จับตา ทรูมันนี่ ผนึก ชิลด์ ตีตราความปลอดภัยขั้นเทพ

จับตา ทรูมันนี่ ผนึก ชิลด์ ตีตราความปลอดภัยขั้นเทพ

ชิลด์

ทรูมันนี่ ประกาศความร่วมมือกับ ชิลด์ บริษัทดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ยกระดับความปลอดภัยระบบชำระเงินผ่านมือถือจากความเชี่ยวชาญในการป้องกันการหลอกลวงทางไซเบอร์และการระบุตัวตน อวดยอดการเติบโตของธุรกรรมแบบไร้เงินสดในภูมิภาค ผ่านทรูมันนี่ วอลเล็ทอย่างต่อเนื่อง ด้วยจำนวนผู้ใช้ในประเทศไทยมากกว่า 24 ล้านคนในปัจจุบัน

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า ในขณะธุรกิจของทรูมันนี่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เราตระหนักดีว่าความเชื่อมั่นของลูกค้า เป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดในการมอบบริการนวัตกรรมทางการเงินอันล้ำหน้าและนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงได้ร่วมมือกับบริษัทที่กำกับและจัดการความเสี่ยงชั้นนำของโลกด้วยการใช้เทคโนโลยีล่าสุดด้านปัญญาประดิษฐ์ ด้วยความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และโซลูชั่นของชิลด์ จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยเพื่อมอบความมั่นใจสูงสุดให้แก่ผู้ใช้ทรูมันนี่ และทำให้เราสามารถทุ่มเทเวลาได้มากขึ้นให้กับภารกิจของเรานั่นคือการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้ชีวิตของทุกคนดีขึ้น

โดยแพลตฟอร์มชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และบริการทางการเงินแบบดิจิทัลของทรูมันนี่ มีผู้ใช้บริการมากกว่า 24 ล้านคนในปัจจุบันและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปริมาณการทำธุรกรรมทางการเงินแบบไร้เงินสดในภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าจำนวนผู้ใช้บริการจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้

ในช่วงระยะเวลาที่การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างก้าวกระโดดนี้ การรับประกันความปลอดภัยของแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้บริการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างสูงสุดสำหรับทีมงานทรูมันนี่ ด้วยเหตุนี้ ทรูมันนี่จึงได้จับมือเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีกับชิลด์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นเกี่ยวกับการกำกับดูแลและจัดการความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยเสริมกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยให้แข็งแกร่งเพื่อมอบความมั่นใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า

เทคโนโลยีของชิลด์และทรูมันนี้ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องแพลตฟอร์มของทรูมันนี่ ตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ เพื่อยกระดับความมั่นใจของผู้ใช้ที่ทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ พร้อมขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยความโดดเด่นในการจับมือเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีนี้ คือการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการป้องกันการฉ้อโกงในระดับองค์กรของชิลด์ โดยเครื่องจักรปัญญาประดิษฐ์ (AI Engine) ของชิลด์ได้รวมเครือข่ายหน่วยประสาทเข้ากับการสร้างความฉลาดเสมือนมนุษย์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมมนุษย์เพื่อที่จะตรวจจับรูปแบบการฉ้อโกงใหม่ๆและไม่เคยรู้ หรือไม่สามารถตรวจจับโดยโซลูชั่นอื่นๆได้ สิ่งนี้ทำให้ทรูมันนี่สามารถที่จะป้องกันผู้ใช้บริการของตนในทุกๆขั้นตอนการใช้งานของลูกค้า

ด้านนายจัสติน ลี ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร ชิลด์ (SHIELD) ภายใต้ บริษัท ชิลด์ เอ ไอ เทคโนโลจีส์ จำกัด ได้กล่าวเสริมว่า “เรามีความยินดีที่ได้ร่วมงานกับหนึ่งในสถาบันชั้นนำด้านฟินเทค ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ เพื่อสร้างความไว้วางใจสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ และสร้างมั่นใจให้กับผู้บริโภคในภูมิภาคนี้สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มแห่งโอกาสเพื่อความเท่าเทียมทางการเงินที่ทั่วถึงสำหรับทุกคน”

โดยทรูมันนี่จะได้ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติหลักต่างๆในเทคโนโลยีของชิลด์เพื่อที่จะสร้างความไว้วางใจและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

SHIELD ID : ระบุผู้ใช้และอุปกรณ์ทุกรายในระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง

SHIELD Risk Indicators : ตรวจจับเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการฉ้อโกง

SHIELD Sentinel : แยกการแสดงพฤติกรรมที่เป็นอันตรายในช่วงเวลาที่แน่นอน

Link Analysis : ประเมินคุณสมบัติหลายมิติเพื่อระบุภัยแห่งการฉ้อโกงที่ประสานกัน

Feature Platform : สร้างแบบจำลองที่ซับซ้อนและนโยบายความเสี่ยงที่เหมาะกับองค์กรและข้อกำหนดและกฎระเบียบทางธุรกิจ

ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าว ยังอยู่ภายใต้การศึกษาความเป็นไปได้ของการผนวกเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยเข้ากับระบบการชำระเงิน ซึ่งเป็นจุดแข็งของทั้งคู่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยของธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะตรวจจับความผิดปกติของเครื่องที่ใช้งาน เครื่องมือที่แฝงตัวเข้ามาในเครื่อง ตลอดจนพฤติกรรมทางการเงินที่น่าสงสัยให้กับผู้ใช้งานทรูมันนี่ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติก็จะทำการตรวจสอบผ่านเครือข่ายข้อมูลข่าวกรองทั่วโลก (Global Intelligence Network) ซึ่งเป็นเหมือนคลังข้อมูลที่เก็บรูปแบบการฉ้อโกงที่อัปเดตอย่างต่อเนื่องของ SHIELD ซึ่งปกป้องฐานผู้ใช้ที่กำลังเติบโตจากภัยคุกคามการฉ้อโกงใหม่และที่ไม่รู้จักทั้งหมด

ชิลด์

เพื่อป้องกันการแฮคและเจาะข้อมูลจากระบบ ตลอดจนการสร้างบัญชีปลอมเพื่อสวมรอยหรือช่วงชิงบัญชีด้วยพฤติกรรมหลอกลวงแบบพิชชิ่ง ตลอดจนการแอบอ้างหรือปลอมแปลงข้อมูลเพื่อยืนยันกับระบบ ทั้งหมดจะได้รับการป้องกันผ่านระบบการทำงานของ Shield ที่มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับโลก

ขณะที่ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ Mobile Banking ของไทย ตลอดปี 2564 นั้นมีบัญชีผู้ใช้กว่า 84 ล้านบัญชี มีการทำธุรกรรมกว่า 1.6 หมื่นล้านรายการ โดยแบ่งเป็นการโอนและชำระเงินกว่า 1.5 หมื่นล้านรายการ รวมมูลค่ากว่า 57 ล้านล้านบาท

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=949&language=th

Related Posts