tuktuk e-Scooter นโยบายติดตั้งสถานีชาร์จ และตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่ เป็นต้น

นอกจากนี้เทรนด์ Sharing Economy หรือการ “เช่าใช้” กำลังเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่เริ่มได้รับความนิยม หลายธุรกิจให้บริการเพื่อตอบรับเทรนด์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจท่องเที่ยว Co-working space รวมถึง Mobility Sharing หรือบริการเช่ารถ เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย ลดการใช้ทรัพยากร รวมถึงได้ประสบการณ์การใช้บริการที่หลากหลาย จากบทวิเคราะห์เทรนด์เศรษฐกิจโลกคาดการณ์ว่า ในปี 2568 มากกว่า 50% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยธุรกิจให้เช่าในรูปแบบ Sharing Economy

หัวใจของการแข่งขันในธุรกิจยานพาหนะไฟฟ้าจะอยู่ที่ความสะดวกในการเข้าถึงพลังงานสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งก็คือเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ยิ่งเข้าถึงพลังงานได้ง่ายก็ยิ่งเกิดการใช้งานที่มากขึ้นตามลำดับ สำหรับในประเทศไทย และอาเซียนมองว่ายังมีโอกาสทางการตลาดสำหรับธุรกิจยานพาหนะไฟฟ้าอีกมาก โดยบ้านปู เน็กซ์ ในฐานะผู้ให้บริการระบบสัญจรทางเลือกแบบครบวงจรรายแรกของไทยในรูปแบบ Mobility As a Service (MaaS) เราจะเข้ามาเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภค และองค์กรธุรกิจเข้าถึงการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น รวมถึงมีบริการที่ครอบคลุมระบบสัญจรทุกรูปแบบ และครบวงจร ทั้งบริการยานพาหนะไฟฟ้า บริการสถานีชาร์จ และบริการหลังการขาย

บ้านปู เน็กซ์
กนกวรรณ จิตต์ชอบธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส-กลุ่มธุรกิจยานยานยนต์ไฟฟ้า บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด

โดยเรามีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็น ดูราเพาเวอร์ฯ บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิต และติดตั้งระบบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (LiB) เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค ผู้ให้บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า มูฟมี (MuvMi) ฮ้อปคาร์ ผู้ให้บริการรถเช่าในรูปแบบคาร์เเชริ่งบนเเอปพลิเคชัน HAUP บียอนด์กรีน บริษัทที่เป็นผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าอเนกประสงค์ครบวงจร และดูแลเรื่องบริการหลังการขาย อีโวลท์ เทคโนโลยี ผู้นำด้านสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร

และในอนาคต เรามีแผนจะขยายแพลตฟอร์มบริการระบบสัญจรทางเลือกแบบครบวงจร Mobility As a Service (MaaS) ไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่บ้านปู เน็กซ์มีการลงทุน เพื่อขยายพอร์ตพลังงานสะอาดให้ครบวงจรในทุกโซลูชัน และสร้างโอกาสการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ถาม : ประสบการณ์ของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งส่วนของตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า การแชร์ริ่งรถยนต์ไฟฟ้าผ่าน HAUP ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง (เป็นการนำรถยนต์ไฟฟ้า FOMM One ไปให้บริการเช่าผ่าน HAUP)

ตอบ : การได้เป็นพันธมิตรกับมูฟมี (MuvMi) และฮ้อปคาร์ (HAUPCAR) ถือเป็นความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ทางธุรกิจข้ามอุตสาหกรรม (Strategic cross-industry partnership) ที่มาเสริมความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน เราได้แชร์ประสบการณ์ Know how และเทคโนโลยีกับทั้งสององค์กร เพื่อนำเสนอบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่

บ้านปู เน็กซ์ นำรถยนต์ไฟฟ้าไปให้บริการ Mobility Sharing ร่วมกับ HAUPCAR ซึ่งเป็นบริการเช่ารถยนต์ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชัน Haup ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีจุดเด่นด้านความคล่องตัว รูปทรงกะทัดรัด เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนเมือง นักศึกษา คนทำงาน และครอบครัวขนาดเล็ก ที่ชอบความทันสมัย สะดวกสบาย หาที่จอดง่าย และรักษ์โลก อีกทั้งยังชื่นชอบเทคโนโลยีที่ใช้บริการง่ายผ่านแอปพลิเคชัน ปล่อยเช่า-จอง-เช่า-รับ-คืนรถแบบไร้สัมผัส ผ่านสถานีให้บริการมากกว่า 500 จุดในกรุงเทพและพัทยา เหมาะกับการใช้ชีวิตยุคใหม่ในสถานการณ์โควิด-19

MuvMi

บริการไรด์แชร์ริ่ง (Ride Sharing) รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี ให้บริการ 6 ย่านฮิตทั่วกรุงเทพฯ เป็นบริการรถโดยสารแบบออนดีมานต์ (On-demand) เรียกเมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ ไม่ต้องรอรอบ ใช้บริการง่ายผ่านแอปพลิเคชัน MuvMi และสามารถใช้บริการได้ทั้งแบบเหมาคันหรือแชร์ทางกับคนอื่นที่ไปทางเดียวกัน เดินทางสะดวกเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ

โดยแผนขยายบริการทั้ง 2 แพลตฟอร์มนี้ เราร่วมเดินหน้ากับพันธมิตรในการเพิ่มจำนวนรถ และขยายสถานีให้บริการครอบคลุมและหลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด นอกจากนี้ ยังนำบริการทั้ง 2 ประเภท ไปช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤตจากโควิด-19 อาทิ โครงการ EV Car Sharing for Caring ปีที่ 1 และ 2 สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ และโครงการมูฟมี อาสาขนส่ง รับผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 ส่งกลับบ้านฟรี และขนส่งอาหารและสิ่งของจำเป็น เพื่อช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น

ซึ่งประสบการณ์ และความร่วมมือในการให้บริการไรด์แชร์ริ่ง และคาร์แชร์ริ่ง ทำให้เราเล็งเห็นแนวโน้มพฤติกรรมด้านการเดินทางของผู้บริโภคในอนาคต สนับสนุนให้ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคม sharing ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม และช่วยลดมลพิษ อีกทั้งเรายังสามารถนำข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค มาออกแบบโซลูชันใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์มากขึ้น และพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังเล็งเห็นโอกาสในการขยายบริการไปยังพื้นที่ที่มีโอกาสในการเติบโต

ถาม : บ้านปู เน็กซ์ มีแนวทางการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยตลอดปี 2564 และในอนาคตอย่างไร และบ้านปู เน็กซ์ จะเข้าไปอยู่ในบทบาทใดของอนาคตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

ตอบ : บ้านปู เน็กซ์ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการใช้ e-Mobility อย่างยั่งยืน เรามี Ecosystem ของธุรกิจ e-Mobility ที่แข็งแกร่ง โดยเรามุ่งสร้างบริการ MaaS ที่สามารถออกแบบ และพัฒนาบริการยานพาหนะไฟฟ้าได้หลากหลายประเภท ครอบคลุมการเดินทางทุกรูปแบบ ทั้งทางบก และทางน้ำ ตามความต้องการ และตอบโจทย์ทุกการใช้งานของลูกค้ากลุ่มธุรกิจหลายประเภท รวมถึงมีบริการหลังการขาย โดยได้นำเทคโนโลยี และดิจิทัลแพลตฟอร์มมาผสานเข้ากับบริการด้านการเดินทาง และขนส่ง เพื่อให้ผู้เดินทางสามารถเรียกใช้รูปแบบการเดินทางแต่ละครั้งได้ตามความต้องการ สะดวก รวดเร็ว ในราคาที่เหมาะสม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

e-Mobility

Banpu NEXT MaaS ประกอบด้วย

Mobility Sharing บริการเช่ายานพาหนะ และรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านแอปพลิเคชัน HAUP
Ride Sharing บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี รถโดยสารแบบออนดีมานต์ แชร์การเดินทางกับผู้อื่นที่ไปทางเดียวกัน ผ่านแอปพลิเคชัน MuvMi
Fleet Management แพลตฟอร์มบริหารจัดการระบบขนส่ง และยานพาหนะ โดยบ้านปู เน็กซ์ สามารถออกแบบและผลิต หรือจัดหายานพาหนะไฟฟ้าได้อย่างหลากหลาย ตามความต้องการ และตอบโจทย์ Pain point ของลูกค้าแต่ละธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ซึ่งบ้านปู เน็กซ์ มีพันธมิตรอย่าง ดูราเพาเวอร์ ผู้ผลิตแบตเตอรี่คุณภาพสูง ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนายานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท พร้อมติดตั้งสถานีชาร์จ และมอบบริการหลังการขายอย่างครบวงจร เช่น เรือท่องเที่ยวไฟฟ้า (e-Ferry) ลำแรกของประเทศไทย
Charger Management ระบบการจัดการสถานีชาร์จ (Charger station) ที่มีดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Banpu NEXT MaaS จะช่วยเพิ่มโอกาสให้องค์กรธุรกิจ และผู้บริโภคได้ใช้ และเข้าถึงการเดินทาง และขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 ด้านของการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ของประเทศไทย โดยคนไทยทุกคนสามารถเริ่มใช้ยานพาหนะไฟฟ้าได้ตั้งแต่วันนี้ ด้วยบริการ “เช่าใช้” แทนการ “ซื้อใช้” อย่าง Mobility Sharing หรือจะใช้บริการรถโดยสารออนดีมานต์อย่าง Ride sharing ร่วมแบ่งปันการเดินทางกับผู้อื่น ทางเดียวกันไปด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาการเดินทาง ควบคู่ไปกับส่งเสริมการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภทอย่างยั่งยืน รวมถึงจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ทำให้เกิดโซลูชันพลังงานฉลาดเพื่อความยั่งยืน (Smart Energy Solutions for Sustainability)

e-Mobility

บ้านปู เน็กซ์ วางเป้าหมายเพิ่มบริการภายใต้ MaaS ภายในปี 2568 ไว้ดังนี้

Mobility Sharing: จุดบริการคาร์แชร์ริ่ง เป็น 5,000 จุด จากปัจจุบันที่มีอยู่ 500 จุด
Ride Sharing: เพิ่มจุดบริการไรด์ แชร์ริ่ง เป็น 50,000 จุด จากปัจจุบันที่มีแล้ว 3,000 จุด และและเพิ่มจำนวนรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี เป็น 5,000 คัน
Fleet Management: ออกแบบการนำเอาแพลตฟอร์ม Mobility Sharing และ Ride Sharing ไปตอบโจทย์ผู้ใช้งานในระบบบริหารจัดการยานพาหนะในเชิงธุรกิจ และเพิ่มจำนวน e-Boat เป็น 100 ลำ ครอบคลุมหลากหลายขนาดตามความต้องการของลูกค้า
Charger Management: เพิ่มจำนวนสถานีชาร์จให้ครอบคลุม โดยปัจจุบันมีแท่นชาร์จจำนวน 300 แท่น ตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มจำนวนเป็น 5,000 แท่น และพัฒนาบริการหลังการขายให้ครอบคลุมทุกการใช้งาน

นอกจากนี้ยังมีแผนจะขยายระบบสัญจรทางเลือกแบบครบวงจร หรือ MaaS ให้ครอบคลุมความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงนำบริการยานพาหนะไฟฟ้าไปสนับสนุนการพัฒนาโครงการสมาร์ทซิตี้ และคอมมูนิตี้ต่างๆ

“ยิ่งเราขยาย และมีการจัดการระบบ MaaS ให้หลากหลาย และครอบคลุมมากขึ้น ก็จะช่วยผลักดันให้คนไทยได้ใช้ยานพาหนะไฟฟ้ามากขึ้น แล้วทุกคนก็จะเป็นฟันเฟืองที่ช่วยกันขับเคลื่อนประเทศสู่สมาร์ทซิตี้ได้เร็วขึ้นด้วย”

ถาม : การเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน Club car มีเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างไรบ้าง

ตอบ : การเข้าลงทุนในบียอนด์ กรีน ซึ่งเป็นผู้แทนจําหน่าย Club Car (รถไฟฟ้าเอนกประสงค์) และให้บริการทั้งการขาย เช่า สัมปทานรถไฟฟ้า ในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ถือเป็นการต่อยอดธุรกิจตามกลยุทธ์ “Greener & Smarter” ของกลุ่มบ้านปู ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบ้านปู เน็กซ์ โดยบียอนด์ กรีน จะดูแลในส่วนงานบริการระบบปฏิบัติการ งานซ่อมบำรุง และบริการหลังการขายของยานพาหนะไฟฟ้า (Operation & Maintenance and Customer Services) ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมด้านบริการหลังการขายของระบบ MaaS ให้แข็งแกร่งขึ้น และช่วยเติมเต็มธุรกิจ e-Mobility ของบ้านปู เน็กซ์ ให้มีความหลากหลาย และครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกเซกเมนต์ โดยเฉพาะในตลาดที่มีศักยภาพการเติบโต

ปัจจุบันบียอนด์ กรีน มีสาขาให้บริการอยู่ 8 แห่งในจังหวัดหลักๆ ของประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย นครราชสีมา หัวหิน ชลบุรี ภูเก็ต และสมุย ซึ่งเราจะร่วมกันขยายสาขาให้เติบโตไปพร้อมกับบริการภายใต้ MaaS ที่จะเราจะขยายให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยในปี 2568 จะขยายสาขาเพิ่มเป็น 56 สาขาทั่วประเทศ

บ้านปู เน็กซ์

ถาม : ช่วยอัปเดตเรื่องของธุรกิจสถานีชาร์จ เป็นอย่างไรแล้วบ้าง แล้วในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป

ตอบ : บ้านปู เน็กซ์ ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์สตาร์ทอัพอย่าง อีโวลท์ เทคโนโลยี (EVolt) ให้บริการแพลตฟอร์มสถานีชาร์จแบบ ครบวงจร (EV Charger Management) ซึ่งมีบริการตั้งแต่การเลือกเครื่องชาร์จที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับการใช้งาน ดูแลการติดตั้ง การบริหารจัดการ ระบบการใช้งานผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชัน งานซ่อมบำรุง และบริการหลังการขาย

แผนขยายบริการในปี 2564-2565

– ปี 2564 จะให้บริการชาร์จยานพาหนะไฟฟ้าได้รวม 560 Dispatched MWh จากการใช้งานของลูกค้าทั้งหมด โดยปัจจุบันมีแท่นชาร์จจำนวน 300 แท่น
– ปี 2568 ตั้งเป้าให้บริการชาร์จยานพาหนะไฟฟ้าได้รวม 500,000 Dispatched MWh จากการใช้งานของลูกค้า และตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มจำนวนแท่นชาร์จเป็น 5,000 แท่น

Related Posts