ร่างกายมนุษย์ สามารถตอบสนองอารมณ์ความรู้สึก ไม่เพียงจากการสัมผัสเท่านั้น หากแต่ ผลกระทบจากสุขภาพจิตใจ ก็มีส่วนกำกับให้ ร่างกายแสดงปฏิกิริยาได้อย่างหลากหลาย เคยไหม เวลาดูหนังรักโรแมนติก จะรู้สึกร้อนผ่าวใบหน้าเบาๆ จิกหมอนเขินอาย ตอนฉากพระเอกจูบ จะเกิดอาการรู้สึกปั่นป่วนท้อง ในขณะที่ถ้ากำลังรู้สึกอินกับหนัง บู๊หรือแอคชัน จะรู้สึกตื่นเต้น ลุ้นระทึก และรู้สึกโหวงๆ ในท้อง อาการเหล่านี้ เกิดจากความเชื่อมโยงระหว่าง “ระบบสมอง” กับ ระบบลำไส้ โดยมี “โปรไบโอติก” และ “พรีไบโอติก” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ตัวการกำกับอยู่เบื้องหลัง
จากการวิจัยศึกษาเรื่องจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร พบว่า มีผลช่วยให้ระบบการทำงานภายในร่างกายดีขึ้น และเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย โดย ศจ.เท็ด ดินัน จิตแพทย์ และ ศจ.จอห์น ไครอัน แพทย์ด้านประสาทวิทยา ได้ค้นพบว่า แบคทีเรีย จำนวนกว่า 30,000 สายพันธุ์ในระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง ทำหน้าที่ปล่อยโมเลกุลจำนวนมาก ซึ่งมีอิทธิพลส่งผลต่อ “สมอง” และ “พฤติกรรม” ของมนุษย์ ผ่านกลไกทางภูมิคุ้มกันวิทยา ต่อมไร้ท่อ และระบบประสาท มีส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายตอบสนองด้านอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความวิตกกังวล และผลกระทบของปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง และนั่นคือเหตุผลที่บ่งบอกว่า “ลำไส้” และ “จุลินทรีย์” ล้วนส่งผลเชื่อมโยงกับ “สมอง” อันเป็นที่มาของคำว่า “ไซโคไบโอติก” (Psychobiotics) หมายถึงแบคทีเรียชนิดดี ทำหน้าที่ผู้กำกับบทบาท “อารมณ์” และ “สุขภาพจิต” จากแกนลำไส้ นั่นเอง
นอกจากนี้ ยังค้นพบบทพิสูจน์อีกว่า “ไซโคไบโอติก” (Psychobiotics) คือแบคทีเรียในลำไส้ที่ส่งผลต่อสมอง อ้างอิงจากผลงานวิจัยศึกษาของ มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ โดยนำหนูทดลองมาวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของแบคทีเรียกับความเครียดในสมอง ปรากฏว่าความเครียดเกิดจากปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ที่ไม่ปกติและส่งผลให้เกิดการอักเสบในลำไส้ซึ่งส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ไซโคไบโอติก คือปัจจัยสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในหนู ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยขจัดอาการอักเสบได้ แต่ยังช่วยลดพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเครียดอีกด้วย นอกจากนี้ ในหนูทดลอง ยังแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียในลำไส้ของหนู มีความสัมพันธ์กันระหว่าง “ลำไส้” และ “สมอง” เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ ยิ่งไปกว่านั้น ค้นพบอีกว่า “โรคไบโพลาร์” และ “โรคออทิสติก” ส่วนใหญ่มักมีปัญหาการอักเสบในลำไส้อีกด้วย
สิ่งที่น่าสนใจที่สุด ก็คือ ผลจากการศึกษาในประชากร จำนวนมากกว่า 1,000 ราย ในประเทศ เบลเยียม และ เนเธอร์แลนด์ พบว่า ความวิตกกังวล และ ภาวะซึมเศร้า มีความเชื่อมโยงกับจุลินทรีย์ในลำไส้ เช่นเดียวกับในหนูทดลอง และยังพบว่าแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดมีความสัมพันธ์กับสุขภาพมากกว่าที่เราเข้าใจ ในขณะที่การขาดหายไปของแบคทีเรีย สัมพันธ์กับการเกิด ภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคที่มีผู้ป่วยมากขึ้นในปัจจุบัน
สำหรับในการค้นพบเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดแนวทางในการบำบัดรักษาที่ดียิ่งขึ้น โดยทางการแพทย์ปัจจุบัน ได้นำ “ไซโคไบโอติก” (Psychobiotics) ซึ่งเป็น “โปรไบโอติก” ที่มีประโยชน์ มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาอาการทางจิตเวช อาทิ ลดความเครียด ลดความวิตกกังวล และ ลดภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงบำบัดอาการนอนหลับ ให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น, ช่วยป้องกันภาวะโรคซึมเศร้า, ช่วยควบคุมความอยากอาหาร, ช่วยลดอาการผิดปกติในเด็กออทิสติก, เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย และปรับสมดุลอาหาร ส่งผลให้ “ไซโคไบโอติก” ได้กลายเป็นอีกทางเลือกในการนำมาใช้บำบัดและช่วยดูแลสุขภาพจิตให้กับคนรุ่นใหม่
ปัจจุบันพบว่ามีผู้ประสบปัญหาความเครียดเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่กำลังประสบปัญหาสุขภาพด้านความเครียดหรือ เกิดอาการนอนไม่ค่อยหลับ เชื่อว่า สาเหตุน่าจะมีส่วนเกิดมาจาก “แบคทีเรียในสำไส้ โดยในการบำบัดรักษา ควรหา “ไซโคไบโอติก” แบคทีเรียที่มีประโยขน์ต่อร่างกายมาทานเสริม ซึ่งสามารถหาได้จากร้านขายยาชั้นนำ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ เช่น Probac Mood ที่เป็น ไซโคไบโอติก นวัตกรรมใหม่จาก อินเตอร์ฟาร์มา (ประเทศไทย) ที่ช่วยในเรื่องการนอนหลับ และ ลดภาวะความเครียดได้ดี ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://interpharma-probacmood.com/