เอสเอพี เผย องค์กรธุรกิจในเอเชีย ยังมองข้ามคุณค่าที่แท้จริงของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน

เอสเอพี

เอสเอพี

ผลวิจัยล่าสุดโดย Oxford Economics และ เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) เผยถึง ปัจจัยที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนคุณค่าสำหรับการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย ชี้ 66% ขององค์กรธุรกิจคิดว่า การสร้างความยั่งยืนไปพร้อมกับการทำกำไรไม่ใช่เรื่องยาก อย่างไรก็ตาม มีเพียง 8% เท่านั้นที่มองว่า พวกเขาได้รับคุณค่าอย่างครอบคลุมจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ใช้ในปัจจุบัน

สาเหตุหลักอาจเกิดจากแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและการดำเนินงานของหลายองค์กรยังคงขาดความเชื่อมโยงกัน ผลสำรวจโดยเฉลี่ย พบ ธุรกิจราว 60% มีการสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ซึ่งกลุ่มธุรกิจในญี่ปุ่นเห็นด้วยกับข้อนี้กับมากที่สุด คิดเป็น 68% ขณะที่ ธุรกิจในประเทศอินโดนีเซียเห็นด้วยน้อยที่สุดอยู่ที่ 46% และมีเพียง 20% ในภูมิภาคเท่านั้นที่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้นำองค์กร โดยพิจารณาจากผลสำเร็จของการดำเนินตามกลยุทธ์ และน้อยกว่าครึ่ง (44%) กล่าวว่า พนักงานของพวกเขามีส่วนร่วมเชิงรุกในการสนับสนุนงานด้านความยั่งยืน โดยธุรกิจในอินเดียเห็นด้วยมากที่สุด คิดเป็น 52% ตามด้วย สิงคโปร์ 51% และ มาเลเซียเห็นด้วยน้อยที่สุด 33%

’กฎระเบียบข้อบังคับ (Compliance)’ ตัวแปรสำคัญที่ยกระดับทั้งความก้าวหน้า และ สร้างความท้าทาย ในการขับเคลื่อนความยั่งยืน

ผลการวิจัยชี้ ธุรกิจในสิงคโปร์ 74% ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 60% และ มาเลเซีย 52% เห็นว่า กฎระเบียบข้อบังคับ หรือ Compliance เป็นหนึ่งในตัวแปรหลักสำหรับขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน

เอสเอพี
เวเรน่า เซียว, ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

องค์กรอาจต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อบรรลุผลด้านความยั่งยืน พร้อมตอบสนองคุณค่าในทุกมิติและได้รับประโยชน์จากงานด้านความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ผลวิจัยระบุ 46% ของธุรกิจส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ลงความเห็นว่า บริษัทต่างๆ ล้วนได้รับประโยชน์จากการผลักดันด้านความยั่งยืนด้วย การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ (Compliance) โดยธุรกิจในอินโดนีเซียเห็นด้วยมากที่สุด 56% สิงคโปร์ 43% สำหรับมาเลเซียเห็นด้วยน้อยที่สุด 39% ปัจจัยรองลงมาคือ การตั้งเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ ภาพรวม 26% เห็นว่า การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามข้อบังคับมากเกินไป นับเป็นความท้าทายด้านความยั่งยืนสำหรับองค์กรธุรกิจ ซึ่งถูกจัดอยู่ในลำดับที่สอง รองจากปัจจัยขาดการคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ ธุรกิจในสิงคโปร์เห็นด้วยมากที่สุด 32% อินโดนีเซีย 27% และเห็นด้วยน้อยที่สุดคือ มาเลเซีย 23%

เวเรน่า เซียว, ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “นับเป็นสัญญาณดีของธุรกิจทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เริ่มยกระดับความสำคัญของการวางแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมไปถึงคู่ค้าของพวกเขา ดังนั้น จึงไม่มีอะไรสามารถหยุดยั้งองค์กรธุรกิจให้เดินหน้าแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ ภายใต้เป้าหมายในการได้รับผลลัพธ์ที่แม่นยำ เป็นรูปธรรมมากที่สุด ในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ ธุรกิจเกือบ 1 ใน 3 คาดหวังว่าจะได้รับคุณค่ามหาศาลจากแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน และเราเชื่อว่าหากธุรกิจโฟกัสได้ถูกจุด ตัวเลขดังกล่าวจะปรับเพิ่มขึ้น”

เอสเอพี

‘ข้อมูล’ อีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการพัฒนาผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน

กุญแจสำคัญในการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน คือ การใช้ข้อมูลขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำมาขับเคลื่อนการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น อ้างอิงจากผลสำรวจ การใช้งานข้อมูลที่ถูกต้อง ถูกยกให้เป็นหนึ่งในการดำเนินงานที่สำคัญที่สุด เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอน สำหรับองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจด้วยชุดข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพ ถือเป็นความท้าทายในระดับปานกลางของภูมิภาคนี้ การวิจัยยังพบว่า ธุรกิจในสิงคโปร์ 13% รวมถึง 23% ของธุรกิจในมาเลเซียและอินโดนีเซีย มีการคำนวณปริมาณการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดขององค์กร ซึ่งส่วนใหญ่ 60% ในสิงคโปร์ 77% ในมาเลเซีย ได้เริ่มกระบวนการที่เกี่ยวข้องบ้างแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับ 31% สำหรับประเทศอินโดนีเซีย ในบรรดาองค์กรธุรกิจที่เริ่มตรวจวัดคาร์บอน มีจำนวน 62% จากทั่วทั้งภูมิภาคได้ลงมือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานตามการคำนวณที่วัดได้

ขณะที่ การลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวัดผลความยั่งยืน ยังคงเป็นปัจจัยส่วนน้อยที่ธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคนี้พิจารณา 47% ของธุรกิจในสิงคโปร์ 35% ในมาเลเซีย และ 31% ในอินโดนีเซีย กล่าวว่า พวกเขาได้ตั้งเป้าลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่นเดียวกับ การฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลด้านความยั่งยืน มีเพียง 36% ของธุรกิจในสิงคโปร์ที่เริ่มต้นดำเนินการ เทียบกับ 40% ในอินโดนีเซีย และ 50% ในมาเลเซีย

เอสเอพี

งานด้านความยั่งยืนจำเป็นต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน นอกเหนือจากการบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว พบ 33% ของธุรกิจในอินโดนีเซีย 21% ในมาเลเซีย และ 15% สำหรับธุรกิจในสิงคโปร์ กล่าวว่า พนักงานของพวกเขาไม่เคยทราบมาก่อนว่า หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร จะทำให้องค์กรเสียลูกค้าไปกับคู่แข่งได้

ธุรกิจที่สามารถบรรลุคุณค่าจากความยั่งยืนได้นั้น ควรยึดหลักการดำเนินงานที่จำเป็นหลายประการ เช่น การกำหนดความคาดหวังที่ชัดเจนในระดับกลยุทธ์ การผสานพลังแห่งเทคโนโลยีและการจัดการข้อมูลเพื่อปฏิรูปการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เช่น พนักงาน คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน และ ผู้กำหนดนโยบาย

เอสเอพี

เอ็ดเวิร์ด โคน ผู้อำนวยการกองบรรณาธิการของ Oxford Economics กล่าวว่า “ผู้นำด้านความยั่งยืน มีบทบาทก้าวไกลกว่าเพียงแค่การวางวิสัยทัศน์เพื่อให้มีการริเริ่มด้านความยั่งยืน พวกเขายังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสื่อสารกับหน่วยงานหลักทั้งในและนอกบริษัท พร้อมกับการปรับใช้เทคโนโลยีแบบบูรณาการ เพื่อวัดผลและติดตามประสิทธิภาพการทำงานภายใต้ความรับผิดชอบอย่างเต็มประสิทธิภาพ”

ในโอกาสการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 (COP27) ที่จัดขึ้นในปีนี้ เอสเอพี ให้คำมั่นสัญญาที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายทั่วโลกให้มากขึ้น และช่วยสร้างสรรค์ธุรกิจยั่งยืนด้วยการปลุกพลังทางเศรษฐกิจ ประมาณมูลค่ากว่าล้านล้านดอลลาร์เพื่อบรรลุผลลัพธ์ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและกระตุ้นการสร้างงาน

เอสเอพี

“ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และพหุภาคี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียวในอาเซียน ผู้นำธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ควรจำกัดวิธีดำเนินการด้านความยั่งยืนให้อยู่ภายใต้กรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงเพียงอย่างเดียว แต่ควรมองหาโอกาสในแง่มุมอื่นที่จะคิดค้นวิธีใหม่สำหรับการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ครอบคลุมกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ โดยอิงจากแนวคิดการควบคุมการปล่อยมลพิษให้น้อยที่สุด พิจารณาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และแนวทางใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้งองค์กรและส่งมอบคุณค่าสู่สังคมของเรา” เวเรน่า เซียว กล่าวเสริม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เอสเอพี ได้มีการอัปเดตการบริการของโซลูชัน SAP Sustainability Control Tower เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้บริษัทต่าง ๆ สามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

คลิกชม: การสาธิตวิธีการปลดล็อกพลังของข้อมูลด้วย SAP Sustainability Control Tower ที่ให้มากกว่าการรายงานข้อมูล และ ตอบโจทย์การดำเนินงานตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนในทุกมิติ

สามารถอ่านผลวิจัยด้านความยั่งยืนฉบับเต็มได้ที่นี่

banner Sample

Related Posts