ถอดรหัสแผน AI แห่งชาติ 5 ยุทธศาสตร์ 10 กลุ่มเป้าหมาย

AI แห่งชาติ

AI แห่งชาติ

หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์และปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (.. 2565 – 2570) หรือ แผน AI แห่งชาติ ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในปี พ..2570”

โดยกำหนดกรอบระยะเวลาการทำงานออกเป็น 2 ช่วง แบ่งเป็นระยะที่ 1 (เร่งด่วน) ปี พ.. 2565-2566 และระยะที่ 2 ปี พ.. 2567-2570 ส่งเสริม 10 กลุ่มเป้าหมายหลัก 1.เกษตรและอาหาร 2.การแพทย์และสุขภาวะ 3.การศึกษา 4.ความมั่นคงและปลอดภัย 5.พลังงานและสิ่งแวดล้อม 6.การใช้งานและบริการภาครัฐ 7.โลจิสติกส์และการขนส่ง 8.ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 9.อุตสาหกรรมการผลิต 10.การเงินและการค้า

ผ่านการทำงานภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ 15 แผนงาน โดยแบ่งออกเป็น ยุทธศาสตร์ที่ 1. การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม กฎหมาย และกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างการตระหนักรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ให้กับประชาชนประน้อยกว่า 6 แสนคน และมีกฏระเบียบ กฎหมาย หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ AI ถูกประกาศใช้ไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ ผ่าน 2 แผนงานที่สำคัญ 1.การพัฒนาข้อกำหนด กฎหมาย มาตรฐาน และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ AI ของประเทศ และ2.สื่อสารและสร้างการรับรู้ด้านจริยธรรม AI

ยุทธศาสตร์ที่ 2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนนุด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีเป้าหมายในการยกระดับดัชนีความพร้อมด้าน AI ของรัฐบาลไทยให้สูงขึ้นไม่ต่ำกว่าลำดับที่ 50 ของโลก และเกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับสนุบสนุนงานด้าน AI ในภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ผ่าน 4 แผนงานที่สำคัญ 1.สร้างเครือข่ายเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2.พัฒนาศูนย์เชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ 3.พัฒนาแพลตฟอร์มกลางระดับประเทศเชิงบูรณาการ และ4.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลและคำนวณขั้นสูง

ยุทธศาสตร์ที่ 3.การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มบุคคลากรด้าน AI ของประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30,000 คน ผ่าน 3 แผนงานที่สำคัญ 1.แผนพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ทุกระดับการเรียนรู้ 2.สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรสู่ภาคธุรกิจ 3.พัฒนากลไกความร่วมมือกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 4.การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งทางเทคโนโลยี AI เพิ่มขึ้น พัฒนาต้นแบบจากผลงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมด้าน AI ไม่ต่ำกว่า 100 ต้นแบบ อีกทั้งผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้าน AI จะต้องถูกนำไปใช้อย่างทั่วถึงและช่วยสร้างผลกระทบในภาคธุรกิจและภาคสังคมได้ไม่ต่ำกว่า 4.8 หมื่นล้านบาทภายในปี พ..2570 ผ่าน 2 แผนงานที่สำคัญ 1.ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม แก่กลุ่มสาขาเป้าหมายสำคัญ 2.พัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐาน และการวิจัยเพื่อสนับสนุนแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์

ยุทธศาสตร์ที่ 5.การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีการใช้นวัตกรรม AI ทั้งในภาครัฐ ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปีหรือไม่ต่ำกว่า 600 รายภายในปี พ..2570 (6ปี) พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน AI ของประเทศเพิ่มขึ้น ด้วยมูลค่าตลาด Ai ที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 6หมื่นล้านบาทภายในปี พ..2570 ผ่าน 4 แผนงานที่สำคัญได้แก่ 1.การส่งเสริมการใช้ AI ในภาครัฐ 2.การส่งเสริมการใช้ AI ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3.ส่งเสริมอุตสาหกรรมเชื่อมโยง AI สู่การใช้งาน 4.พัฒนากลไกและSandbox เพื่อนวัตกรรมทางธุรกิจและ AI Startup

AI แห่งชาติ

ซึ่งจะมีบุคลากรขับเคลื่อนหลักอย่าง ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ ดร.กุสุมาภรณ์ สมพงษ์ ผู้จัดการงานวิเคราะห์ตลาดและเทคโนโลยี (MIIT) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นหัวเรือใหญ่ในการนำเสนอแผนงาน AI แห่งชาติ สอดคล้องกับแผนการสร้างระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของเอเชีย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในเดือนกันยายนนี้ และจะทำให้ประเทศไทยสามารถประมวลผลข้อมูลระดับประเทศ เพื่อคาดการณ์อนาคตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

banner Sample

Related Posts